169เสียงฝักถั่ว'เอกฉันท์' คลอดกฎหมายภาษีที่ดิน


เพิ่มเพื่อน    

 คลอดเสียที! สนช.ผ่าน กม.ภาษีที่ดินแล้ว  ด้วยมติเอกฉันท์ 169 เสียง หลังใช้เวลาพิจารณานานกว่า 1 ปี 7 เดือน มีผลบังคับใช้ ม.ค.2563 บทเฉพาะกาล 3 ปีแรกยกเว้นให้เกษตรกร บ้าน-เรือกสวนไร่นามูลค่าไม่เกิน 50 ล้านไม่ต้องเสีย 

          เมื่อเวลา 10.20 น. วันที่ 16 พ.ย.61 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.... ต่อเนื่องในวาระสอง และวาระสาม หลังจากที่วันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ประชุมได้ผ่านวาระพิจารณารายละเอียดรายมาตราตามที่กรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่มีนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน กมธ.ไปแล้ว
          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ที่ประชุมลงมติเป็นรายมาตรา และอภิปรายกันเพิ่มเติมในบางประเด็น เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ที่ประชุมได้ลงมติวาระสาม โดยที่ประชุมเสียงเอกฉันท์ 169 เสียง เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.... ใช้เป็นกฎหมายต่อไป
          เนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.... ที่ผ่านการเห็นชอบของ สนช. มีสาระสำคัญเพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินและกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ จำนวน 12 ฉบับ ให้รวมเป็นฉบับเดียว เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
          โดยการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ตามอัตราจัดเก็บภาษีที่คณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัดกำหนด แต่หากมีปัญหา หรือต้องหาคำแนะนำ กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานเป็นผู้ดำเนินการ ร่างกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเภ็บภาษีที่สำคัญคือ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกอบด้วย 1.ด้านเกษตรกรรม เก็บภาษีไม่เกิน 0.15 เปอร์เซ็นต์ของฐานภาษีที่คำนวณได้จากราคาประเมิน
          2.ที่อยู่อาศัย เก็บภาษีไม่เกิน 0.3 เปอร์เซ็นต์ของฐานภาษี ทั้งนี้ ร่างกฎหมายกำหนดบทยกเว้นมูลค่าฐานภาษีที่ 50 ล้านบาท โดยไม่ให้นำมาคำนวณการเก็บภาษี กรณีที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน, และยกเว้นมูลค่า ฐานภาษีที่ 10 ล้านบาท กรณีเป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน
          3.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่น นอกจากทำเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย ให้เก็บภาษีไม่เกิน 1.2 เปอร์เซ็นต์ และ 4.ที่ดินว่างเปล่า เก็บไม่เกิน 1.2เปอร์เซ็นต์ของฐานภาษี ทั้งนี้ หากมีที่ดินว่างเปล่าไม่ใช้ประโยชน์ติดต่อกัน 3 ปี ให้เก็บภาษีในอัตรา 0.3เปอร์เซ็นต์ ในปีที่สี่ และหากพบว่าไม่มีการใช้ประโยชน์ติดต่อกัน ให้เพิ่มอัตราเก็บภาษี 0.3 เปอร์เซ็นต์ทุกๆ 3 ปี แต่รวมอัตราเก็บไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ร่างกฎหมายยกเว้นการเก็บภาษีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหากมีมูลค่าของฐานภาษีรวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาท
          สำหรับการชำระภาษี กำหนดให้บุคคลชำระภาษีภายในเดือนพฤษภาคมของทุกปี และหากไม่ชำระตามเวลาต้องเสียค่าปรับจำนวน 40 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ และหากไม่ชำระค่าภาษีค้างตามเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือนของภาษีที่ค้างชำระ และให้ปัดเศษของเดือนเป็น 1 เดือน
          อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายยังกำหนดบทว่าด้วยการคัดค้านและอุทธรณ์การประเมินภาษี เพื่อรับเรื่องพิจารณาข้อร้องเรียนจากผู้ที่เรียกเก็บภาษีที่ไม่ถูกต้องด้วย อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายกำหนดบทลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ ประเมินและจัดเก็บภาษี โดยมีโทษทั้งจำคุกและปรับ
          ขณะที่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยกเว้นจัดเก็บภาษี ได้แก่ ทรัพย์สินของรัฐหรือหน่วยงานรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐ หรือกิจการสาธารณะ ที่ไม่ใช้เพื่อหาผลประโยชน์, ทรัพย์สินขององค์การสหประชาชาติ,ทรัพย์สินของสถานทูต หรือสถานกงสุล, สภากาชาดไทย, ที่ดินศาสนสมบัติที่ไม่ได้ใช้เพื่อหาผลประโยชน์, สุสานสาธารณะ, มูลนิธิหรือองค์การกุศลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด, ที่ดินเอกชนที่ยอมให้ราชการใช้เพื่อสาธารณประโยชน์, ทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุด, ที่ดินสาธารณูปโภคว่าด้วยกฎหมายจัดสรรที่ดิน, ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม
          ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในบทเฉพาะกาล ระบุข้อยกเว้นใน 2 ปีแรก ให้ใช้อัตราเก็บภาษีที่ต่ำกว่าบทหลักกำหนด อาทิ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ในเกษตรกรรม มูลค่าที่ดินตามการประเมินภาษีไม่เกิน 75 ล้านบาท เก็บภาษี 0.01 เปอร์เซ็นต์, มูลค่าที่ดินตามการประเมินภาษีดินไม่เกิน 70 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท เก็บภาษี 0.03, สิ่งปลูกสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย มูลค่าไม่เกิน 25 ล้านบาท ให้เก็บอัตรา 0.03, มูลค่าเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป เก็บ 0.01 เปอร์เซ็นต์
         นอกจากนั้นยังมีบทบรรเทาการชำระภาษีอัตราใหม่ที่สูงกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระในปีก่อนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ ให้ผู้เสียภาษีชำระภาษีตามจำนวนที่ต้องเสียหรือพึงชำระปีก่อน ดังนี้ ปีที่ 1 ชำระภาษี 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนภาษีที่เหลือ, ปีที่ 2 ชำระภาษี 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนภาษีที่เหลือ, และปีที่ 3 ชำระภาษี 75 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนภาษีที่เหลือ 
    ใน 3 ปีแรกของการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายฉบับนี้ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีแก่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรม
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่ประชุมสนช.รับหลักการในวาระ 1 เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2560 จากนั้นได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา 1 ชุด ซึ่งระหว่างนั้นได้ขอขยายระยะเวลาการพิจารณา จำนวน 9 ครั้ง โดยล่าสุดคือเมื่อวันที่ 20 ก.ย.2561 จากนั้นร่าง พ.ร.บ.ได้กลับเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมใหญ่ สนช.อีกครั้ง ในวาระ 2 และวาระ 3 เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561 ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 19 เดือน หรือ 1 ปี 7 เดือน 16 วัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"