นายพินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานการแถลงข่าวงานเทศกาลลอยกระทง “ปทุมบูชา ตระการตาเพ็ญเดือนสิบสอง” และ “ตำนานสายน้ำปทุมธานี วิถีไทยรามัญ” โดยมีนางดลวสา บุญเลิศ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดปทุมธานี นายผล ดำธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นางวันทนา ดำธรรม รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดปทุมธานี นายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นางกาญจนี รุจนเสรี รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดปทุมธานี นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี นายวีรวัฒน์ วงศ์ศุปไทย รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี เข้าร่วมงาน
นายพินิจเปิดเผยว่า จังหวัดปทุมธานีเตรียมพร้อมจัดงานประเพณีลอยกระทงประจำปี 2561 เพื่อเล่าขานตำนานดอกบัวแห่งเมืองปทุม และสะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชนชาติพันธุ์ไทย-รามัญซึ่งอยู่อาศัยในจังหวัดปทุมธานีมายาวนาน พร้อมกิจกรรมมากมาย โดยเฉพาะการประกวดกระทงชิงถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ในงาน “ปทุมบูชา ตระการตาเพ็ญเดือนสิบสอง” บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ปทุมธานี และงาน “ตำนานสายน้ำปทุมธานี วิถีไทยรามัญ” บริเวณวัดสุราษฎร์รังสรรค์ อำเภอสามโคก ในวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายนนี้
จังหวัดปทุมธานีมีนโยบายในการส่งเสริม ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม รวมทั้งอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน และในวันที่ 22 พ.ย.นี้ ตรงกับวันลอยกระทง จังหวัดปทุมธานี โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด จะจัดงานประเพณีลอยกระทง 2 แห่งด้วยกัน คือ งาน “ปทุมบูชา ตระการตาเพ็ญเดือนสิบสอง” บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ปทุมธานี และงาน “ตำนานสายน้ำปทุมธานี วิถีไทยรามัญ” บริเวณวัดสุราษฎร์รังสรรค์ อำเภอสามโคก ซึ่งงานที่จะจัดขึ้นทั้ง 2 แห่งจะสื่อสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นเมืองดอกบัวและเอกลักษณ์ของชุมชนชาติพันธุ์ไทย-รามัญ ซึ่งอยู่อาศัยในจังหวัดปทุมธานีมาเป็นเวลาช้านานภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ มากมายเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมและซึมซับในประเพณีที่ดีงามของไทย
นายพินิจกล่าวอีกว่า เมืองปทุมธานีเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์ชาติไทยไม่น้อยกว่า 300 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตามประวัติจะกล่าวถึงชุมชนชาวมอญที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยหลายระลอก ณ ชุมชน "บ้านสามโคก" ที่ต่อมากลายเป็น "เมืองสามโคก" หรืออำเภอสามโคกในปัจจุบัน
สำหรับที่มาของชื่อ "ปทุมธานี" มาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จประภาสเมืองสามโคก เหล่าพสกนิกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมอญมีความปลาบปลื้มใจเป็นล้นพ้น จึงได้พากันนำดอกบัวหลวงที่มีขึ้นอยู่มากมาย ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะอยู่เป็นเนืองนิจ ยังความซาบซึ้งในพระราชหฤทัย ร.2 เป็นอย่างยิ่งและได้พระราชทานนามเมืองสามโคกเสียใหม่ว่า "เมืองประทุมธานี" เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2358 ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทนคำว่า "เมือง" และให้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัดปทุมธานีใหม่เป็น "ปทุมธานี" มาจนถึงทุกวันนี้
ด้านนางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า งานประเพณีลอยกระทงทั้ง 2 แห่ง จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา โดยตกแต่งบริเวณงานให้ได้บรรยากาศย้อนยุค ผู้ที่มาร่วมลอยกระทงและเข้าชมงานจะได้รับความเพลิดเพลินจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งการแสดงประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน การสาธิตประดิษฐ์กระทงในรูปแบบการรักษาสิ่งแวดล้อมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น การออกร้านของผู้ค้าต่างๆ ในท้องถิ่น การประกวดหนูน้อยนพมาศ และการประกวดกระทง ซึ่งปีนี้ได้รับเกียรติจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี มอบถ้วยรางวัลมาให้สำหรับการประกวดกระทง
โดยงาน “ปทุมบูชา ตระการตาเพ็ญเดือนสิบสอง” บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) ทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับถ้วยรางวัลจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับถ้วยรางวัลจากนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม และรางวัลชมเชยได้รับถ้วยรางวัลจากนายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ส่วนงาน “ตำนานสายน้ำปทุมธานี วิถีไทยรามัญ” บริเวณวัดสุราษฎร์รังสรรค์ อำเภอสามโคก ทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลจากผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี และผู้บริหารระดับจังหวัดตามลำดับเช่นกัน
นอกจากนั้นแล้ว เพื่อให้เป็นการเชื่อมโยงวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามเข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ ยังได้จัดการประกวดภาพถ่ายภายในงานอีกด้วย โดยตัดสินจากยอดไลค์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งรูปที่มียอดกดไลค์มากที่สุดจะได้รับรางวัลเงินสด พร้อมใบประกาศนียบัตรจากทางจังหวัด โดยผู้ที่อยู่ในงานจะได้ร่วมลุ้นกันอย่างสนุกสนานแน่นอน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |