"ถนนพลาสติก" นวัตกรรมช่วยลดปัญหาขยะ


เพิ่มเพื่อน    

รถวิ่งบนถนนพลาสติก

ขยะพลาสติก เป็นปัญหาใหญ่ท้าทายคนทั้งโลกให้ขบคิดแก้ปัญหา ทั้งการกำจัดอย่างถูกวิธี ไม่เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และการนำมาใช้ใหม่       ทำให้ที่ผ่านมา มีองค์กรและหน่วยงาน หรือแม้แต่ในสถาบันการศึกษา ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับลดขยะพลาสติก โดยการคิดค้นนำเทคโนโลยี นวัตกรรม ให้เกิดมูลค่ามากขึ้น  ล่าสุดประเทศอินเดีย ได้นำมาสร้างถนนยางมะตอยจากพลาสติกรีไซเคิล ในเมืองบังคาลอร์และเมืองปูเณ่รวมความยาว 40 กิโลเมตร โดยใช้ปริมาณใช้ขยะพลาสติกจำนวนกว่า 100 ตัน และในประเทศอินโดนีเซีย ก็สร้างถนนจากพลาสติกรีไซเคิลในเมืองเดป๊อค ความยาวกว่า 2 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 9,781 ตารางเมตร ปริมาณขยะพลาสติกจำนวนกว่า 3.5 ตัน 

ล่าสุด ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี  ได้เปิดตัวอีกหนึ่งนวัตกรรม “ต้นแบบถนนพลาสติกรีไซเคิล (Recycled Plastic Road)”  จากการร่วมมือด้านเทคโนโลยีกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย  ภายในงาน Sustainable Development Day 2018 (SD Day 2018) ภายใต้แนวคิด ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า ชุมชนยั่งยืน ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน  เพื่อถ่ายทอดแนวทางการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ ตั้งแต่การผลิต การใช้ และวนกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบอีกครั้ง

โมเดลตัวอย่างถนนพลาสติก

นายชลณัฐ ญาณารนพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เผยว่า ต้นแบบถนนพลาสติกนับว่าเป็นการนำแนวคิดในการทรัพยากรหรือขยะที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งกลับมาทำให้เกิดประโยชน์ใหม่อีกครั้ง ซึ่งการทำถนนพลาสติกนี้ได้มีการยอมรับบ้างแล้วในบางประเทศ ด้วยคุณสมบัติเมื่อผสมพลาสติกลงไปทำให้ถนนมีคุณสมบัติที่เทียบเท่าหรืออาจจะมากกว่าถนนยางมะตอยปกติโดยสัดส่วนในการผสมพลาสติกนั้นเพียง 2-10 เปอร์เซ็น  

พลาสติกชิ้นเล็กๆ

 “หากถนนถ้าเป็นการใช้งานปกติ 1 กิโลเมตร สามารถใส่พลาสติกผสมลงไปได้ 4 ตัน ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของถนนนั้นเป็นอย่างไร ความหนาเท่าไหร่ แต่ในส่วนของค่าใช้จ่ายอาจะลดไม่ได้มากนัก ซึ่งโครงการต้นแบบถนนพลาสติกยังต้องมีการตรวจสอบและติดตามผลในเรื่องของการใช้งานระยะยาว ในอนาคตก็คาดว่าจะขยายความร่วมมือไปยังภาครัฐหรือภาคเอกชน” ชลณัฐ กล่าว

สำหรับ ต้นแบบถนนพลาสติกรีไซเคิล คือ การนำขยะในจังหวัดระยอง ที่ข้อมูลในปี 2559 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ระบุว่าขยะในจังหวัดระยองมีปริมาณมากถึง 330,000 ตัน/ปี  ที่เป็นพลาสติกใช้แล้วจากการคัดแยกภายใน เอสซีจี จ.ระยอง และในครัวเรือนของชุมชนซึ่งรวบรวมโดยเทศบาลเมืองมาบตาพุด จ.ระยอง มาทำการทดสอบเพื่อสร้างถนนต้นแบบพลาสติกยางมะตอยภายในนิคมอุสาหกรรมอาร์ไอแอล จ.ระยอง ในขนาดยาว 220 เมตร กว้าง 3 เมตร หนา 6 เซนติเมตร  โดยมีส่วนผสมของพลาสติกบดย่อยให้มีขนาดเล็ก  ยางมะตอยและหินคลุก จากนั้นนำยางมะตอยที่ผสมเรียบร้อยแล้วปูราดทำถนน และทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐานของถนนยางมะตอยปกติ  

พลาสติกผสมยางมะตอยและหินคลุก

จากผลการทดสอบจากภาควิชาวิศวกรมมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลการทดสอบ Asphalt concrete ที่ผสมพลาสติกด้วยวิธี dry process ได้ผลทดสอบในส่วนของสามารถในการรับแรงดีขึ้น(Marshall stability) 15-30%  และถนนมีความคงทนแข็งแรงเพิ่มขึ้น ช่วยต้านทานการกัดเซาะของน้ำได้ดียิ่งขึ้น ลดปริมาณการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตยางมะตอย แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณขยะ เพิ่มคุณค่าให้กับพลาสติก


นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมที่ทาง เอสซีจี ได้ร่วมกับชุมชนและภาคส่วนอื่นๆ อาทิ การเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยระบบโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำ ตั้งพื้นและหลังคา การเปลี่ยนกากตะกอนอินทรีย์เป็นปุ๋ยไส้เดือนดิน การนำก๊าซเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ การนำขยะพลาสติกในทะเลและชุมชนมาเป็นส่วนประกอบสำหรับทำบ้านปลา เพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วย

 

ถนนพลาสติกเสร็จเรียบร้อย

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"