“สมคิด” จ่อล้วงเงิน ตลท. ตั้งกองทุน-เปิดกระดานเทรดสตาร์ทอัพ


เพิ่มเพื่อน    

 

“สมคิด” จ่อล้วงเงิน ตลท. ตั้งกองทุนอุ้มธุรกิจสตาร์ทอัพ พร้อมเล็งเปิดกระดานเทรด เสริมแหล่งลงทุนธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์  รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในงาน GSB SMART SME SMART STARTUP 2018  จัดโดยธนาคารออมสินว่า จุดเริ่มต้นของสตาร์ทอัพ คือต้องการแหล่งเงินทุน จึงได้หารือกับ นายภากร ปีตธวัชชัย  กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  (ตลท.) ขอให้พิจารณาเรื่องการนำเงินจากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) มาตั้งเป็นกองทุนเพื่อร่วมทุนในสตาร์ทอัพ และขอให้ทาง  ตลท. เร่งศึกษาเรื่องการจัดตั้งกระดานซื้อขายหุ้นของกลุ่มธุรกิจสตาร์ตอัพ ( New Platform) เป็นกระดานเฉพาะแยกออกมาต่างหาก แยกออกจากตลาดหลักทรัพย์ (SET) และตลาดเอ็มเอไอ (MAI) แต่ยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ตลท.เนื่องจากธุรกิจสตาร์ทอัพ มีความอ่อนไหว ยังไม่สามารถไปทำการซื้อขายรวมกับตลาดเอ็มเอไอได้

"ได้คุยกับผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ขอให้เอาเงินกองทุนของตลาดมาทำเป็นแองเจิ้ลสตาร์ทอัพ มีมากน้อยแค่ไหนก็ขอให้มาช่วย เพราะสตาร์ทอัพมีทั้งที่ทำเป็นรูปแบบธุรกิจ และพวกที่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ พอเริ่มต้นธุรกิจขายได้ 2 - 3 ปี ก็อยากให้มีแพลตฟอร์ม หรือ กระดานเทรดหุ้นสตาร์ทอัพแยกออกมาโดยเฉพาะอีกกระดานหนึ่งเลย" นายสมคิด กล่าว

นายสมคิด กล่าวอีกว่า รัฐบาลได้ใช้สถาบันการเงินเฉพาะกิจในการขับเคลื่อนนโยบายเรื่องสตาร์ทอัพ ไม่ว่าจะเป็น บมจ. ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ก็ให้ระดมเงินฝากแล้วไปปล่อยกู้ต่อเพื่อช่วยคนทำมาหากิน ช่วยนักศึกษา ให้มีอาชีพตั้งตัวได้ ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้สนับสนุนเกษตรกรขึ้นมาเป็นสตาร์ทอัพ หรือสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของภาคเกษตร 

ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีประชากรอยู่กว่า 70 ล้านคน ดังนั้นโครงสร้างเศรษฐกิจส่วนใหญ่จึงเห็นบริษัทขนาดใหญ่แข็งกันกันเพียงไม่กี่บริษัท ที่เหลือก็จะเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ยังมีความอ่อนแอ และด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่เป็นภาคเกษตร ทำให้ไม่มีช่องทางในการทำมาหากินอื่น ๆ ซึ่งเปรียบเหมือนป่าที่มีต้นไม้ใหญ่เพียงไม่กี่ต้น ที่เหลือเป็นต้นไม้เล็ก ๆ ที่ไม่แข็งแรง โครงสร้างเศรษฐกิจแบบนี้อาจไม่มีความยั่งยืน โดยสิ่งที่รัฐบาลพยายามผลักดันคือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัด ถ้าเราปรับได้เราก็สามารถเติบโตต่อไปได้ และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้เกิดการจ้างงาน การค้าขายเป็นจำนวนมาก การผลักดันในส่วนนี้จะทำให้เราหลุดจากการเติบโตแบบดั้งเดิมที่เคยเป็นอยู่ และประเทศไทยมีอะไรหลายอย่างที่ได้เปรียบ ทั้งภาคการท่องเที่ยวและภาคเกษตรที่สามารถผลักดันได้

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากกว่า 3 ล้านราย ส่งผลให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 10 ล้านคน ถือเป็นห่วงโซ่การผลิตที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ดังนั้นการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำโดยเฉพาะกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพจะเป็นตัวปูพื้นฐานให้ธุรกิจมีความมั่นคงคาดว่าอีก 4 - 5 ปีข้างหน้าจะเป็นโอกาสของธุรกิจไทย
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"