17 พ.ย.61- พญ.ชัญวลี ศรีสุโข สูตินรีแพทย์ ประจำโรงพยาบาลพิจิตร และโฆษกแพทยสภา กล่าวถึงขั้นตอนการสอบสวนหากมีกรณีร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมแพทย์และมีผลกระทบต่อคนไข้ว่า ว่า หากมีการเผยแพร่ข่าวทางโซเชียลมิเดียในเรื่องที่กระทบกับจริยธรรมแพทย์ ก็สามารถร้องเรียนเข้ามาที่แพทยสภาได้ โดยมี 2 แบบ คือ 1.เลขาธิการแพทยสภาตรวจสอบจากสื่อ ว่าแพทย์เข้าข่ายผิดจริยธรรม รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น เสนอกรรมการแพทยสภา สอบจริยธรรม แพทย์ 2. ตัวบุคคลหรือเจ้าทุกข์หรือตัวแทนหน่วยงาน เช่น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส. )สามารถร้องเรียนเข้ามาเอง เมื่อทางเลขาแพทยสภาฯ รับเรื่องสามารถตั้งกรรมการสอบได้ ทั้งนี้หากมีการตั้งกรรมการสอบแล้วเพื่อความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่ายจะมีการเชิญทั้งคู่มาให้ข้อมูล โดยสามารถมาให้ข้อมูลเองหรือส่งเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ซึ่งเป็นในรูปแบบต่างฝ่ายต่างมาให้ข้อมูลก่อนรวบรวมอีกครั้ง ไม่มีการเผชิญหน้ากันแต่อย่างใด
พญ.ชัญวลี กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามแพทยสภาก่อตั้งมา 50 ปี ดังนั้นจึงมีขั้นตอนที่รัดกุมในการตรวจสอบ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.การตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมขึ้นมาตรวจสอบว่ามีมูลหรือไม่มีมูล 2.หากพบว่ามีมูลก็จะส่งต่อไปที่คณะกรรมการกลั่นกรองจริยธรรม และ คณะกรรมการแพทยสภาเพื่อให้ทำการตรวจสอบ 3.หากพบว่ามีความผิดจริงก็จะส่งเรื่องไปที่คณะอนุกรรมการสอบสวนจริยธรรมเพื่อตัดสินลงโทษ โดยโทษมีตั้งแต่เบาสุดไปหนักสุด คือไม่เอาเรื่อง ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใบประกอบ และยึดใบประกอบวิชาชีพ 4. เมื่อคณะอนุกรรมการสอบสวนฯ ตัดสินแล้วส่งเรื่องกลับมาที่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ และ คณะกรรมการแพทยสภาว่าเห็นด้วยกับบทลงโทษหรือไม่ และ 5.หากเห็นด้วยกับคำตัดสินก็จะมีการแจ้งไปที่นายกสภาพิเศษให้รับทราบและดำเนินการแจ้งเจ้าตัวหรือหน่วยงานเพื่อให้รับทราบ ซึ่งทุกขั้นตอนจะพยายามให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี อย่างไรก็ตามหากเป็นกรณีที่มีความรุนแรง สะเทือนขวัญก็อาจมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนจริยธรรมชุดพิเศษเพื่อให้การพิจารณาเร็วขึ้นได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |