เดินไปเดินมา..ขึ้น-ลงรถไฟใต้ดิน หรือนัดเพื่อนฝูง ณ อาคารจามจุรีสแควร์ กลางใจเมืองจุดเช็กอินของวัยรุ่น เพราะอยู่ท่ามกลางมหาวิทยาลัยและโรงเรียนชั้นนำต่างๆ นั้น อาจจะมีน้อยคนนักที่จะรู้ว่า ณ จุดตรงนี้มีองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ ตึกจามจุรีสแควร์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “จัตุรัสวิทยาศาสตร์” ซ่อนอยู่
นอกเสียจากพ่อแม่ผู้ปกครองในวัยเรียนรู้ของเด็กๆ กระมังที่จะบอกได้ว่า "พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์" ตรงนี้สุดยอดไปมาสะดวก และให้ความรู้ได้ไม่แพ้พิพิธภัณฑ์อื่นๆ เลย
“หากเป็นวันเสาร์และอาทิตย์จะมีจำนวนของเด็กรวมกับผู้ปกครองอยู่ที่ประมาณ 500-600 ราย แต่ถ้าหากเป็นวันธรรมดาจะอยู่ที่ประมาณ 200 คนรวมผู้ปกครอง นอกจากนี้ก็ยังมีกลุ่มของคุณครูที่พาเด็กมาทัศนศึกษาเช่นเดียวกัน" นี่คือคำอธิบายของ ผศ.ดร.รวินทร์ ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ถ้าถามว่าเด็กให้การตอบรับวิทยาศาสตร์อย่างไรนั้น ก็ต้องบอกว่าเด็กๆ ชอบครับ โดยเฉพาะห้องทดลองวิทยาศาสตร์ที่เด็กๆ ตั้งแต่วัย 6 ขวบเป็นต้นไป จะได้ทดลองจุดตะเกียงวิทยาศาสตร์ด้วยตัวเอง หรือได้ทดลองเล่นเครื่องเล่นตาชั่งในการชั่งตวงวัด ที่อาศัยแรงโน้มถ่วง หรือน้องๆ ที่โตขึ้นมาหน่อยจะได้ทดลองทำสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษ ที่เป็นกลไกทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายๆ เพื่อให้วัตถุเคลื่อนที่ กระทั่งการใช้คัตเตอร์ในการตัดเป็นชิ้นงาน เป็นสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่เด็กไม่เคยได้เล่นที่บ้าน เมื่อมาที่จัตุรัสสแควร์ก็จะรู้สึกสนุกสนานกับวิทยาศาสตร์ที่อยู่รอบตัว
ในส่วนของพ่อแม่ เมื่อเห็นลูกๆ สนุกกับกิจกรรมที่เหมาะกับวัยแล้ว ที่ผ่านมามีผู้ปกครองบางรายที่ส่งลูกเข้าห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ก็มักจะไปเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
เมื่อเด็กๆ ให้ความสนใจ โดยเริ่มจากเด็กเล็กที่ติดตามผู้ปกครองมาเดินห้าง กระทั่งเด็กโต ตลอดจนวิทยาศาสตร์เองก็เป็นสิ่งที่สอนการตัดสินใจในสิ่งต่างๆ โดยอาศัยเหตุและผลแล้ว ในอนาคต ดร.รวินทร์ บอกว่า สิ่งที่จะอยากปรับปรุงเพิ่มเติมใน “จัตุรัสสแควร์” คือจะมีการเพิ่มสื่อการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงการนำเสนอที่สั้นง่าย กระชับเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ผ่านรูปแบบการทอล์กโชว์ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับเด็กๆ นอกจากนี้ก็จะมุ่งเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มผู้ปกครองเช่นเดียวกัน ผ่านกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำกลับไปให้ความรู้กับบุตรหลาน
“เนื่องจากปัจจุบัน “จัตุรัสสแควร์” ก็มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในอนาคตคาดว่าเราจะมีกิจกรรม “ทอล์กโชว์ทางวิทยาศาสตร์” โดยมีนักวิชาการที่มาพูดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้เป็นเรื่องที่ง่ายสั้นและกระชับให้กับคุณน้องๆ หนูๆ ได้ฟัง เพื่อให้เกิดความสนใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น เพราะอันที่จริงแล้วเรื่องนี้อยู่รอบตัวเด็กๆ อาทิ การทอล์กโชว์เกี่ยวกับชีวิตสัตว์ขนาดเล็ก อย่างหอยทาก เป็นต้น รวมถึง “กิจกรรมประกวดสิ่งประดิษฐ์” เพื่อโชว์ความสามารถและศักยภาพของน้องๆ หนูๆ หรือแม้แต่การหาสปอนเซอร์จากภาคเอกชน เพื่อมอบเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้กับ “จัตุรัสวิทยาศาสตร์แห่งนี้” และการ “จัดคาราวานวิทยาศาสตร์ให้กับโรงเรียนที่สนใจ” เพื่อให้เด็กๆ ได้เข้าถึงวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมี “กิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับผู้ปกครอง” เพื่อนำไปสอนเด็กเรื่องความปลอดภัยขณะอยู่ที่บ้าน เช่น การใช้ไฟในปริมาณที่เหมาะสมในการทำขนม หรือความร้อนของน้ำมันในกระทะที่ทำให้อาหารสุก ซึ่งหากเด็กไม่ระวังอาจจะได้รับบาดเจ็บ เพราะวิทยาศาสตร์อยู่รอบตัวเด็ก หรือแม้แต่กิจกรรม “ประดิษฐ์ยานอวกาศที่ลอยตัวได้” ในระยะที่ได้กำหนดไว้ให้ โดยผลงานของผู้ปกครอง เป็นต้น
สำหรับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ ชั้น 4 ตึกจามจุรีสแควร์ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-18.00 น., เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.30-18.30 น. โดยให้บริการฟรีในการเข้าเยี่ยมชม (แต่บางกิจกรรมอาจเสียค่าใช้จ่าย เช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น การทำไอศกรีมแสนอร่อย, โอ้โหภูเขาไฟ ฯลฯ เสียโต๊ะกิจกรรมละ 100 บาท)”
ด้าน คุณป้าผกามาศ กิตติโสภี พนักงานเกษียณราชการที่พา น้องกะตังค์ หลานชายวัย 4 ปี มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ บอกว่า “พอดีน้องกะตังค์อยู่ในช่วงปิดเทอมค่ะ ก็เลยอยากหากิจกรรมให้น้องทำ เลยพามาที่นี่ ประกอบกับตัวน้องกะตังค์ก็เป็นเด็กที่ชอบเรียนรู้และชอบทำกิจกรรม ที่ผ่านมาก็พาไปทำกิจกรรมกลางแจ้งอย่างการปลูกข้าว ดำนา รวมถึงเรียนเปียโน กระทั่งมาที่จัตุรัสวิทยาศาสตร์ เพราะมองว่าวิทยาศาสตร์จะสอนให้หลานได้รู้จักคิดและรู้จักตัดสินใจ หรือมีวิธีคิดอย่างเป็นระบบ และมีเหตุมีผล หรือเชื่ออะไรแบบมีที่มาที่ไปค่ะ และเท่าที่สังเกตน้องกะตังค์ก็ค่อนข้างชอบที่นี่มากค่ะ เห็นได้จากการซักถามเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการทำกังหันวิทยาศาสตร์ และคิดว่าครั้งหน้าก็จะพาหลานมาเยี่ยมชมอีกแน่นอนค่ะ”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |