ประเด็น "เลื่อน" หรือ "ไม่เลื่อน" เลือกตั้งวันที่ 24 ก.พ.62 กลายเป็นกระแสที่ยังหาข้อสรุป ข้อยุติ ที่ชัดเจน แน่นอนไม่ได้ว่าสุดท้ายแล้วจะออกมาทางไหนกันแน่???
เพราะทั้งรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต่างก็ยังออก
"ลูกกั๊ก"!!!
ตามเงื่อนไขการเลือกตั้ง หลังจาก พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 ธ.ค.นี้ จะต้องมีการออก พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง และ กกต.จะต้องใช้เวลาในการพิจารณาภายใน 5 วัน เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งที่เหมาะสม ซึ่ง กกต.สามารถจัดประชุมได้ทันที แม้ว่าจะมีแค่ 5 คน จาก 7 คนก็ตาม
โดย กกต.จะต้องประเมินก่อนว่า ถ้ารัฐบาลได้ออก พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการเลือกตั้งล่าช้าหรือกระชั้นชิดในช่วงวันที่ 24 ก.พ. กกต.จะไม่สามารถเตรียมงานธุรการเอกสาร การจัดคูหา รวมถึงการเตรียมบัตรเลือกตั้งได้ทัน
ที่สำคัญ "บัตรเลือกตั้ง" ที่ครั้งนี้ใช้เบอร์เดียวเขตเดียว ยิ่งทำให้การพิมพ์ต้องใช้เวลามากขึ้นพอสมควร อีกทั้งในขณะนี้ กกต.ได้จดจัดตั้งไปแล้ว 25 พรรคการเมือง และเหลืออีก 12 พรรคที่ยังต้องรอจดจัดตั้งพรรค ซึ่งจะต้องตรวจสอบเรื่องเอกสารของแต่ละพรรคเป็นจำนวนมาก และยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีอีกหลายพรรคที่ยังไม่ได้มายื่นจดจัดตั้งพรรคกับ กกต.เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การเลือกตั้งอาจจะต้องเลื่อนออกไป ดังนั้นการที่ กกต.รับรองพรรคการเมืองช้า ย่อมกระทบต่อพรรคการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โอกาสที่จะจัดเลือกตั้งไม่ทันวันที่ 24 ก.พ.62 ก็มีเหตุและผลพอสมควร
ยิ่งอีกปัจจัยหนึ่งคือความไม่พร้อมของพรรคการเมืองกับเรื่องการปลดล็อกพรรคการเมือง ที่มีการคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการปลดล็อกในช่วงหลังจาก พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการเลือกตั้งออกมา ซึ่งถ้าออกมาช้าพรรคการเมืองก็จะยิ่งไม่มีเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดตั้งสาขาพรรคที่ต้องเตรียมการเพื่อนำไปสู่การทำไพรมารีโหวตเลือกผู้สมัครลง ส.ส.ในแต่ละพื้นที่
การจัดตั้งสาขาพรรคนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ยิ่งหลายพรรคอยากส่งผู้สมัครลงทั้ง 350 เขต การทำไพรมารีโหวตพรรคการเมืองจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสาขาพรรคหรือการหาสมาชิก ด้วยกติกาแบบนี้พรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กอาจประสบปัญหา ซึ่งสวนทางกับพรรคใหญ่ในปัจจุบันที่ต้องการให้การเลือกตั้งเป็นไปตามกำหนด
แต่ถ้าจะมีการเลื่อนเลือกตั้งจริง ก็จะไม่เกินกรอบของกฎหมายในช่วง 150 วัน คือวันที่ 5 พ.ค.62 เนื่องจากไม่มีเหตุอื่นๆ ด้านกฎหมายที่จะต้องเลื่อนไปอีกปี ซึ่งเหลือแค่ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการเลือกตั้งเพียงกฎหมายเดียว การเลื่อนแม้จะเลื่อนเพียงไม่กี่วัน ก็สามารถส่งแรงกระเพื่อมต่อการเมืองไทยได้ แต่จะเป็นผลดีทำให้พรรคเล็กได้มีเวลาในการจัดการกิจกรรมต่างๆ ของตัวเองได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเลื่อนหรือไม่เลื่อน นอกจากมีผลทางการเมืองแล้ว ในส่วนของภาคประชาชน ก็ส่งผลต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลที่ได้ให้คำสัญญากับประชาชนมาโดยตลอด ซึ่งประชาชนส่วนหนึ่งก็ได้ตั้งหน้าตั้งตารอการเลือกตั้ง และมองรัฐบาลในแง่ลบอีกครั้ง
ฝั่งต่างประเทศเองก็จะมีผลกระทบด้วยเช่นกัน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นด้านการเมืองระหว่างประเทศ เพราะหลายครั้งที่ บิ๊กตู่ ได้เยือนพบผู้นำหลายประเทศ รวมทั้งได้ให้สัญญาเอาว่าจะมีการเลือกตั้งในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งถ้าเลื่อนอาจจะส่งผลในด้านการค้าที่อาจจะถูกกีดกัน การส่งออกได้รับผลกระทบ รวมถึงความเชื่อมั่นการลงทุนของชาวต่างชาติที่เตรียมจะเข้ามาลงทุนก็อาจจะมีการการเลี้ยวกลับเปลี่ยนใจหันไปลงทุนประเทศอื่นแทน
ดังนั้นในการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจกรรมระหว่างพรรคการเมือง กับ คสช.ครั้งที่ 2 ที่คาดว่าจะเป็นช่วงเดือน ธ.ค. อาจจะมีบทสรุปสำคัญว่าจะมีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปหลังวันที่ 24 ก.พ.หรือไม่ แบบห้ามกะพริบตา.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |