หนัง'ไทบ้านฯ'ได้ฉายแล้ว จำใจหั่นซีนพระฟูมฟายออก!


เพิ่มเพื่อน    

 

          หลังจากที่ภาพยนตร์ “ไทบ้านเดอะซีรีส์ 2.2” ถูกคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ประกาศไม่ผ่านเซ็นเซอร์ เนื่องจากมีประเด็นอ่อนไหวทางศาสนา โดยมีฉากที่เป็นปัญหาคือ ฉากพระร้องไห้ฟูมฟายเคาะโลงศพของแฟนเก่าที่เสียชีวิต ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์เป็นจำนวนมาก
          ล่าสุด "ปรัชญา ปิ่นแก้ว" ตัวแทนสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย พร้อม "พระมหาสมปอง" ได้มีพูดคุยถึงประเด็นดังกล่าว ในรายการ โหนกระแส

ล่าสุดหนังเรื่องไทบ้านเดอะซีรีส์ 2.2 เกิดอะไรขึ้น?
          ปรัชญา : ก็ตามขั้นตอนก่อนนำภาพยนตร์เข้าฉาย ทุกเรื่อง เราต้องนำไปให้คณะกรรมการพิจารณาเรตติ้ง ว่าจะต้องแสดงความจำนงว่าหนังต้องการสื่อถึงคนกกลุ่มไหน อย่างหนังเรื่องนี้ต้องการสื่อถึงคนอายุ 15 ปี แล้วตามขั้นตอนคณะกรรมการเขาพิจารณา และตรงกับความต้องการของผู้สร้างหรือเปล่า ถ้าพิจารณาว่าไม่เหมาะ มีภาพโน้นภาพนี้รุนแรง ขอเป็น 18 ได้ไหม ก็ว่ากันไป หรือทางผู้สร้างยืนยันจะ 15 ก็เสนอตัดตรงนี้ได้ไหม แต่คราวนี้คณะกรรมการบอกว่าไม่ให้ฉายเลย เพราะมีภาพพฤติกรรมของพระ เป็นภาพพระร้องไห้หน้าโลงศพ บอกว่าฟูมฟายเกินไป ไม่เหมาะกับการเป็นพระ

 

 

ฉากนี้ประมาณ 7 วิ ทำให้หนังทั้งเรื่องไม่ได้ฉาย?
          ปรัชญา : ใช่ครับ ถ้าตัดออกจะได้เรต 18 ก็จะได้ออก ช่วงที่เดินร้องไห้ยังพออนุโลม แต่เคาะโลงร้องไห้ไม่ได้เลย
          พระมหาสมปอง : อันดับแรกต้องดูบริบทหนังก่อน เขาเป็นเด็กห้าวๆ มาบวชสองสามเดือนจะให้นิ่งเหมือน 10-20 พรรษา เหมือนพระมหาสมปองก็ยากนิดนึง ก็ร้องไห้ฟูมฟาย ก็เป็นธรรมชาติไม่ต้องแฟนหรอก อย่างอาตมาพี่สาวเสีย แค่ได้รับโทรศัพท์น้ำตามาเลย อุตส่าห์สำรวม แยกกันนั่งสมาธิ เที่ยงคืนโทรมายืนยันว่าเสียชีวิตน้ำตามาอีกรอบ ก็นั่งรถกลับบ้านวันนั้น นั่งไปน้ำตาก็ไหลอีกรอบ

ร้องไห้เข้าใจได้ แต่ไปเคาะโลงในมุมของพระทำได้ไหม?
          พระมหาสมปอง : ตอนอาตมาไปเปิดฝาโลง โยกหน้าพี่สาว ก็น้ำตาไหล โอเคอาตมาร้องนิ่งๆ มันเป็นธรรมชาติ จะมากหรือจะน้อย แต่ไม่ถึงขั้นเคาะโลง แต่ในหนัง 2 เดือน เป็นแฟนเก่าด้วยรักกันมาก เหมือนพระเวลาไปคัดเลือกทหาร ใบดำ ย่ามปลิว ถ้าเอาความเป็นจริง อารมณ์หนัง มันก็เกิดขึ้นได้ ในมุมอาตมา ก็อารมณ์แฟนเก่า ก็เหมือนที่ยกตัวอย่าง ย่ามลอย จีวรปลิว เฮ อารมณ์เสียใจก็ออกมา ถ้าถามอาตมา ก็ไม่ได้มากเกินไปในมุมที่เขาสูญเสีย
          ปรัชญา : มองว่าธรรมดามากในการเล่าเรื่อง ถ้าผู้สร้างต้องการหนักกว่านี้ก็ต้องทำ ผมเคยเป็นโปรดิวเซอร์หนัง 2 เรื่อง ที่เกี่ยวกับพระ มีปัญหา เรื่องนาคปรก กับ อาปัติ ตอนนั้นก็ต่อสู้มาเหมือนกัน ตอนนาคปรกก็เป็นช่วงรอยต่อเรตติ้ง มีภาพถือปืน พูดคำหยาบ มีอะไรกับสีกาในกุฏิ แล้วเป็นสีกาเป็นโสเภณี ซึ่งรุนแรงมากๆ ตอนนั้นเรากำลังเข้าใจกฎหมายภาพยนตร์ ต้องเข้าใจว่ามีผู้ชมหลายระดับหลายอายุ ตอนนั้นฉายไปเราก็มีปัญหากับกระทรวงวัฒนธรรมอยู่เรื่อยๆ แต่ในมุมทำหนังอย่าถามว่าจำเป็นไหม มันเป็นสิทธิคนเล่าเรื่องผู้กำกับ เขาต้องมีสิทธิ์ในการทำได้ ผิดถูก ผิดกฎหมายก็ว่ากันอีกเรื่องนึง แต่พอมีกฎหมายออกมา ก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดของคนทำงานและผู้ดู

 

 

          นอกจากนี้ทางรายการยังได้ต่อสายหา คุณสุรศักดิ์ ผู้กำกับหนังไทบ้านฯ ถึงเรื่องราวที่ภาพยนตร์ถูกแบนโดยคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ ไม่ให้ออกฉาย ซึ่งเจ้าตัวได้เผยว่า
          สุรศักดิ์ : ฉากที่มีปัญหาประมาณ 6-7 วินาที ถามว่าช็อตร้องไห้เคาะโลงทำไมต้องมี ซีนนี้เป็นงานศพใบข้าว อดีตแฟนเก่าซึ่งเพิ่งเสียชีวิตไป ด้วยคาแรคเตอร์ตัวละครเพิ่งเลิกกับแฟนเก่าเพื่อหนีไปบวช เพราะคิดว่าจะลืมเขาได้ บังเอิญว่าการไปบวชเพื่อลืมคนรัก ไม่ได้ไปบวชเพื่อตรัสรู้ปรินิพพานเหมือนหลวงพ่อ พอบวชแล้วได้ข่าวแฟนเก่าเสียชีวิต เขาก็พยายามข่มอารมณ์ตัวเอง ตั้งสติ แต่ก็ตั้งไม่ได้ ก็เลยไปถามว่าเกิดอะไรขึ้นในงาน นี่คือภาคแรก ภาคสองเลยมีช็อตนี้อยู่ในหนัง คณะกรรมการพิจารณาบอกว่าไม่เหมาะสมครับ เป็นพระไม่สำรวมประมาณนี้

ในมุมคุณ มองว่าฉากนี้เป็นยังไง?
          สุรศักดิ์ : เราไม่คาดคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นหรือโดนแบน เพราะความตั้งใจเรา ตัวละครตัวนี้เขาไม่ได้ละทางโลกขนาดนั้น ด้วยความเป็นมนุษย์เอาจริงๆ ต้องมีความรู้สึกบ้าง บังเอิญแฟนคนนี้เคยคบมาตั้งแต่มัธยม ใช้ชีวิตด้วยกันมา มีที่มาที่ไป คบกันมาหลายปีในเส้นเรื่อง อยู่ดีๆมาบอกเลิกกะทันหัน แล้วก็มารู้ข่าวเขาจะแต่งงานกับคนอื่น รู้ข่าวว่าท้องและรู้ข่าวว่าเขาตาย
          หนังต้องฉายวันนี้ แต่ก็ไม่ได้ฉาย มันต้องยอมตัดออก จริงๆเป็นฉากที่เราตั้งใจให้มันพีคที่สุดของเรื่อง ผมก็ขอทางคณะกรรมการเขาไปแล้ว พี่เขาก็บอกว่าทำไม่ได้ กลัวส่งผลกระทบหลายๆ ด้าน กลัวไมสบายใจ แต่คือจะให้ไปแก้ไขก็ต้องใช้เวลา ไม่ใช่ตัดซีนนี้ออก แล้วส่งไฟล์ได้เลย ก็เลยไม่น่าจะทัน

กรณีนี้ คณะกรรมการพิจารณา เป็นพระ?
          ปรัชญา : ไม่ๆ กรรมการมี 7 คน ข้าราชการ 4 คน เอกชน 3 คน

หลวงพี่แจ๊ส มันไม่ต่างกันเลย ทำไมออกได้ อันนึงออกไม่ได้?
          ปรัชญา : เรามองว่าเป็นจุดบอดของระบบนี้
          พระมหาสมปอง : จริงๆคณะสงฆ์เราพูดตลอด วิ่งหนีผี ทำไมให้พระตลก ถ้ามีพระให้เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ถ้าลดตลก หวือหวาลงก็สบายใจขึ้น แต่เราเคยคุยเรื่องนี้กับพระผู้ใหญ่ หลังๆ ก็ไม่มีปัญหาเรื่องนี้ ก็เงียบมานานพอสมควร พระมีทั้งสมมติสงฆ์ อริยสงฆ์ ระดับต่างกันอยู่แล้ว ก็จะมีวิถีชีวิตที่ต่างกันอยู่เราก็พยายามสำรวมที่สุดเท่าที่จะทำได้
          อย่างอาตมา บรรยายคนก็คาดหวังว่าจะสนุก แล้วก็จะมีคำหยาบนิดๆ อย่าลืมว่าธรรมะมีอยู่ทุกที่ ในหนังก็มีข้อเตือนใจ ทุกอย่างก็ให้ข้อคิดอยู่แล้ว อีกมุมอาตมาบังเอิญได้ฟังท่านมุ้ยท่านพูดเรื่องหนัง ถ้าหนังไม่ดี 3 วันออกจากโรงเลยนะ ถ้าพอใช้ได้ก็สองอาทิตย์ หนังดี 3 อาทิตย์ องค์บาก 4 อาทิตย์กว่าๆ เขามีเวลาตรงนี้น้อยมาก ก็ให้เห็นใจคนทำหนัง การที่บอกว่าตัดมาใหม่มันก็อาจไม่ได้ง่าย ก็ดูบริบทหนัง เพราะหนังมีหนังทำเงิน หรือหนังอาร์ตๆ ที่ไม่ได้เงินมาก

 

 

          จากนั้นทางรายการจึงโทรศัพท์หา “คุณโอม” โปนดิวเซอร์เรื่องนี้ ที่ ณ ตอนนั้นอยู่หน้ากองเซ็นเซอร์ที่กระทรวงวัฒนธรรม ว่าหนังของเขาจะได้ฉายหรือไม่ ต้องตัดยังไงเพื่อให้ฉายได้?
          โอม : วันนี้รับคำของกรรมการไปแล้วเพื่อตัดหนัง ตอนนี้ตัดหนังเรียบร้อยแล้ว ผลตอนนี้ก็ผ่านเรียบร้อย ด้วยเรต 15+ ตัดบางช่วงบางตอนของคัตนั้น ที่พระร้องไห้ ตัดช่วงเอามือเคาะโลงออก และช่วงฟูมฟายนิดหน่อย จะเสียอรรถรสหนังไหมเหรอ ก็ต้องยอมรับว่าเสียอยู่ แต่จะมากจะน้อยก็ให้ผู้ชมไปดูแล้วตัดสินอีกทีนึง แต่เราก็พยายามหาคัตที่มันดีและทดแทนกันได้มาในหนัง และซีนบางซีนที่สามารถดึงอารมณ์ได้อีกรอบ
          ตอนพระเคาะโลงเป็นช็อตดราม่าครับ เคาะปกติ ไม่ได้เคาะสามช่าให้ตลก ที่บอกว่าพระไม่มีสิทธิ์เคาะและร้องไห้หน้าโลง ฟูมฟายแบบนี้ต้องสำรวมเท่านั้น ในความเข้าใจผมจริงๆ ที่ได้รับข่าวสารมาก็เคาะได้นะ แต่ยืนยันที่ร้องไห้เป็นซีนซีเรียสครับ ตอนนี้ปรึกษาทีมงานเรื่องการส่งไฟล์ ทำไฟล์ใหม่ ก็ใช้เวลาประมาณวันสองวัน
 

 

พี่ปรัช ในฐานะที่ต่อสู้มานาน
          ปรัชญา : ก็น่าสงสาร เหมือนมีลูกแล้วมีคนไปยุ่งกับลูก ก็ต่อสู้กันมานาน ตั้งแต่ผมเข้าวงการหนัง เรารู้สึกว่าทำไมต้องมีคนคอยมาหาเรา กระทรวงวัฒนธรรม ท่านมาประจำ มาเฝ้าระวังเราอยู่ตลอด เราทำงานสิทธิเสรีภาพก็ต้องมีไม่ใช่เหรอครับ เราศึกษาแม้กะทั่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 เราต่อสู้มา ก็สงสัยว่าทำไมคนทำทีวีต้องส่งให้เขาตรวจก่อน จับตาถูกต้องไม่เป็นไร แต่ทำไมต้องส่งให้ตรวจ ของเรายังไม่ได้แสดงความคิดเห็นเลยก็มาตัดสินเราก่อน จากคน 7 คน มาคิดแทนประชาชนที่เขาไม่ได้ดูเลย หรือผิดกฎหมายก็ได้ มีสิทธิรับผิด ง่ายๆ ออกออนไลน์จะรู้สึกยังไง ถ้าการทำงานต้องส่งให้ตรวจก่อน ก็รู้สึกถูกคุกคามเสรีภาพใช่ไหมครับ ก็มีแต่คนทำหนังที่ต้องส่งให้ภาครัฐตรวจก่อน ทุกคนได้เสรีภาพในกฎหมาย ตีความยังไง ทำไมภาครัฐต้องมายุ่งกับหนังอย่างเดียว
          พระมหาสมปอง : คณะสงฆ์ก็ฝากเรื่อง อย่าตลกโปกฮาเกินไป แต่บางทีก็ตอบยาก แค่ไหนล่ะ จะได้หรือไม่ได้ เหมือนอารมณ์คนเล่าเรื่องก็อยากเล่าเต็มที่ ถ้ามาจำกัดใครเขาจะพูดแบบนั้นตลอด ก็อยากฝาก ตรงนี้อาจเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส สุดท้ายจะเป็นหนังที่ดังมาก คนดูหลายล้าน ฉากที่ตัดออก ลงยูทูปเยอะมาก สามารถเชื่อมโยงกันได้
          ปรัชญา : เอาแค่คลิปที่คุณหนุ่มเปิดทำไมออนแอร์ได้
          พระมหาสมปอง : อาตมาว่าถูกต้อง แฟนเก่าตายก็ต้องร้องไห้ ถ้าในฉากพระหัวเราะจะด่าเลยนะ เขาร้องไห้ก็ถูกต้องแล้ว อารมณ์หนัง
          ปรัชญา : เราไม่อยากโจมตีคณะกรรมการ 7 ท่านนี้นะ แต่เราอยากพูดถึงกฎหมายภาพยนตร์ที่มีอยู่ สมาคมผู้กำกับมีแผนจะขอยกเลิกกฎหมายนี้ จะต่อสู้เรื่องนี้ และขอเสรีภาพให้ทุกคน และในโลกที่จะสื่ออะไรก็ได้

 

 

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"