กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ระบุ!!กัญชาของกลางทุกตัวอย่างที่ส่งตรวจ คุณภาพยังไม่เพียงพอที่จะนำมาผลิตเป็นยารักษาผู้ป่วย


เพิ่มเพื่อน    

 

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในงานแถลงข่าวผลการตรวจวิเคราะห์กัญชา ของกลางเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ว่าองค์การเภสัชกรรมได้ประสานความร่วมมือในการตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบกัญชาของกลางจากกองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด(บช.ปส.) จำนวน 100 กิโลกรัม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ในโครงการวิจัยและพัฒนาสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์

        

โดยในวันที่ 25 ตุลาคม 2561 ได้ส่งตัวอย่างวัตถุดิบกัญชาแห้ง จำนวน 3 ตัวอย่าง มาตรวจที่ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 แห่ง คือ ห้องปฏิบัติการสำนักยาและวัตถุเสพติด เพื่อทำการวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของยาฆ่าเชื้อรา difenoconazole และ propioconazole และห้องปฏิบัติการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร เพื่อทำการวิเคราะห์ตรวจสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 60 ชนิด ได้แก่กลุ่มออร์กาโนคลอรีน(organochlorine group)กลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส(organophosphorus group) กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ (pyrethroid group) และกลุ่มคาร์บาเมต (carbamate group) และโลหะหนักปนเปื้อน ได้แก่ ตะกั่ว (lead) ปรอท (mercury) สารหนู(arsenic)และแคดเมียม (cadmium)การวิเคราะห์มีผลการตรวจดังนี้

                 1.ตรวจไม่พบการปนเปื้อนของยาฆ่าเชื้อรา difenoconazole และ propioconazole ในตัวอย่างวัตถุดิบ กัญชาแห้งทั้ง 3 ตัวอย่าง

                 2.ตรวจพบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช chlorpyrifos และ cypermethrin ในตัวอย่างวัตถุดิบกัญชาแห้ง

ทั้ง 3 ตัวอย่าง

                 3.ตรวจพบโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท สารหนู และแคดเมียม ในตัวอย่างวัตถุดิบกัญชาแห้งทั้ง 3 ตัวอย่าง

                 ต่อมาในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 องค์การเภสัชกรรมได้ส่งสารสกัดกัญชา 1 ตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้าง และโลหะหนักดังกล่าว ผลการตรวจพบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช chlorpyrifos และ cypermethrin และพบโลหะหนัก 2 ชนิด คือ ปรอท และสารหนู

 

สรุปได้ว่า วัตถุดิบกัญชาของกลางทุกตัวอย่างมีคุณภาพไม่เพียงพอที่จะนำมาผลิตเป็นยาเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย จะสังเกตเห็นได้ว่าทุกตัวอย่างมียาฆ่าแมลง Chlorpyrifos ซึ่งยาฆ่าแมลงชนิดนี้เป็นที่นิยมของเกษตรกร หากร่างกายได้รับสาร Chlorpyrifos จะมีพิษต่อร่างกายมนุษย์ เช่น มีผลต่อพัฒนาการทางระบบประสาทในเด็ก มีผลต่อความผิดปกติทางอารมณ์ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อหดตัว แน่นหน้าอก อาเจียน ท้องเดิน และระบบหายใจล้มเหลว เป็นต้น

 

 

ด้านดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า การตรวจพบสารปนเปื้อนนั้น นับเป็นเรื่องดีเพราะทำให้ทราบถึงคุณภาพของกัญชาของกลางที่จับกุมมาได้ว่ายังไม่ได้คุณภาพที่จะนำมาใช้สำหรับทำเป็นสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์  ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์การฯ ยึดถือมาตลอดในกระบวนการวิจัยและผลิตยาที่จะไม่ยอมให้สิ่งที่ไม่ได้คุณภาพและไม่ปลอดภัยถึงผู้บริโภคอย่างเด็ดขาด ข้อดีของการ นำกัญชาของกลางมาใช้ในการวิจัยคือนักวิจัยสามารถทดลองพัฒนากรรมวิธีการสกัดเพื่อให้ได้กระบวนการสกัด ที่เหมาะสมสำหรับการผลิตสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์และเพื่อวิจัยและพัฒนาสูตรตำรับต่อไป

 

แต่อย่างไรก็ตาม องค์การฯ ได้ปรับแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้การวิจัยได้สารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์เดินหน้าต่อไปไว้ 2 แนวทาง คือ 1) องค์การฯจะคัดเลือกวัตถุดิบกัญชาของกลางจาก บช.ปส. เพิ่มเติม โดยในเบื้องต้นได้ประสานงานให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้ตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนก่อนที่จะรับวัตถุดิบกัญชาของกลางจาก บช.ปส.เพื่อให้ได้วัตถุดิบกัญชาของกลางที่มีคุณภาพไม่มีการปนเปื้อน ด้วยเล็งเห็นว่ากัญชาของกลางยังน่าจะมีประโยชน์มากกว่าการนำไปเผาทำลาย  2) เร่งดำเนินการปลูกกัญชาในพื้นที่ขององค์การฯ เอง ซึ่งทั้ง 2 แนวทางนี้ จะดำเนินงานคู่ขนานพร้อมกัน เพื่อให้ได้สารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ที่มีคุณภาพโดยเร็วสำหรับใช้ในการศึกษาวิจัยกับกลุ่มผู้ป่วยในโครงการต่อไป

 

“องค์การฯก็ยังคงเดินหน้าวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้สารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์โดยเร็ว   เพราะทุกฝ่ายคาดหวังและรอคอยอยู่  ซึ่งองค์การฯ ยังต้องมีงานอีกหลายอย่างที่ต้องเร่งดำเนินการ อาทิ การวิจัยพัฒนาสารสกัดจากกัญชาของกลางในระดับห้องปฏิบัติการ การพัฒนาสายพันธุ์กัญชาและการปรับปรุงอาคาร     ที่องค์การเภสัชกรรม คลอง 10 จ.ปทุมธานี สำหรับใช้เพาะปลูก คัดเลือกสายพันธุ์ ปรับปรุงสายพันธุ์  และผลิตสารสกัดในระดับกึ่งอุตสาหกรรม การสำรวจพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูก สกัด และผลิตกัญชาทางการแพทย์ในระดับอุตสาหกรรม อย่างครบวงจรที่ อ.หนองใหญ่ จ ชลบุรี นอกจากนั้นคณะทำงานทั้ง 4 คณะจะมีการประชุมติดตามความคืบหน้า เป็นประจำทุกเดือนและอาจจะต้องมีการประชุมกันมากขึ้น เพราะคาดว่าการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้กัญชา  ใช้ทางแพทย์ได้จะทยอยออกมาในเร็วๆ นี้” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"