ในสังคมไทยที่ยังไม่มีการรองรับเพศอื่นๆ ให้เป็นเพศที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีเพียงเพศชายและหญิงอันเป็นกรอบความคิดเรื่องเพศ (Sex) ที่มีมาช้านาน คำว่า Sex และ Gender ในภาษาไทยจะแปลว่าเพศเหมือนกัน ซึ่งถ้าเราเป็นเพศหญิงหรือเพศชายคงไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง เพราะในสังคมไทยปลูกฝังเรื่องการแบ่งแยกเพศแค่ เพศหญิง หรือเพศชาย ตามเพศสภาพที่มีมาแต่กำเนิด ทำให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นคนรักเพศเดียวกัน หรือคนข้ามเพศ ต้องค้นหาตนเองในการแสดงออก หรืออธิบายความเป็นตนเองให้สังคมและคนรอบข้างฟัง คำว่า Sex นั้น เป็นการกำหนดเพศตามเพศกำเนิดตามชีวภาพ ส่วนคำว่า Gender หมายถึงเพศที่กำหนดโดยการรับรู้ตัวตนและนิยามตนเองในเชิงการแสดงออกโดยไม่ผูกติดกับลักษณะทางชีวภาพ ลองหลับตานึกภาพว่าหากเราเป็นผู้หญิงและถูกสลับร่างไปอยู่ในร่างของผู้ชาย ยามเจ็บป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล หรือต้องคดีและเข้าไปอยู่ในเรือนจำ ซึ่งใช้หลักการจำแนกคนไข้หรือผู้ต้องขังตามคำนำหน้าชื่อ เราจะเข้าใจความรู้สึกของคนข้ามเพศได้อย่างแท้จริง พวกเขาเหล่านั้นไม่มีสิทธิ์เลือกเพศตามความรู้สึกในการรับรู้ตัวตนของตนเองได้ เพราะสังคมมีตัวเลือกให้ตามลักษณะชีวภาพและคำนำหน้าชื่อแค่สองเพศเท่านั้น
หากกลุ่มความหลากหลายทางเพศกระทำความผิดและต้องโทษตามกฎหมาย ในการจำแนกนักโทษก็ถูกจำแนกตามเพศกำเนิด กล่าวคือ หากคุณเป็นคนข้ามเพศ (Transgender) แปลงเพศจากชายเป็นหญิงแล้ว แต่ยังมีคำนำหน้าว่า ‘นาย’ ก็ต้องได้รับการปฏิบัติเทียบเท่ากับนักโทษชายที่ชอบเพศหญิง (Straight) คนอื่นๆ และถูกคุมขังในเรือนจำชายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยลักษณะของการเหมารวมด้วยเพศกำเนิดนี้ ผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะผู้ต้องขังที่เป็นคนข้ามเพศจึงมีความกังวลและรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศหรือวิถีทางเพศของตน ด้วยเกรงว่าอาจจะถูกเลือกปฏิบัติ หรือถูกปฏิบัติจากคนรอบข้างอันเนื่องมาจากความไม่เข้าใจและการมีอคติ ไปจนถึงการใช้ความรุนแรง ถึงแม้เรือนจำในไทยจะมีสภาพที่ค่อนข้างแออัด แต่ก็มีระบบที่ก้าวหน้ามากกว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการแยกขังกลุ่มผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อให้คนกลุ่มนี้สามารถที่จะอยู่ในเรือนจำได้อย่างปลอดภัยและลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งในบางประเทศอย่างสหรัฐอเมริกายังไม่มีการใช้ระบบนี้ ทำให้ผู้ต้องขังกลุ่มนี้ต้องถูกล่วงละเมิดหรือไม่ก็ถูกจับขังเดี่ยวและนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด
ในสังคมพหุวัฒนธรรม การอยู่รวมกันของคนในสังคมต้องมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติ รูปแบบการใช้ชีวิต และมีการยอมรับในความเปลี่ยนแปลงรวมทั้งความแตกต่างของกลุ่มต่างๆ เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติ เมื่อมองเผินๆ เราอาจเห็นว่าสังคมไทยเปิดกว้างต่อกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้นกว่าในอดีต พฤติกรรมบางอย่างที่เคยต้องปกปิดไว้เนื่องจากขัดต่อวัฒนธรรม ค่านิยม และความเชื่อเดิมๆ ก็ได้รับการเปิดเผยและยอมรับมากยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการมีตัวตนในสังคมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่มีศัพท์เรียกกันทั่วไปตั้งแต่ กะเทย สาวประเภทสอง คนรักเพศเดียวกัน เพศที่หลากหลาย คนข้ามเพศ คนเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตอย่างเปิดเผยได้มากขึ้น แต่เบื้องหลังของแต่ละคนกว่าจะเปิดเผยตัวตนได้นั้น ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ มากมายในชีวิตกว่าจะได้รับการยอมรับในสังคม.
จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
([email protected])
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |