ฮือฮา นักวิทย์จีนคุย สร้างเด็กทารกจากการตัดต่อยีนคู่แรก


เพิ่มเพื่อน    

เหอ เจี้ยนคุย นักวิทยาศาสตร์ชาวจีน ประกาศข่าวผลงานการตัดต่อพันธุกรรมยีนของทารกแฝดหญิงคู่แรกของโลก ที่ได้รับการตัดต่อยีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

ศาสตราจารย์เหอ เจี้ยนคุย จากวิดีโอที่เผยแพร่ทางยูทูบเมื่อวันจันทร์ / SCREENGRAB FROM YOUTUBE / THE HE LAB / The Straits Times

เอเอฟพีรายงานว่า ในวิดีโอที่เหอเผยแพร่ทางยูทูบเมื่อวันจันทร์ เขาคุยว่าทารกรายแรกของโลกซึ่งเกิดจากการตัดต่อยีนนี้ ได้รับการแก้ไขดีเอ็นเอผ่านเทคนิค CRISPR ที่สามารถย้ายและทดแทนสายดีเอ็นเอได้อย่างแม่นยำ เพื่อป้องกันเด็กทั้งคู่จากการติดเชื้อเอชไอวีได้

อย่างไรก็ดี ผลงานของเขาซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจสอบยืนยันอย่างอิสระ ก่อกระแสวิจารณ์และโต้แย้งทันที รวมถึงคำถามว่าวิธีการนี้จะเป็นรูปแบบของสุพันธุศาสตร์สมัยใหม่หรือไม่

ศาสตราจารย์ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในสหรัฐและทำงานห้องแล็บของมหาวิทยาลัยเซินเจิ้นของจีนรายนี้ กล่าวว่า เด็กหญิงฝาแฝดที่เขาเรียกว่า "ลูลู่" และ "นานา" เกิดจากการผสมเทียมแบบไอวีเอฟ (เด็กหลอดแก้ว) ตามปรกติ แต่ใช้ไข่ที่ผ่านการปรับแต่งพิเศษก่อนที่จะถูกสอดเข้ามดลูก

"ทันทีที่ผสมอสุจิของสามีฝ่ายหญิงเข้าไปในไข่ นักวิทยาเอ็มบริโอก็ได้ใส่โปรตีน CRISPR/Cas9 เข้าไปด้วยและได้ทำการผ่าตัดยีนที่เพื่อปกป้องเด็กหญิงทั้งสองจากการติดเชื้อเอชไอวีในอนาคต" เหอกล่าว

การตัดต่อยีนเป็นหนทางหนึ่งที่เป็นไปได้สำหรับแก้ไขโรคติดต่อที่ได้รับผ่านทางพันธุกรรม แต่ก็เป็นประเด็นที่โต้แย้งกันอย่างสุดขีด เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งต่อไปยังคนรุ่นต่อไปและอาจกระทบต่อยีนพูลโดยรวม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"