23 พ.ย.61- ที่แพทยสภา เวลา 10.00 น. นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายกแพทยสภา ให้มีการตรวจสอบจริยะธรรมกับหมอสูติฯ ที่ถูกสาวอ้างว่ามีการข่มขืนระหว่างตรวจภายใน ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 และตามข้อบังคับว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 โดยมีนพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้รับหนังสือ
นายอัจฉริยะ กล่าวว่า จากพยานหลักฐานที่ได้รวบรวมน่า จะเข้าข่ายความผิดจริยธรรมตามพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม จึงได้นำมามอบให้กับแพทยสภาเพื่อให้ทำการตรวจสอบและ เพื่อนำหลักฐานเข้าที่ประชุมแพทยสภาในต้นเดือน ธ.ค. ซึ่งเราได้มีการลงไปจำลองเหตุการณ์ โดยหลักฐานที่นำมามอบในวันนี้ เช่น หลักฐานการโอนเงิน ประวัติสนทนาผ่านเฟซบุ๊ค วิดิโอจำลองเหตุการณ์ เอกสารรายงานเมื่อปี 2560 ของนายแพทย์คนดังกล่าวที่ได้ยอมรับว่า ได้มีการกระทำอนาจารกับคนไข้ 2 ราย และมีการชดใช้ค่าเสียหายไป 30,000 และ 4,000 บาท และยังมีผู้เสียหายจาก จ.เพชรบูรณ์ ได้บรรยายถึงพฤติกรรมของนายแพทย์คนดังกล่าวในการตรวจภายใน ซึ่งไม่ใช่เทคนิคทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษา แต่เป็นการการลวนลาม เช่น ให้เปิดเสื้อชั้นใน ใช้มือเปล่าโดยไม่ใส่ถุงมือยางคลึงเต้านม และชมว่านมสวยพร้อมมีการลูบไล้ไปตามร่างกาย อีกทั้งมีการเล้าโลมโดยใช้นิ้วสอดใส่ไปในอวัยวะเพศ นอกจากนี้ อีกประเด็นที่สำคัญคือ ตั้งแต่เปิดคลินิกมาไม่เคยมีบุคคลที่3 ซึ่งเป้นพยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาล อยู่ในห้องการตรวจภายในของนายแพทย์คนดังกล่าวแม้แต่ครั้งเดียว ประตูห้องสามารถล็อกได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
นพ.เมธี กล่าวว่า ตามขั้นตอนในการดำเนินการของแพทยสภา ทางสำนักงานเลขาธิการฯ จะมีการนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการบริหาร และเข้าสู่คณะกรรมการชุดใหญ่ ที่คาดว่าจะมีการประชุมกันในต้นเดือน ธ.ค. แต่ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ ทางนายกแพทยสภาและเลขาฯ ได้มีการรับทราบทั้งหมดจากทางสื่อมวลชนแล้ว และมีการติดตาม ซึ่งก็ได้มีความห่วงใยในสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งก็จะเร่งดำเนินการเพื่อให้เรื่องนี้กระจ่างโดยเร็วที่สุด แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการทำงานภายใต้อำนาจตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมพ.ศ.2525 ที่เราถืออยู่ เพราะฉะนั้นในส่วนของเรา คงจะมีการเน้นในส่วนของจริยธรรมของแพทย์ ว่ามีการกระทำเช่นนั้นเกิดขึ้นจริงหรือไม่ หากทางนายอัจฉริยะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทางเราก็ขอขอบคุณที่ทำให้แพทยสภาทำงานได้ง่ายขึ้น
นพ.เมธี กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ให้อำนาจแพทยสภาในการดำเนินการเรื่องนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว ที่ผ่านมาขั้นตอนการนำเรื่องเข้าสู่แพทยสภาเพื่อให้สอบสวน โดยหลักการจะมี 2 ช่องทาง คือ ช่องทางแรก คือมีผู้เสียหายมากล่าวร้องทุกข์ หรือมีข่าวหรือเรารับทราบจากช่องทางใดก็แล้วแต่ อย่างกรณีนี้เรารับทราบจากสื่อมวลชนพร้อมๆกับประชาชน ดังนั้นขั้นตอนนี้ตาม พ.ร.บ.ให้อำนาจกับ เลขาธิการ ในการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมโดยไม่ต้องมีผู้เสียหายกล่าวโทษ ซึ่งก่อนที่ จะมีการมาร้องเรียน ทางท่านนายกและท่านเลขา ก็มีการเตรียมนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมเรียบร้อยแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่าตามขั้นตอนการตรวจสอบมีระยะเวลาหรือไม่ นพ.เมธี กล่าวว่า ตามปกติไม่มีการกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน แต่ตามปกติในเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนหรือเรื่องที่มีผลกระทบรุนแรง จะมีการดำเนินการให้รวดเร็วเป็นพิเศษ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ปรากฏกรณีดังกล่าวนั้นมี 2 ประเด็น คือเรื่องจริยธรรม และอีกเรื่องคงมีเรื่องตามกฎหมายบ้านเมืองหรือคดีอาญา หากผู้ถูกกล่าวโทษหรือตัวแพทย์มีการยอมรับหรือไม่ หากยอมรับเรื่องก็จะเดินหน้าต่อไปง่าย โดยไม่ต้องรอคดีอาญา แต่หากไม่ยอมรับ อำนาจในการชี้ขาดคงอยู่ที่กระบวนยุติธรรมตามกฎหมายบ้านเมือง ก็ต้องมีการเรียกมาให้ปากคำ ให้ข้อมูลต่างๆ และพิจารณาจากสภาพแวดล้อม พยานหลักฐานที่เราได้รับ ในประเด็นที่เราต้องรอการสรุปจากเจ้าพนักงานสอบสวนว่ามีหลักฐานอะไรที่เรายังไม่มี ซึ่งหากได้หลักฐานยิ่งมากก็ การดำเนินงานก็จะเร็วขึ้นเท่านั้น โดยโทษความผิดนั้น ก็จะมีตั้งแต่ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ ส่วนในกรณีที่มีความผิดรุนแรงหรือมีความเสียหายมากก็จะถึงขั้นพักใบประกอบวิชาชีพสูงสุดได้ไม่เกิน 2 ปี ในกรณีเสียหาบร้ายแรงที่ผ่านมาก็มีให้โทษถึงขั้นถอดใบประกอบวิชาชีพ ส่วนกรณีนี้จะสรุปเช่นไรคงยังบอกไม่ได้ ต้องรอข้อเท็จจริงที่ปรากฏก่อน
ผู้สื่อข่าวถามทางแพทยสภาได้มีการหาข้อมูลด้วยตัวเองมีอะไรบ้าง นพ.เมธี กล่าวว่า ข้อมูลส่วนใหญ่ทางท่านนายกและท่านเลขา รับทราบ แต่ข้อมูลหลายอย่างยังไม่มีหลักฐานเอกสารที่ชัดเจน เพราะอำนาจแพทยสภาคือเราเรียกผู้เสียหาย หรือแพทย์ที่ถูกกล่าวหาเข้ามาสอบได้ ซึ่งเราจะเชิญโดยเร็วที่สุดมาให้ข้อมูลกับเรา แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่มีผู้เสียหายท่านใดมากล่าวร้องแพทย์อย่างเป็นทางการ แต่อย่างที่ให้ข้อมูลว่าถึงไม่มีผู้เสียหาย เราก็เตรียมสอบแล้ว ขั้นตอนต่อไปโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการ หากเป็นไปตามคาด จะมีการเชิญแพทย์มาให้ปากคำโดยเร็วที่สุด คาดว่าหากเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการในต้นเดือนหน้า ตนคาดว่าภายในเดือนหน้าน่าจะเชิญมาให้ปากคำได้แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่าได้มีการขอข้อมูลไปยังราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยว่าพฤติกรรมเช่นนี้เข้าข่ายผิดตามจริยธรรมหรือไม่ นพ.เมธี กล่าวว่า ยังไม่มีการขออย่างเป็นทางการ เพราะอย่างที่บอกว่าจะมีการประชุมในต้นเดือน ธ.ค. คาดว่าท่านายก ฯ จะคงมีการดำเนินการเรื่องนี้ให้ความจริงปรากฏโดยเร็ว คงต้องรอการประชุมเดือนหน้า
ผู้สื่อข่าวถามว่าในระหว่างรอการตรวจสอบแพทย์สามารถประกอบวิชาชีพได้ นพ.เมธี กล่าวว่า ตอนนี้แพทย์ยังเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าเราจะมีการชี้ขาดว่ามีความผิดจริงหรือไม่ เราก็ยังไม่ไปลงโทษอะไรเพราะต้องให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย หากมีคำตัดสินออกมาถึงจะมีบทลงโทษ หากโทษไม่ถึงกับพักหรือถอดใบประกอบวิชาชีพ โดยสิทธิ์ทางกฎหมายก็ยังให้การตรวจรักษาคนไข้อยู่ แต่หากพักใช้ถอดถอนคุณหมอก็จะไม่สามารถประกอบวิชาชีพได้ทั้งนี้สิ่งที่ท่านายกฯ เป็นห่วงและฝากมาคือ ความมั่นใจในการรักษาจากสูติฯ โดยเฉพาะขั้นตอนการตรวจภายในที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นต้องทำความจริงให้ปรากฏและให้ดำเนินตามข้อเท็จจริง คิดว่าเป็นวิธีที่เราต้องการทำที่สุด และตรงกับสื่อมวลชน และทางชมรมฯ ต้องการ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |