'ป้อม'โหมงานหนัก!สั่งเร่งพิสูจน์สัญชาติต่างด้าว ลั่นต้องไม่แสวงหาประโยชน์


เพิ่มเพื่อน    

2 ก.พ.61- ที่ตึกสันติไมตรี(หลังนอก) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการแถลงแผนปฏิบัติการสนับสนุนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ และการดำเนินการออกใบอนุญาตทำงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย (ตรีเทพ) ของคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) พร้อมมอบนโยบาย โดยมี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด เอกอัครราชทูตเมียนมา ประจำประเทศไทย ทูตแรงงานกัมพูชาประจำประเทศไทย อัครรัฐทูต สปป.ลาว ประจำประเทศไทย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) เข้าร่วมประชุม

พล.อ.ประวิตร กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า เพื่อให้แผนการปฏิบัติงานตามแผนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติดังนี้ 1.ให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันปฏิบัติโดยทำให้เกิดความสะดวก ลดขั้นตอน ระยะเวลา และไม่มีการเรียกรับผลประโยชน์ พร้อมสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ 2.ให้หัวหน้าส่วนราชการทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เป็นหลักในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง 

3.ประสานขอความร่วมมือจากเอกอัครราชทูต เมียนมา ลาว และกัมพูชา ในการบริหารศูนย์พิสูจน์สัญชาติให้เกิดประสิทธิภาพโดยอาจต้องมีการปรับระบบการทำงานภายในศูนย์ฯตลอดจนเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่และเครื่องมือ ให้เพียงพอต่อปริมาณงานในแต่ละวัน โดยประเทศไทยจะให้การสนับสนุนต่อการดำเนินการดังกล่าว เพื่อให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนด

“แผนปฏิบัติการตรีเทพจะสำเร็จลุล่วง และมีประสิทธิภาพได้ต้องเกิดจากการบูรณาการและการทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อย่างจริงจัง ทำงานอย่างเป็นระบบ ไม่มีการทุจริต หรือแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ และต้องแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด” พล.อ.ประวิตร กล่าว

ขณะที่ นายจรินทร์ กล่าวว่า ปี 2560 ที่ผ่านมา มีแรงงานจากเมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา จำนวน 3.8 ล้านคน เข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย 1.8 ล้านคน ขณะที่แรงงาน 2 ล้านคน เข้ามายังประเทศไทยโดยไม่ถูกกฎหมาย ซึ่งเป็นเงื่อไขที่นานาชาติ ตำหนิประเทศไทยที่ไม่สามารถดูแลคนเหล่านี้ได้ จนเกิดปัญหา ค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับต่างๆ จนประเทศไทยโดนจำกัดสิทธิในการค้าสินค้าทางทะเลกับประเทศในกลุ่มอียู และสหรัฐอเมริกา 

อย่างไรก็ตาม การพยายามดำเนินการรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังพบปัญหาอุปสรรค 2 ประการ คือ 1.ไม่สามารถพิสูจน์แรงงานจากประเทศต้นทางได้ จำนวน 800,000 คน 2.ยังไม่มีฐานข้อมูลรวมสำหรับการพิสูจน์ทราบรายละเอียดของแรงงานบางส่วน อย่างไรก็ตาม ภายหลัง มติครม.เรื่องการขยายเวลาพิสูจน์สัญญชาติแรงงานไปจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2561 ภายใต้ 2 แนวทางหลัก ได้แก่ 1.ต้องจัดทำทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าวที่เข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน 2.ต้องพิสูจน์สัญชาติแรงงานที่มีปัญหาจำนวน 800,000 รายให้เสร็จในเดือน มิ.ย. 2561  โดยมีเป้าหมายให้แรงงานทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายไทย และได้รับความคุ้มครองตามหลักกฎหมายและสิทธิประโยชน์เทียบเท่าคนไทยคนหนึ่งตามหลักสากลต่อไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"