ประกันสังคมจ่าย6แสนแม่สาวถูกน้ำกรด


เพิ่มเพื่อน    

  ประกันสังคมจ่ายร่วม 6 แสนเยียวยาครอบครัวสาวถูกสาดน้ำกรดเสียชีวิต เตรียมทบทวนต่อสัญญา รพ.พระราม 2 หลังปฏิเสธผู้ป่วยทั้งที่รับปีละกว่า 50 ล้านรักษาผู้ประกันตน แม่เผย ขอโทษสักคำ พรีดสักพวงก็ไม่มี

    เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.แรงงาน มอบเงินช่วยเหลือแก่นางทองอาด ทาระวัน แม่ของ น.ส.ช่อลัดดา ทาระวัน ผู้ประกันตนประกันสังคม ที่เสียชีวิตจากการถูกกรอกน้ำกรด เป็นค่าทำศพ 40,000 บาท เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 72,720 บาท เงินชราภาพ 119,455 บาท และเนื่องจากผู้ตายเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระราม 2 แล้วถูกปฏิเสธให้กลับไปรักษาตามสิทธิ์ประกันสังคมที่มีอยู่ คือโรงพยาบาลบางมด จนเป็นเหตุให้ทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียชีวิตในเวลาต่อมา เข้าข่ายเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการบริการทางการเเพทย์ของโรงพยาบาลคู่สัญญาประกันสังคม จึงมีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น หรือเงินค่าเยียวยาทางการแพทย์ จำนวน 360,000 บาท รวมทั้งสิ้น 592,175 บาท 
    พล.ต.อ.อดุลย์กล่าวว่า เนื่องจาก รพ.พระราม 2 เป็นโรงพยาบาลคู่สัญญา สถานพยาบาลรักษาผู้ประกันตนจำนวนกว่า 3 หมื่นราย ได้รับเงินอุดหนุนการรักษาพยาบาลผู้ประกันตนแบบเหมาจ่ายจากสำนักงานประกันสังคมปีละกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งจะมีกำหนดต่อสัญญาประจำปีสิ้นปีนี้ หากผลการสอบสวนของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต จะต้องทบทวนการต่อสัญญาทันที
    นางทองอาดกล่าวว่า ตั้งแต่เกิดเหตุจนเผาศพลูกสาวเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา ไร้วี่แววของโรงพยาบาลที่ไม่เคยติดต่อสอบถาม กล่าวคำขอโทษ หรือส่งพวงหรีดมาแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลย เชื่อว่าลูกสาวจะไม่เสียชีวิตถ้าให้การรักษาอย่างเต็มที่ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดกระบวนการตรวจสอบโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพราะหากปล่อยไว้นานกลัวว่าเรื่องจะเงียบ และไม่อยากให้ผู้ป่วยต้องมีชะตากรรมเหมือนลูกสาว ที่ถูกโรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาซ้ำอีก
    ด้าน นพ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมกฎหมาย สบส.ได้นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความพนักงานสอบสวน สน.ท่าข้าม เพื่อให้ดำเนินคดีกับ รพ.พระราม 2 รวมทั้งหมด 5 กระทงที่เกี่ยวข้องกับกรณีส่งต่อ น.ส.ช่อลัดดา ผู้ป่วยที่ถูกสามีสาดน้ำกรดไปรักษาที่ รพ.อื่น จนผู้ป่วยเสียชีวิต ส่วนการพิจารณาความผิดของพยาบาล รพ.พระราม 2 ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ฉบับแก้ไข 2559 สามารถพิจารณาโทษได้เพียงแค่ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลกับผู้ขออนุญาตเปิดสถานพยาบาลเท่านั้น ส่วนเจ้าหน้าที่หรือพยาบาลนั้นไม่สามารถพิจารณาลงโทษได้ตามกฎหมายนี้ จึงต้องใช้ พ.ร.บ.วิชาชีพแทน แต่ต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองข้อเท็จจริงเพื่อให้พิจารณาอีกครั้ง ว่าจะส่งเพียงแค่ความผิดทางจริยธรรมหรือเพิ่มเติมส่วนใด.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"