15 พ.ย.61 - ที่คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนวังจันทน์ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ พร้อมด้วย นายรังสิมันต์ โรม เครือข่ายเยาวชน (NGN) และผู้ลงสมัครแข่งขันไพรมารีโหวตแบบบัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ ร่วมเสวนาในหัวข้อ "บทบาทครูยุคใหม่กับการสร้างสังคมประชาธิปไตย"
นายปิยบุตร กล่าวว่า วัฒนธรรมอำนาจนิยมในระบบการศึกษาเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับสังคมไทย และแทบจะเป็นประสบการณ์ร่วมของทุกคนว่า ต้องผ่านอะไรที่เลวร้ายในโรงเรียน เช่น ถูกครูตี ซึ่งเป็นเรื่องอำนาจอย่างหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ยังมีอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมที่ซ่อนอยู่ในหลักสูตร แบบเรียน พจนานุกรม หรือแม้แต่ดิกชันนารี มองการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยในแง่ลบอยู่เยอะมาก แบบเรียนของไทยเชิดชูระบอบอำนาจนิยม ขณะที่เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยอย่าง 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แทบไม่มีการพูดถึง เราใช้อำนาจนิยมนี้ในโรงเรียน หล่อหลอมให้คนเป็นเหมือนกันหมด ทั้งชุดนักศึกษา ตัดผม หรือแม้พิธีกรรมต่างๆ สังคมไทยทำให้คนเชื่อฟังโดยการใช้อำนาจ ไม่ค่อยได้ใช้เหตุผล
"ระบบวัฒนธรรมอำนาจนิยม คนที่อยู่ในระบบมักไม่ค่อยกล้าต่อต้าน เพราะมีราคาที่ต้องจ่ายเสมอ นักเรียนที่ตั้งคำถามกับครู ถูกมองว่าดื้อ ไม่เชื่อฟัง คะแนนจิตพิสัยอาจจะถูกหัก เป็นต้น แต่สำหรับผม ราคาที่ต้องจ่ายในการต่อต้านนี้ คือ สิ่งที่เป็นคุณค่าพื้นฐานสำคัญของชีวิต ถ้าในโลกนี้ทุกคนพูดคำว่า ใช่ เหมือนกันทั้งหมด ศิลปวิทยาการความก้าวหน้าต่างๆ คงไม่เกิด โลกนี้ก้าวหน้าได้เพราะมีคนกล้าพูดคำว่า ไม่ เช่น กาลิเลโอ ที่ท้าทายศาสนจักรที่มีอำนาจอย่างมากในตอนนั้น โดยกล้าบอกว่า โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล หรือ กรณีแบ่งแยกสีผิว แบ่งฝั่งคนนั่งรถเมล์ในอเมริกาเมื่อก่อน ผู้หญิงผิวสีคนหนึ่งไปนั่งฝั่งคนขาวแล้วถูกโวยวายไล่ให้ลุก แต่เธอบอกว่า ไม่ เรื่องนี้จึงเป็นประเด็น และที่สุดความเท่าเทียมจึงเกิดขึ้น ผมยืนยันว่า ในวัยรุ่นคนหนุ่มสาว เราต้องหล่อเลี้ยงความเป็นขบถ ซึ่งความเป็นขบถนี้ไม่ได้ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย แต่ทำให้สังคมก้าวหน้า ถ้าเราไม่เริ่มต้นตั้งคำถามกับระบบ ทุกอย่างก็จะยังคงอยู่แบบเดิมต่อไป" นายปิยบุตร กล่าว
ด้าน นายรังสิมันต์ กล่าวว่า เราทุกคนคือเหยื่อของระบบการศึกษาไทย ที่บังคับและทำทุกอย่างเพื่อให้ทุกคนต้องเหมือนกัน เรื่องนี้จะแก้ไขได้ สังคมไทยต้องเป็นสังคมประชาธิปไตย เพราะเรื่องอำนาจนิยมในระบบการศึกษา มีรากฐานมาจากความไม่เป็นประชาธิปไตย วัฒนธรรมแบบนี้ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย เช่น เวลาเราถูกครูตีจะรู้สึกว่าไม่แปลก เพราะเราถูกตีมาแล้วจากครอบครัว ระบอบอำนาจนิยมอยู่กับเรามานาน จนเราคิดว่าเป็นเรื่องปกติ
สำหรับคนที่เป็นครู สิ่งสำคัญที่สุดในวันนี้ไม่ใช่เรื่องการควบคุม บังคับเด็ก แต่ครูต้องคิดภาพให้ออกว่า เด็กแบบไหนจะเหมาะสมกับสังคมประชาธิปไตย แล้วมอบสิ่งนั้นให้กับเด็ก ไม่ใช่การผลิตซ้ำอำนาจนิยมอย่างที่เราเคยได้รับมา เพราะไม่เช่นนั้น การที่เด็กทุกคนเป็นเหยื่อก็จะดำเนินต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |