"สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง"


เพิ่มเพื่อน    

(ชมการแสดงวัฒนธรรมเล่าเรื่องเมืองสุโขทัย)

    "วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง" อีกไม่กี่วันเราก็จะได้ยินเพลงนี้อีกครั้งในวันลอยกระทงที่กำลังจะมาถึงในคืนวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งเป็นเดือนสิบสองตามนักษัตรไทย
    งานลอยกระทงที่ว่ากันว่าสืบทอดหลายร้อยปี มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ถือว่าเป็นงานประเพณีที่สำคัญของคนไทย เพราะมีทั้งความรื่นเริงและความเชื่อในงาน ทำให้ทุกๆ จังหวัดของประเทศพากันจัดงานลอยกระทงอย่างยิ่งใหญ่ นำเอกลักษณ์ของท้องถิ่นตนมาโชว์อย่างเต็มที่ สำหรับในปีนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ก็ได้จัดงาน “สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง” ขึ้นใน 9 พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ สมุทรสงคราม เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก ราชบุรี ลำปาง พระนครศรีอยุธยา ร้อยเอ็ด ซึ่งต้องบอกว่าแต่ละสถานที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันมากๆ

(กระทงสายที่ทำจากกะลา ของเมืองตาก)

    เริ่มตั้งแต่ในกรุงเทพฯ ใครที่อยากจะไปดื่มด่ำบรรยากาศลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับชมความงดงามของห้างใหม่ ไอคอนสยาม ก็มีงาน Chao Phraya River of Live ระหว่างวันที่ 19-22 พ.ย. ให้ชม งานนี้น่าจะเป็นงานใหญ่ จัดเป็นครั้งแรกขึ้นที่ห้างเลยก็ว่าได้ เชื่อว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาร่วมงานไม่น้อย กิจกรรมหลักๆ ในงานมีการทำกระทง ปั้นกระทงจิ๋ว เพนต์กระทงกะลามะพร้าว นิทรรศการกระทง แล้วก็การแสดงวัฒนธรรม นอกจากนี้ก็จะมีงาน River Festival 2018 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทยครั้งที่ 4 “สุข แสง ศิลป์” ตั้งแต่วันที่ 22-24 พ.ย. จัดใน 8 สถานที่ ไม่ว่าจะเป็นท่ามหาราช, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร, วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร, วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร, วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร, ยอดพิมาน, ริเวอร์ วอล์ค, ล้ง 1919 เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ ไฮไลต์ของงานส่วนใหญ่เป็นการแสดงทางวัฒนธรรมร่วมสมัย กิจกรรมสาธิต ร้านค้าชุมชน
    งานเดียวที่นักท่องเที่ยวจะได้ไหว้พระทำบุญ และชมความงดงามของสายน้ำยามค่ำคืน เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย โดยเน้นในด้านศิลปวัฒนธรรม และประเพณีไทยที่เป็นเอกลักษณ์ ตอกย้ำแนวคิดและบอกเล่าความเป็นไทยไปทั่วโลก

(ลอยกระทงกาบกล้วยเมืองแม่กลอง รักษาสิ่งแวดล้อม)

    แต่สำหรับใครที่ไม่ชอบบรรยากาศในเมืองกรุงก็มีสถานที่อื่นๆ ที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ที่จะจัดยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน ก็มีที่ สมุทรสงคราม ที่วัดภุมรินทร์กุฎีทอง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตรงปากคลองประชาชื่นฝั่งตะวันตก จัดงาน “ลอยกระทงกาบกล้วยเมืองแม่กลอง” สืบสานประเพณีลอยกระทงกาบกล้วยที่ถือปฏิบัติกันมาต่อเนื่อง รักษาสิ่งแวดล้อม เพราะใช้กาบกล้วยเป็นกระทง หรือนำไปแกะสลักตกแต่งให้สวยงามขึ้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับฝีมือของแต่ละคน การลอยกาบกล้วยที่นี่คือไฮไลต์หลักที่ต้องไปชมให้ได้ คาดว่าจะมีกระทงกาบกล้วยในแม่น้ำแม่กลองจำนวน 400,000 ใบพร้อมๆ กันอย่างสว่างไสว พร้อมด้วยการปล่อยเรือไฟล่อจำนวน 12 ลำ ในวันที่ 22 พ.ย. พร้อมด้วยขบวนฟ้อนรำรับขบวนอัญเชิญพระประทีปพระราชทาน ขบวนนพมาศ ขบวนกระทงที่จะผ่านเส้นทางตลอดแม่กลอง มาสิ้นสุดที่วัดภุมรินทร์กุฎีทอง
    ไม่ไกลจากสมุทรสงคราม ที่ จ.ราชบุรี อ.โพธาราม ก็มีการจัดที่ยิ่งใหญ่ด้วย ในวันที่ 22-24 พ.ย. บริเวณวัดไทรอารีรักษ์ มีงานเทศกาลลอยกระทงสีในแบบภูมิปัญญาของชาวมอญลุ่มน้ำแม่กลอง ลอยกระทงสีก็คือการทำกระทงจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่าย ไม่ว่าจะใช้วัสดุอะไรก็ตามต้องคำนึงถึงธรรมชาติ แล้วยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีก เช่น จุดประทีปรอบโบสถ์ ตามประทีปรอบวิหาร ปิดทองรอยพระพุทธบาท บูชาพระบรมสารีริกธาตุบนเจดีย์จำลอง ลอดโคม 12 นักษัตร ถวายพวงมโหตร ต้นโพธิ์ และร่วมพิธีลอยเคราะห์แบบมอญ

(สีสันงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ สุโขทัย)

    มาฝั่งทางที่จะขึ้นไปเหนือบ้าง จ.สุโขทัย ก็เป็นอีกหนึ่งแห่งที่มีชื่อเสียงเรื่องงานลอยกระทง และเป็นจังหวัดที่ใครๆ ก็ยกว่าเป็นต้นตำรับประเพณีลอยกระทง โดยเฉพาะงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ที่จัดขึ้นอย่างอลังการทุกๆ ปี มาปีนี้จัดยิ่งใหญ่กว่าเดิมอีก จากเดิมที่เคยจัด 5 วัน ปีนี้จัดถึง 10 วันรวด ตั้งแต่วันที่ 16-25 พ.ย. ททท.สุโขทัยกระซิบมาว่า ได้ตกแต่งสถานที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยด้วยตะคันไฟกว่า 3,000 ดวง แล้วก็มีโคมชัก โคมแขวน ฝีมือของชาวสุโขทัย ไฮไลต์อยู่ที่การเล่นแสงสี เผาเทียน เล่นไฟ พลุตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้ไฟต่างๆ และเพื่อให้สมกับเป็นเมืองเก่า ชาวสุโขทัยยังจำลองตลาดย้อนยุค ตลาดแลกเบี้ย พร้อมทั้งมีจุดเช่าชุดไทยเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสบรรยากาศความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรสุโขทัยในอดีต และบันทึกภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก

(งดงามกับแสง “ต๋ามผางปะตี๊ด” ที่เชียงใหม่)

    ถ้าขึ้นไปสุดเหนือที่ เชียงใหม่ คงไม่ต้องอธิบายว่าจะสวยงามขนาดไหน เพราะลอยกระทงทุกปี เชียงใหม่ไม่เคยทำให้นักท่องเที่ยวผิดหวังอยู่แล้ว "ประเพณียี่เป็ง" เชียงใหม่ จะจัดในวันที่ 20-23 พ.ย. บริเวณช่วงประตูท่าแพและพื้นที่โดยรอบ ถ้าไปจะได้เห็นกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาอย่าง “ต๋ามผางปะตี๊ดส่องฟ้าฮักษาเมือง” ที่ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อาจจะงงว่าคืออะไร จริงๆ ก็คือการลอยกระทงอีกรูปแบบหนึ่งแหละ ต๋ามผางปะตี๊ด หมายถึง ถ้วยดินเผาขนาดเล็กใส่น้ำมันมะพร้าว มีใส้เทียนเป็นรูปตีนกา ถ้านึกไม่ออกให้นึกภาพถ้วยเทียนเล็กๆ ที่เรานิยมนำไปจุดไฟลอยน้ำตอนไปทำบุญที่วัด และได้ยินมาว่าทั่วบริเวณจัดงานจะมีโคมไฟสีสันยี่เป็งหลากหลายทรง ทั้งแบบทรงกระบอก ทรงโคมไฟลวดลายแบบล้านนา ถ้าอยากรู้ว่าสวยงามขนาดไหนก็ต้องไปดูสถานที่จริง และใกล้ๆ กับเชียงใหม่ ที่ ลำปาง ในช่วงวันเดียวกัน จะมีงาน "สะเปาจาวละกอน" ซึ่สะเปาเป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึง “เรือสำเภา” หรือกระทงเป็นรูปเรือสำเภา ทำด้วยกาบกล้วย มะละกอ ไม้ไผ่ หรือกระดาษแก้วใส มาประดิษฐ์ตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้ แล้วก็ยังมีความเชื่อว่าการล่องสะเปาจะเป็นการทำทานแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

(บรรยากาศลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวงปีที่ผ่านมา)

    จ.ตาก ก็ไม่น้อยหน้า "งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวง" ก็ขึ้นชื่อมานานแล้ว ปีนี้จัดริมสายธารลานกระทงสาย เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ซึ่งกระทงสายไหลของที่นี่ไม่เหมือนใคร ส่วนใหญ่ทำมาจากกะลา ตกแต่งสวยงาม และนำไปลอยให้ไหลไปตามๆ กัน ถ้าได้ไปลอยที่นี่ เขาจะมีการสอนวิธีรับแรงลมของกะลาด้วยว่าทำยังไงให้กระทงไหลไปตามๆ กัน ไม่คว่ำ เช่นเดียวกับที่อยุธยา มีงานลอยกระทงอยู่สองแห่งที่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ กับกรุงเก่า ตรงอนุสาวรีย์พระนเรศวรมหาราช ทุ่งภูเขาทอง

(ครึกครื้นกับงานสมมาน้ำ คืนเพ็ง เส็งประทีป ที่ร้อยเอ็ด)

    และทางฝั่งภาคอีสาน ที่ร้อยเอ็ดก็มีงานสมมาน้ำ คืนเพ็ง เส็งประทีป ที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์และบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่ 22 พ.ย. กิจกรรมของที่นี่ประกอบด้วย พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง การประกวดกระทงประทีปใหญ่ การประกวดกระทงอนุรักษ์ธรรมชาติ การประกวดรำวงสมมาน้ำ คืนเพ็ง เส็งประทีป 2,500 คู่ มีประกวดธิดาสาเกตนคร และขบวนจำลองเหตุการณ์ขบวนแห่กระทงเมืองสาเกตนครจาก 11 หัวเมืองหลักของร้อยเอ็ด เป็นต้น

(กระทงเทียนที่จุฬาฯ)

    ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ อีกแห่งที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบกับบรรยากาศงานลอยกระทงที่สระน้ำจุฬาฯ ที่จัดมายาวนานกว่า 54 ปี ในงาน ลอยกระทงเทียน ซึ่งเริ่มเป็นครั้งแรกในงานลอยกระทงเมื่อปีที่แล้ว และจัดต่อเนื่องในปีนี้ เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดขยะ ในงานยังมีขบวนแห่นางนพมาศ การแสดงของนิสิตจากชมรมต่างๆ ทางด้านศิลปวัฒนธรรม การออกร้านขายอาหารและของที่ระลึกต่างๆ ในบรรยากาศย้อนยุค ในคืนวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2561 ตั้งแต่เวลา 17.00-21.00 น. ณ บริเวณสระน้ำจุฬาฯ และสนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล

(ลอยกระทงกับนางนพมาศที่สวนสามพราน)

    เขยิบออกไปนอกเมืองอีกแห่ง ที่ สวนสามพราน จ.นครปฐม ชวนคนกรุงมาร่วมงานลอยกระทงด้วยกระทงรักษ์โลกจากวัสดุธรรมชาติแบบ Eco Eco ในบรรยากาศย้อนยุคสุดคลาสสิกให้หวนคิดถึงวันวาน อบอุ่นในวิถีไทย โดยเนรมิตสนามหญ้าบริเวณลานน้ำพุติดกับริมแม่น้ำท่าจีนมาจำลองมาในรูปแบบงานวัดประยุกต์ และเวลา 20.30 น. พบกับไฮไลต์ ชมความงดงามตระการตาของขบวนแห่นางนพมาศ ปิดท้ายกิจกรรมในค่ำคืนวันลอยกระทง ขอขมาพระแม่คงคาร่วมกับนางนพมาศ ณ ริมแม่น้ำท่าจีน ใต้เงาจันทร์ในคืนวันเพ็ญ ฟังดนตรีในสวน เกม การละเล่นต่างๆ ร้านจำหน่ายอาหารฝีมือระดับเชฟของโรงแรมสวนสามพรานและร้านค้าในตลาดสุขใจ ได้ตั้งแต่เวลา 16.00-22.00 น. ส่วนบัตรผ่านประตู ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ FB: SampranRiverside หรือโทร. 0-3432-2588-93.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"