ข่าวหน้าหนึ่งตามหนังสือพิมพ์ทุกวันนี้มีแต่ข่าวความรุนแรงที่เกิดจากการอกหัก รักคุด ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาดน้ำกรด รุมทำร้าย ฆ่า หรือแย่งชิงตบตี มีให้เห็นแทบทุกวันจนเกิดความเคยชิน เมื่อเด็กและเยาวชนเสพข่าวก็เห็นเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมีสื่อประเภทนี้ให้เสพอยู่ทุกวัน สื่อบางสำนักนำเสนอแต่ความรุนแรงในเนื้อหาโดยไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียด หรือเนื้อหาของโทษที่จะต้องได้รับจากการกระทำนั้น แน่นอนการกระทำดังกล่าวเกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิก แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมเลิก บางครั้งถึงกับตามฆ่าและทำร้ายคู่ควงใหม่ของฝ่ายที่บอกเลิกก็มี ข่าวเด็กตบตีแย่งผู้ชายกัน หรือข่าวเด็ก ป.3 ข่มขืนเด็กอนุบาล ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเป็นพฤติกรรมเลียนแบบที่มีผลพวงมาจากการนำเสนอข่าว ละคร และสื่อจากสังคมออนไลน์นั่นเอง งานวิจัยส่วนใหญ่ระบุว่า ความรุนแรงในสังคมส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของสื่อ การนำเสนอข่าวสารผ่านทางสื่อประเภทต่างๆ นั้นมีอิทธิพลต่อค่านิยม ความเชื่อถือ การนำไปปฏิบัติของคนในสังคมเป็นส่วนมาก ภาพสะท้อนจากรายงานข่าวและการนำเสนอข่าวสาร ทำให้ได้รับรู้ว่าสังคมไทยในปัจจุบันเริ่มพัฒนาอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นสังคมเมืองที่มีความสับสนวุ่นว่าย เป็นสังคมที่ประชาชนส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะวัยรุ่นมีปัญหาชีวิตต่างๆ มากมาย ทั้งความขัดแย้ง ความเครียด
ตามหลักจิตวิทยาการกระทำของเด็กส่วนใหญ่จึงมักจะเกิดจากการเลียนแบบและทำตามสิ่งที่พบเห็นแทบทั้งสิ้น โดยพัฒนาการตามปกตินั้นเด็กจะสร้างมุมมอง ความคิดรวบยอดของตัวเองจากข้อมูลที่ผ่านเข้ามา และสิ่งที่ได้พบเห็นเมื่อเด็กและวัยรุ่นใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับสื่อมาก สื่อจึงเป็นแหล่งข้อมูลหลักที่เด็กจะเรียนรู้โลก รู้จักสังคม รวมถึงเรียนรู้ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร แทนการเรียนรู้จากพ่อแม่และครู เกิดเป็นการรับรู้ความรุนแรงในความหมายใหม่ เช่น การกระทำรุนแรงต่อเพศหญิงเป็นเรื่องที่ทำได้ ตัวอย่างที่พบบ่อยก็คือ การที่ละครหลายเรื่องมีฉากพระเอกข่มขืนนางเอก และกลายเป็นคู่รักกันในภายหลัง โดยที่นางเอกก็ไม่ได้คิดแม้แต่จะแจ้งความด้วยซ้ำ กลายเป็นว่าผู้ชายข่มขืนผู้หญิงแล้วได้ดีแทนที่จะถูกลงโทษ ส่งผลให้เมื่อเราดูสื่อที่มีความรุนแรงนาน ๆ เราจะมีการตอบสนองต่อความรุนแรงลดลงเมื่อเทียบกับตอนแรก และเมื่อเรามีความ “ชิน” เกิดขึ้น ก็จะมีผลทำให้เรา “เฉยๆ” ต่อการพบเห็นหรือกระทำความรุนแรง นอกจากนี้ความเคยชินยังมีผลทำให้เรามี “ความเห็นอกเห็นใจ” ต่อเหยื่อน้อยลง เช่น คนที่ดูละครที่มีฉากตบกันทั้งเรื่อง อาจจะรู้สึกเฉยๆ เมื่อเห็นคนถูกตบหรือไปตบคนอื่น
ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้ทุกคนสามารถผลิตสื่อได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องมี gatekeeper ในการกลั่นกรองความถูกต้อง นำเสนอด้วยความสะใจไม่ว่าจะเป็นการกดถูกใจ กดแชร์ หรือละเลงความเห็นโดยไม่คำนึงถึงว่าจะส่งผลกระทบทางจิตใจต่อใครบ้าง การเรียนการสอนในโรงเรียนก็ไม่มีหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ หรือการใช้สื่ออย่างถูกวิธี ทำให้คนอ่อนแอก็จะอยู่ในสังคมได้ยากหากไม่มีวัคซีนความรัก ความเข้าใจและความเอาใจใส่จากครอบครัวและคนรอบข้าง แต่ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ หัวข้อข่าวที่กระทรวงศึกษาธิการเล็งแก้จรรยาบรรณครู “กั๊กวิชาเพื่อสอนพิเศษ เล่นไลน์ เล่นเฟสจีบเด็ก เข้าข่ายผิดทันที” ในเมื่อครูผู้สอนยังมีปัญหาด้านการใช้สื่อจนถึงขั้นต้องมาแก้จรรยาบรรณ แล้วเด็กจะมีสภาพเป็นอย่างไร ไม่อยากจะคิด.
จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
([email protected])
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |