(การเอกเซอร์ไซส์ด้วยการฟ้อนรำ จะช่วยฝึกการทรงตัว และป้องกันผู้สูงอายุหกล้มได้รับบาดเจ็บ)
ปัจจุบันรูปแบบของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ มีอยู่หลากหลายประเภท ล่าสุด “การฟ้อนรำ” ตามท่วงทำนองดนตรีพื้นบ้าน ก็ถูกนำมาใช้ในการเอกเซอร์ไซส์ เพื่อสร้างความแข็งแรง ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้กับคนสูงวัย ที่สำคัญยังเป็นรูปแบบของการโยกย้ายส่ายสะโพก ที่คนรุ่นปู่ย่าตายายค่อนข้างถนัดและไม่รู้สึกขัดเขิน เมื่อต้องมายืนออกกำลังในที่สาธารณะ แถมบางรายยังบอกว่าดีเสียอีก เพราะอย่างน้อยลูกๆ หลานๆ จะได้ชื่นชมท่าร่ายรำที่เป็นภูมิปัญญาของคนรุ่นตายายยังสาว เพื่ออนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหาย อ.ณรงค์ เทียมเมฆ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพจาก สสส. มีข้อมูลเกี่ยวกับการเอกเซอร์ไซส์ด้วยท่าฟ้อนรำ ที่ช่วยลดโรค “NCD” หรือโรคไม่ติดต่อรื้อรังในคนสูงวัย
อ.ณรงค์ อธิบายว่า “สำหรับการเลือกออกกำลังกาย ด้วยการ “ฟ้อนรำ” เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวอวัยวะร่างกายตามจังหวะเสียงเพลง แน่นอนจะช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ข้อต่อต่างๆ ตลอดจนกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายได้ทำงานเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นท่าทางฟ้อนรำแบบไหน เช่น การฟ้อนรำที่ประยุกต์เรื่องนาฏศิลป์เข้าไป ซึ่งเรียกได้ว่าทุกๆ รูปแบบของการออกกำลังกายด้วยท่าร่ายรำ ล้วนมีประโยชน์ต่อผู้สูงวัยแทบจะทั้งสิ้น เพราะแน่นอนว่าคนวัยเก๋าจะได้ใช้ทั้งหัว ตา ไหล่ แขน มือ นิ้ว ลำตัวที่ต้องโยกย้ายไปตามเสียงเพลง รวมถึงการเคลื่อนไหวหัวเข่า ขณะที่ต้องสลับขาเปลี่ยนท่า เรียกว่าได้ออกกำลังแทบทุกส่วน
ที่สำคัญยังมีการศึกษาวิจัย “การรำไทย” จะมีผลต่อสมอง คือ ทำให้สมองได้ใช้งาน ในการจดจำท่าการเดิน และการย่างก้าวขณะฟ้อนรำ เป็นต้นว่าท่านี้จะเดินหน้ากี่ก้าว และต้องถอยหลังกี่ก้าว เมื่อสมองได้ใช้งานก็จะช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมได้ เรียกได้ว่าเป็นการออกกำลังที่พัฒนาทั้งร่างกายและสมองไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งยังทำให้รูปร่างและทรวดทรงของคนสูงอายุกระชับ มีการทรงตัวที่ดีเพื่อป้องกันการหกล้มบาดเจ็บ อีกทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายก็ยังสามารถช่วยเผาพลาญไขมันที่เรากินเข้าไป จะช่วยลด “โรค NCD” หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง ฯลฯ ในคนสูงวัยได้ นอกจากนี้ยังช่วยคลายเครียด ในกลุ่มของผู้สูงวัยที่ใช้สมอง อยู่กับการครุ่นคิด หรือติดโซเชียล ถ้าท่านได้ออกมาฟ้อนรำ ก็จะทำให้ทิ้งอุปกรณ์สมาร์ทโฟนไปชั่วคราว และอย่าลืมว่ากิจกรรมออกกำลังตามจังหวะเสียงเพลงดังกล่าว ผู้สูงอายุจะได้พบเจอกลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นได้ ก็จะทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่ดี
(ออกกำลังกายด้วย “การฟ้อนรำ” ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ข้อต่อ และช่วยลดโรคไม่ติดต่อรื้อรังในคนสูงวัยได้)
ส่วนระยะเวลาของการฟ้อนรำเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม อันดับแรกก็ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของผู้สูงวัยแต่ละท่าน หรือถ้าเป็นไปได้ก็แนะนำให้ออกกำลังสัปดาห์ละ 150 นาที (คิดเป็นวันละ 30 นาที) หรือจะออกกำลังกายแบบสะสมก็ได้เช่นกัน เช่น ออกกำลังครั้งละ 10 นาที จากนั้นก็เปลี่ยนอิริยาบถไปทำงานบ้านอย่างอื่นและมาออกต่อก็ได้ และจะเอกเซอร์ไซส์แบบรวดเดียว 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงก็ได้เช่นกัน หรือจะใช้วิธีง่ายๆ ว่าควรออกกำลัง เพื่อให้ชีพจรในร่างกาย ทำงานมากกว่าปกติ หรือชีพจรเต้นให้ได้ 80-90 ครั้งต่อนาที จากที่เคยเต้นอยู่ที่ 50-60 ครั้งต่อนาที เพราะจะทำให้หัวใจทำงานได้มากขึ้น ก็จะทำให้เลือดลมสูบฉีดและไหลเวียนได้ดี ก็จะไปเลี้ยงส่วนต่าง รวมถึงสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อนั้นร่างกายก็จะแข็งแรง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |