5 เคล็ดลับเสริมหัวใจแข็งแรงแม้สูงวัย


เพิ่มเพื่อน    

    จากงานวิจัยหนึ่งโดยสถาบัน National University Heart Centre Singapore (NUHCS) ร่วมกับศูนย์ National Heart Centre Singapore (NHCS) พบด้วยว่า ชาวเอเชียมีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวเร็วกว่าชาวตะวันตกถึงหนึ่งศตวรรษ ผู้ป่วยในฟิลิปปินส์มีอายุเฉลี่ยของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเร็วที่สุดอยู่ที่อายุ 54 ปี เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย (อินโดนีเซีย-อายุ 56 ปี ไต้หวัน-อายุ 63 ปี เกาหลีใต้-อายุ 63 ปี ญี่ปุ่น-อายุ 65 ปี และฮ่องกง-อายุ 68 ปี) ในขณะที่อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยชาวยุโรปที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวจะอยู่ที่อายุ 71 ปี
    ปัจจุบันจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราต้องเริ่มดูแลใส่ใจสุขภาพหัวใจของเรากันตั้งแต่ตอนนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยสามารถทำตาม 5 เคล็ดลับดีๆ ที่นำมาฝากกันต่อไปนี้ เพื่อชีวิตที่มีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้นได้อย่างยืนยาว


    เคล็ดลับที่ 1 - เข้าใจปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อสุขภาพ กุญแจสำคัญที่นำไปสู่สุขภาพหัวใจที่สมบูรณ์แข็งแรงคือ คุณต้องรู้ค่าตัวเลขที่บ่งบอกภาวะสุขภาพต่างๆ ของตัวเองให้ดี หมั่นไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำ และจัดตารางตรวจสุขภาพร่างกายแบบครอบคลุมทุกด้านอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือแวะไปคลินิกเพื่อตรวจเช็กสุขภาพบ้างเป็นครั้งคราว 
    เคล็ดลับที่ 2 - ลด ละ เลิกพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ สำหรับใครที่สูบบุหรี่อยู่ หากคุณลดพฤติกรรมนี้ลงก็จะช่วยถนอมหัวใจของคุณได้อย่างดีเยี่ยม แถมยังช่วยลดอัตราเสี่ยงที่จะส่งผลต่อสุขภาพหัวใจลงได้เป็นอย่างมากเมื่อคุณเลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะไปทำลายผนังบุหลอดเลือดแดง และทำให้เกิดภาวะไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดแดงและนำไปสู่ภาวะตีบตันได้ 
    เคล็ดลับที่ 3 - หมั่นรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ ตามปรัชญาโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ ปริมาณแคลอรีที่เราควรบริโภคในแต่ละมื้ออาหาร ต้องมาจากส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 40 โปรตีนร้อยละ 30 และไขมันดีร้อยละ 30 รวมถึงไฟเบอร์ 25 กรัม และดื่มน้ำให้เพียงพอหรืออย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
และเพื่อเสริมสร้างสุขภาพหัวใจให้ดีขึ้น ให้ลองรับประทานผักและผลไม้สด ผลไม้แห้ง ถั่วต่างๆ และเมล็ดพืชเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ได้วิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ อาหารจำพวกปลาที่มีไขมันดีสูง (เช่น แซลมอน แมคเคอเรล และทูน่า) เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) ถั่ววอลนัท เมล็ดฟักทอง และถั่วเหลือง ล้วนอุดมด้วยกรดไขมันโอเมกา 3 ที่ช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้ 
    เคล็ดลับที่ 4 - ออกกำลังกายให้หัวใจสูบฉีดสม่ำเสมอ ประโยชน์ของการออกกำลังกายสม่ำเสมอมีมากกว่าแค่น้ำหนักที่ลดลงหรือรูปร่างที่ดูดีขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยยกระดับสุขภาพโดยรวมให้ดีขึ้นแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยให้หลอดเลือดทำงานได้ดีและขยายกว้างมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เลือดไหลเวียนเข้าไปหล่อเลี้ยงหัวใจเราได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ กระตุ้นการผลิตสารไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide) ในร่างกายซึ่งช่วยควบคุมดูแลและรักษาระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้คุณมีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรงยิ่งขึ้น
    สำหรับการเริ่มต้นไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉง ให้ลองออกกำลังกายที่เน้นความหนักระดับปานกลาง (moderate-intensity) อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน แต่ถ้าคุณรู้สึกว่ามันยากไป ลองออกไปเดินเล่นระยะทางสั้นๆ ในระหว่างวัน หรือจอดรถไกลจากออฟฟิศไปสักหน่อย หรือลองลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายจากเก้าอี้ทำงานแทนที่จะนั่งนานๆ ทั้งวันดูบ้างก็ไม่เลว
    เคล็ดลับที่ 5 - ลดความเครียดลง แม้จะยังไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงชัดเจนว่าระดับความเครียดที่สูงจะส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจได้แน่นอน แต่ความเครียดก็ถือเป็นตัวการสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจของคุณได้ 
    ความเครียดอาจทำให้คุณมีอาการความดันโลหิตสูง ทำให้คุณรับประทานอาหารมากเกินไป ทั้งยังอาจออกกำลังกายน้อยลง และสูบบุหรี่มากกว่าปกติ มิหนำซ้ำความเครียดระยะยาวก็อาจจะทำให้ร่างกายของคุณเพิ่มระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เช่น อะดรีนาลีน (adrenaline) หรือคอร์ทิโซล (cortisol) ได้ง่ายๆ และอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะหัวใจวายตามมา
    สุดท้ายแล้ว การมีวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพดีและไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉงมีส่วนช่วยให้เราอยู่ห่างไกลจากโรคหัวใจได้มาก หากว่าคุณยังไม่เริ่มต้นทำเลย คุณควรจะเริ่มซะตั้งแต่ตอนนี้และนำเคล็ดลับๆ เหล่านี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้หัวใจของคุณสูบฉีดและทำงานได้อย่างเต็มที่ต่อไปอีกนานแสนนาน แล้วหัวใจของคุณจะต้องรู้สึกขอบคุณที่คุณเริ่มทำเพื่อหัวใจของคุณเองที่แข็งแรงแม้ยามสูงวัย!.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"