13 พ.ย.61-นางธิดา ถาวรเศรษฐ แกนนำนปช. กล่าวในรายการ “เหลียวหลังแลไปข้างหน้าเพื่อประชาธิปไตย”ว่าเป็นที่น่าสนใจว่าผลการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งปรากฎว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชนะโหวตภายในและได้เป็นหัวหน้าพรรค จึงตั้งคำถามว่า...นายอภิสิทธิ์ ชนะจริงหรือ? และผลการเลือกตั้งนี้บอกอะไรแก่เราบ้าง?
ผู้สื่อข่าวรายงานผลการประชุมใหญ่วิสามัญพรรคประชาธิปัตย์ที่โรงแรมมิราเคิลปรากฎว่านายอภิสิทธิ์ได้เป็นหัวหน้าพรรคเป็นสมัยที่ 4 หลังครองตำแหน่งมายาวนานกว่า 13 ปีเศษ การท้าชิงของหมอวรงค์ที่หลายคนดูว่าทาบนายอภิสิทธิ์ไม่ได้ แต่ว่าทั้งหมอวรงค์และนายอภิสิทธิ์ต่างก็ไม่ใช่คนคนเดียว
นายอภิสิทธิ์เป็นตัวแทนของกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในพรรคประชาธิปัตย์ที่ยังมีอิทธิพลแม้กระทั่งคนเก่าแก่
ส่วนหมอวรงค์ก็เป็นตัวแทนของคนจำนวนหนึ่งซึ่งอาจจะพูดได้ว่าอยากจะมีทิศทางการเมืองซึ่งอาจจะไม่เหมือนนายอภิสิทธิ์ซะทีเดียว อาจจะบอกได้ว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มคนซึ่งอาจจะง่ายกว่าในการรวบรวมไปอยู่กับฟากที่ไม่เอาทักษิณแน่นอน แต่เอาคสช.แน่ ๆ เพราะกระแสที่ออกมาล้มรัฐบาลที่แล้วและสนับสนุนการทำรัฐประหาร สนับสนุนการชัตดาวน์ก็คือสายกปปส.นี่แหละ ผลคะแนนการเลือกตั้ง หมอวรงค์ได้ 5.7 หมื่น ขณะที่นายอภิสิทธิ์ได้ 6.7 หมื่น เฉือนกัน 1 หมื่นคะแนน ซึ่งบางสำนักข่าวก็ถือว่าคะแนนสูสี
นางธิดากล่าวต่อไปว่านายอภิสิทธิ์มีผู้เฒ่าทั้งหลายเป็นแบคหลังและถือเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของประชาธิปัตย์อย่างแท้จริง (พรรคแนวอนุรักษ์นิยม) ดังนั้นการโหวตเลือกหัวหน้าพรรคครั้งนี้อย่างไรเสียหมอวรงค์ก็แพ้ แต่แพ้เพียง 1 หมื่นเสียง ซึ่งผิดคาดเพราะอ.ธิดาคิดว่านายอภิสิทธิจะชนะถล่มทลาย
การโหวตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ต้องการสร้างความชอบธรรมตัวเองว่าตนเป็นหัวหน้าพรรคไม่ใช่เพราะนายชวนหนุน ตนชนะการโหวตจากสมาชิกพรรค แต่เมื่อคะแนนสูสีก็ชี้ให้เห็นว่าคนที่ต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้อยู่ในอิทธิพลของนายชวนหรือนายบัญญัติมีจำนวนมากทีเดียว!!!
แปลว่า “สายกปปส.” ก็หนาขึ้นมาก ซึ่งตนเคยพูดว่าในที่สุดนายอภิสิทธิ์จะชนะ แต่ต้องเดินตามแนวทางกปปส. นอกจากปัญหาแนวทางแล้ว ปัญหาที่สองก็คือถ้าผลการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่สามารถได้ชัยชนะถล่มทลายก็เป็นไปได้ว่าที่นายอภิสิทธิ์ก็ไม่ควรจะอยู่ต่อ แปลว่าธรรมเนียมเดิมที่หนุนหลังโดยผู้เฒ่าก็ต้องเปลี่ยน
ผลคะแนนที่เลือกหมอวรงค์นั้นทำให้หมอวรงค์โดดเด่นขึ้นมา แนวทางกปปส.ก็โดดเด่น เห็นได้ชัดจากรายชื่อกรรมการบริหารพรรคที่มีสายกปปส.เข้ามาจำนวนมาก ดังนั้นการใช้การโหวตเลือกหัวหน้าก็อาจทำลายวิธีการแบบเดิมที่มีผู้เฒ่าสนับสนุน จะมองว่าประชาธิปัตย์จะเข้าสู่โหมดที่ต้องการลดอิทธิพลผู้เฒ่าเช่นนายชวน, นายบัญญัติ
จะว่าไปแล้วนายสุเทพ เทือกสุบรรณในช่วงที่เป็นเลขาธิการพรรคฯ ต้องถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในการทำให้ประชาธิปัตย์ได้มาเป็นรัฐบาลในปี 53 จนกระทั่งต้องออกจากพรรคไป แต่ปรากฎว่านายสุเทพออกไปแล้ว แต่ “ไข่” ยังอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์เต็มไปหมด ยังมีเชื้อพันธุ์อยู่ในประชาธิปัตย์
แต่การเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นนี้ เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์อย่างต่ำก็ต้องได้ 100 เสียง และ “ผู้เฒ่า” พรรคประชาธิปัตย์เขาก็ยังสู้ ขณะนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณก็ได้วางไข่เอาไว้ในพรรคประชาธิปัตย์เป็นจำนวนมาก ฉะนั้นโอกาสพรรคประชาธิปัตย์ที่จะได้ร่วมกับรัฐบาลคสช.ก็มีและเป็นไปได้สูง
"สุดท้ายในฐานะฝ่ายประชาธิปไตยเชื่อว่าฝ่ายประชาธิปไตยก็จะถล่มทลาย ฉะนั้นการเลือกตั้งครั้งนี้น่าดูมาก...ถ้ามี (ย้ำว่า “ถ้ามี”) เพราะจะมีการต่อสู้ทั้งในเชิงการเมือง เชิงกฎหมาย และเชิงความชอบธรรมสูงมาก"นางธิดากล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |