นุจรินทร์-สมเกียรติ ลุ้นชิง'กต.ศาลฎีกา' นับผลสิ้นเดือนพ.ย.


เพิ่มเพื่อน    

    "นุจรินทร์-สมเกียรติ" ลงชิงเลือกตั้ง ก.ต.ศาลฎีกา แทนตำแหน่งว่าง “ชำนาญ” ที่ถูกถอดถอน  ลุ้นนับผลสิ้นเดือนนี้ 
    เมื่อวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานถึงกรณีที่นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ ประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ต.) ในศาลฎีกา จากการลงมติการถอดถอนเมื่อวันที่ 26 ต.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ได้บัญญัติว่า จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งซ่อม ก.ต.ผู้ทรงคุณวุฒิในศาลฎีกาแทนตำแหน่งที่ว่างลง 1  ตำแหน่ง ภายใน 45 วัน เพื่อให้ได้ ก.ต.ครบ 15 คน 
    เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานศาลยุติธรรมได้ประกาศบัญชีรายชื่อและหมายเลขบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกเป็น ก.ต.ผู้ทรงคุณวุฒิในศาลฎีกา จำนวน 116 คน โดยก่อนหน้านี้ สำนักงานศาลยุติธรรมได้จัดส่งแบบแสดงความประสงค์รับเลือกเป็น ก.ต.ในศาลฎีกาทางเว็บไซต์ของสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อให้ข้าราชการที่มีสิทธิในศาลฎีกาแสดงความประสงค์ และให้จัดส่งไปยังสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา ก็ปรากฏว่ารายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็น ก.ต.ศาลฎีกานั้น มีชื่อนายชำนาญ ซึ่งเคยถูกถอดถอนรวมอยู่ด้วย 
    ทั้งนี้ บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็น ก.ต.นั้น มี นางนุจรินทร์ จันทร์พรายศรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง ก.ต.ในชั้นศาลอุทธรณ์มาก่อน สมัยที่ดำรงตำแหน่งประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 และนายสมเกียรติ ตั้งสกุล ผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (อ.ก.ต.) และเป็นหนึ่งใน 6 อ.ก.ต.เสียงข้างน้อยที่โหวตไม่ผ่านคุณสมบัติ นายชำนาญขึ้นเป็นรองประธานศาลฎีกา ซึ่งทั้ง 2 รายได้แสดงความประสงค์ขอรับเลือกเป็น ก.ต.ผู้ทรงคุณวุฒิในศาลฎีกา
    โดยจะสังเกตได้ว่า มีผู้พิพากษาศาลฎีกาบางคนที่มีบัญชีรายชื่อมีสิทธิได้รับเลือก แต่ก็ได้แสดงเจตจำนงที่จะไม่รับเลือกเป็น ก.ต. ส่วนบุคคลที่มีในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกเป็น ก.ต. แม้ไม่ได้แสดงเจตจำนงที่จะขอรับเลือกเป็น ก.ต. ก็ยังมีสิทธิที่จะได้รับเลือกเป็น ก.ต.ได้อยู่
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประวัติผู้ที่เสนอตัวเป็น ก.ต.ในศาลฎีกา 2 รายนั้น คือ นางนุจรินทร์ จันทร์พรายศรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา จบการศึกษานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, เนติบัณทิต รุ่น 33 รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บยส.) รุ่นที่ 8, หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.2550) หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.)  รุ่น 16 วิทยาลัยการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า และสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่น 26 เคยดำรงตำแหน่งที่น่าสนใจ เช่น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเบตง, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง, ผู้พิพากษาศาลฎีกา, ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 และภาค 7 ปัจจุบันเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 
ทั้งเคยดำรงตำแหน่ง อ.ก.ต. ประจำศาลชั้นต้น กรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ศาลชั้นต้น 2 สมัย ชั้นศาลฎีกา 1 สมัย และ ก.ต. ชั้นศาลอุทธรณ์ 
    ส่วนนายสมเกียรติ ตั้งสกุล ผู้พิพากษาศาลฎีกา จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิตไทย เคยดำรงตำแหน่งที่น่าสนใจ เช่น รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้, อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้, ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์ภาค 1 รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 ปัจจุบันเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา โดยมีวิสัยทัศน์สร้างหลักประกันแก่ผู้พิพากษาให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้พิพากษาในทุกชั้นศาลโดยเท่าเทียมกัน
    ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับกำหนดส่งบัตรเลือกตั้ง ก.ต. ถึงสำนักงานศาลยุติธรรมภายในวันที่ 29 พ.ย.นี้  และให้มีการตรวจนับคะแนนในวันที่ 30 พ.ย.นี้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"