การเลือกตั้งงวดนี้ ตัวเลขของผู้มีสิทธิ์เข้าคูหาครั้งแรก “First Vote” มีถึง 7 ล้านเสียง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ดังนั้นแต่ละพรรคการเมืองจึงให้ความสำคัญ และดึงคนรุ่นใหม่ อีกทั้งเปิดโอกาสให้มีพื้นที่ทำงานในพรรค เพื่อตอบโจทย์กลุ่ม “First Vote” สำหรับวันนี้จะไปทำความรู้จักกับ “เพชร” เพชรชมพู กิจบูรณะ โฆษกพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ซึ่งมีสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรค และมี ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เป็นหัวหน้าพรรค
“เพชร” เป็นหนึ่งวัยรุ่นที่น่าสนับสนุนให้ก้าวสู่เวทีการเมืองระดับประเทศ หากเป็นภาษาวัยรุ่นเรียกว่าเป็นบุคคลที่ "มีของ" และพร้อม "ปล่อยของ" สแกนจากประวัติการศึกษาถือว่าโปร์ไฟล์ดี โดยเธอเล่าว่าศึกษาในประเทศไทยจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากนั้นเมื่ออายุ 13 ปีก็ไปเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3-4 ที่ประเทศสิงคโปร์ ส่วนมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 หรือก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ศึกษาที่ประเทศอังกฤษ
ส่วนในระดับมหาวิทยาลัย ปริญญาจบทั้งสิ้น 3 ใบ จากคณะปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดอแรม 1 ใบ และอีก 2 ใบจากมหาวิทยาลัยบีพีพี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สอนเกี่ยวกับด้านกฎหมายโดยเฉพาะ
เธอขยายความว่า มหาวิทยาลัยบีพีพีนั้น เวลาพวกบริษัทกฎหมายที่อังกฤษ หากอยากให้นักเรียนมาเรียนรู้ด้านการปฏิบัติลงมือทำจริงจะส่งเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ได้ปริญญาตรีกฎหมายมา 1 ใบ ทั้งนี้ ปริญญาตรีด้านกฎหมายใบแรกเป็นการเรียนเกี่ยวกับกฎหมายอาญา รัฐธรรมนูญ ส่วนใบที่สองเรียนเป็นเนติบัณฑิตที่อังกฤษ เพื่อทำงานให้กับบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
ก้าวแรก..สู่การเมือง
เพชรชมพูเล่าถึงเส้นทางการเมือง โดยเท้าความตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ประเทศอังกฤษ ในช่วงปิดเทอมใหญ่ก็กลับมาประเทศไทยและได้เข้าร่วมกับโครงการยุวประชาธิปัตย์ ซึ่งตอนนั้นคือรุ่นที่ 15 ซึ่งเวทีแรกที่ขึ้นไปเสนอความคิดเห็น คือเวทีผ่าความจริงของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเวทีก่อนที่ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะเข้าสภา ตอนนั้นแสดงความคิดเห็นในฐานะเยาวชน ว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ถูกต้องที่จะล้างความผิดในคดีอาญา คดีคอร์รัปชัน
เพชรกล่าวอีกว่า ส่วนเวที กปปส.ขึ้นครั้งแรกที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน ซึ่งเป็นช่วงปิดเทอม คริสต์มาส ตอนปี 1 กลับมาไทยได้ 3-4 อาทิตย์ โดยมีพี่ที่เคยทำเวทีผ่าความจริงมาชักชวนว่าสนใจไปแสดงความคิดเห็นที่เวที กปปส.หรือเปล่า ซึ่งจำได้ว่าตอนนั้นตื่นเต้นมาก
กระทั่งเมื่อตุลาคม 2560 ตนจบการศึกษาในเดือนพฤศจิกายนก็มาช่วยงาน “สุเทพ” ที่วิทยาลัยภาวนาโพธิคุณ ด้านสัญญาว่าจ้างครูต่างชาติ เพราะจบมาด้านนี้โดยเฉพาะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสัญญา กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายการซื้อขายหุ้นส่วน กฎหมายเกี่ยวกับการเทกโอเวอร์บริษัท
วางแผนอนาคตการเมือง
ตนและหลายคนในพรรคต้องการทำพรรคที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมาหลายพรรคมักอ้างว่าทำการเมืองเพื่อประชาชน แต่ยังไม่เห็นสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริง เวลาตัดสินใจในเรื่องต่างๆ มักจะเป็นคณะกรรมการบริหาร(กก.บห.) หรือผู้บริหารทั้งนั้น ยังไม่มีพรรคไหนที่ประชาชนสั่งหมด ดังนั้น เราจึงต้องเปลี่ยนความคิดให้ประชาชนเป็นคนสั่ง เพราะเขาคือเจ้าของพรรค ในฐานะคนทำการเมืองต้องทำความหวัง ทำความฝันของประชาชนให้เป็นจริง และให้ใช้เราเป็นเครื่องมือผ่านการเป็นตัวแทนของประชาชนในสภา เพื่อผลักดันนโยบายที่อยากได้ให้สำเร็จ ดังนั้น หากถามว่าวางแผนอนาคตการเมืองอย่างไร ขั้นแรกตอบว่า อยากให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
“ไม่มีความจำเป็นที่เราต้องเป็น ส.ส. หรือได้รับตำแหน่ง หากมีใครที่มีศักยภาพมากกว่าเรา และเสนอตัวเข้ามา เราพร้อมเปิดทางให้เขา เพราะนี่คือสิ่งที่เราสร้างเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสทำงานการเมือง ไม่ได้พุ่งเป้าต้องเป็นส.ส. อย่างไรก็ตาม หากสมาชิกพรรคเลือกให้เพชรไปทำหน้าในสภา เพชรก็พร้อมทำ”
จุดยืนที่มีต่อพรรคเพื่อไทยและตระกูลชินวัตร
เวลาที่เราขึ้นเวที กปปส.ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเป็นบุคคล แต่วิจารณ์ในส่วนการทำงาน การปฏิบัติหน้าที่ โดยส่วนตัวไม่มีอยู่แล้วที่จะพูดถึงรูปลักษณ์ เพศสภาพ ดังนั้น จุดยืน คือ หากอุดมการณ์เดียวกันมุ่งมั่นปฏิรูปประเทศ 5 ด้านเหมือนกับ รปช. ก็สามารถทำงานด้วยได้ ทั้งนี้ ก็ต้องดูที่การประกาศอุดมการณ์ควบคู่ไปกับการกระทำว่าทำจริงหรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าทำการเมืองเพื่อประชาชน ต้องดูว่าใครเป็นเจ้าของพรรคกันแน่
ชูปฏิรูปการศึกษา
ตนเห็นระบบการศึกษาทั้งของประเทศไทย สิงคโปร์ และอังกฤษ ดังนั้น เรื่องที่ต้องการทำมากที่สุดเมื่อเข้าสู่การเมือง คือ การศึกษา เพราะเป็นรากฐานในการเริ่มต้นชีวิตและเชื่อมโยงสังคม ทั้งการปลูกฝังค่านิยมอันดีตั้งแต่ประถมวัย แก้ไขเรื่องเรียนเพื่อสอบ ซึ่งต้องแก้ไขนักเรียนได้คิดวิเคราะห์แยกแยะให้มากขึ้น อีกทั้งต้องสนับสนุนให้กล้าแสดงออกความคิดเห็นในห้องเรียน ที่สำคัญต้องพัฒนาบุคลากรครู ไม่ให้ครูต้องวุ่นวายกับการประเมินผลเพียงอย่างเดียว ต้องโฟกัสให้ถูกจุด
นอกจากนี้ ต้องแก้ปัญหาที่สังคมมุ่งเน้นแต่ใบปริญญา ลดทอนอาชีวะศึกษา ซึ่งเรายกระดับอาชีวะศึกษา ปัจจุบันหลายสาขาด้านวิชาการไม่ได้สอนให้เป็นมืออาชีพหรือทำงานได้จริง และมีทฤษฎีเต็มไปหมด แต่ในการปฏิบัติงานอาจทำไม่ได้ดีนัก ขณะที่อาชีวศึกษาสามารถสร้างคนให้ทำงานได้เลย ทั้งนี้ สายวิชาการก็สำคัญ เพราะการพัฒนาประเทศต้องการงานวิจัยและองค์ความรู้ แต่หากไม่พัฒนาอาชีวะ ตลาดที่ต้องการแรงงานที่มีความสามารถเฉพาะด้านก็จะขาดคน ดังนั้นต้องพัฒนาคู่กันไป
ไอดอลทางการเมือง
ส่วนตัวมี “มาร์กาเรต แทตเชอร์” นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษ ที่ได้รับฉายาว่าหญิงเหล็ก เป็น ไอดอล เพราะแทตเชอร์มุ่งมั่นทำตามอุดมการณ์ และเขาไม่ย่อท้อในความเป็นผู้หญิงทำการเมือง แทตเชอร์ต้องเปลี่ยนเสียงให้เป็นเสียงทุ้ม เพราะในสมัยนั้นการพูดในสภาบางคนบอกว่าเสียงผู้หญิงเป็นเสียงแหลม น่ารำคาญและไม่น่าเชื่อถือ เธอก็ต้องปรับเปลี่ยนทุกอย่าง
อีกทั้งยังมี “ฮิลลารี คลินตัน” อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐเป็นแบบอย่าง ด้วยความยากของผู้หญิงในการเมือง คลินตันแสดงให้เห็นว่าไม่ได้ให้ความเป็นผู้หญิงหยุดยั้งในการทำงาน สมัยที่คลินตันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ ถูกโจมตีว่าจะทำหน้าที่นี้ได้หรือไม่ เพราะงานด้านความมั่นคงหรือการเงินการคลังเป็นเรื่องของผู้ชาย แต่ที่สุดคลินตันเป็นคนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพว่าผู้หญิงก็ทำหน้าที่ตรงนี้ได้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |