TMA และสภาพัฒน์เผยผลการจัดอันดับ IMD World Talent Ranking 2018 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 42
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยผลการจัดอันดับ World Talent Ranking จาก World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2561 ซึ่งทำการจัดอันดับความสามารถของ 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ด้านการพัฒนา ดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพ (Talent)
สำหรับประเทศไทยมีผลการจัดอันดับคงที่อยู่อันดับที่ 42 เช่นเดียวกับปีที่แล้ว พิจารณาผลการจัดอันดับที่ประกอบด้วย 3 ด้านคือ การลงทุนและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Investment & Development) ความสามารถในการดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพจากภายนอกประเทศ (Appeal) และความพร้อมของบุคลากรที่มีอยู่ในประเทศ (Readiness) ปรากฏว่าประเทศไทยมีจุดเด่นด้านการดึงดูดและรักษาบุคลากรจากภายนอกอยู่ในอันดับที่ 24 ในขณะที่ด้านการลงทุนและพัฒนาบุคลากร และความพร้อมของบุคลากรยังอยู่ในอันดับค่อนข้างต่ำ คืออันดับที่ 46 และ 50 ตามลำดับ
โดยเขตเศรษฐกิจที่อยู่ในอันดับสูงสุด 10 อันดับแรกอยู่ในยุโรปถึง 9 อันดับ ประกอบด้วยเขตเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศนอร์ดิกถึง 4 เขตเศรษฐกิจ คือ เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และสวีเดน และเขตเศรษฐกิจนอกยุโรปมีเพียงแคนาดาเท่านั้น
สำหรับเขตเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนที่ได้รับการจัดอันดับ 5 เขตเศรษฐกิจ สิงคโปร์นับได้ว่าอยู่ในอันดับนำมาโดยตลอด อยู่ในอันดับ 13 เช่นเดียวกับปี 2560 และมีจุดเด่นในด้านความพร้อมของบุคลากรที่อยู่ในอันดับที่ 2 จาก 63 เขตเศรษฐกิจ สิงคโปร์ให้ความสำคัญกับมาตรการด้านการดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพจากภายนอกมาเสริมข้อจำกัดด้านกำลังคนในประเทศของตนเอง ขณะที่มาเลเซียมีอันดับดีขึ้นจาก 28 เป็นอันดับที่ 22 ในปีนี้ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนและพัฒนาบุคลากร ส่วนอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 45 และ 55 ตามลำดับ
ทางด้าน
ด้านนายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกล่าวว่า ประเด็นด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นประเด็นที่มีความสำคัญและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ไว้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ 6 ด้าน โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์เรื่องการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมถึงการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะมีการจัดทำแผนแม่บทเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างแท้จริงต่อไป
ในขณะที่ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานศูนย์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน TMA (TMA Center for Competitiveness) กล่าวว่า เราต้องจริงจังมากขึ้นในการลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของคน เพิ่มความพร้อมของบุคลากรไทย เพราะจากตัวอย่างเขตเศรษฐกิจที่ติดอันดับท็อปเทน จะเห็นได้ว่าล้วนมีจุดเด่นในด้านการลงทุนเพื่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาที่สะสมมายาวนาน เพื่อเตรียมเยาวชนและคนไทยทุกระดับ ให้พร้อมกับความท้าทายของโลกในยุคใหม่ ต้องการความมุ่งมั่นอย่างจริงจัง การเปิดใจยอมรับความเปลี่ยนแปลงจากบุคลากรในภาครัฐจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จได้
ในส่วนการพัฒนาความพร้อมของบุคลากรภาครัฐและเอกชน TMA ได้ดำเนินโครงการ Thailand Competitiveness Enhancement Program (TCEP) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดย 3 ปีต่อจากนี้ จะมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมด้านการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |