ห้องสมุด@สวนลุมพินี สุดคูล..อ่านดี-เล่นได้ กระตุ้นพัฒนาการเด็ก


เพิ่มเพื่อน    

 

      เปลี่ยนโฉมห้องสมุดให้ดูแปลกตา สมกับยุคดิจิตอลเลยทีเดียว เพราะการอ่านหนังสือไม่ใช่แค่เพื่อความรู้อีกต่อไป แต่ขยายไปสู่การพัฒนาการในรูปแบบเรียนๆ เล่นๆ ได้อีกด้วย

      ในโอกาสฉลองครบรอบ 130 ปีในการดำเนินงานของ “ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย” ในปี พ.ศ.2561 เพื่อเดินตามความมุ่งมั่นที่จะช่วยพัฒนาด้านการศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อมของไทย เนื่องจากเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในอนาคต HSCB จึงได้ร่วมมือกับกรุงเทพมหานครอีกครั้ง โดยการปรับปรุง “ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี โซนเด็กและเยาวชน” ให้เป็น “ห้องสมุดเด็กและเยาวชนเอชเอสบีซี สวนลุมพินี” ที่ทันสมัยและมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว เป็นอาคารรูปเต่าทองสีแดงใจกลางสวนลุมพินี เพื่อดึงดูดให้เด็กและเยาวชนเข้ามาอ่านหนังสือ...แต่ทว่าปัจจุบันข้อมูลข่าวสารที่อัดแน่นอยู่ในโทรศัพท์มือถือ งานนี้ห้องสมุดแนวใหม่ดังกล่าวจะกระตุ้นการอ่านได้เพียงใด!!! มีข้อมูลมาบอกกัน

      วรนันท์ สุทธปรีดา ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร “ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย” ให้ข้อมูลว่า ทางธนาคารได้ร่วมกับ กทม.ปรับปรุงห้องสมุดสำหรับเด็กขึ้นนั้น โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยก่อนหน้าได้ร่วมกับ กทม.เมื่อมี 2555 สนับสนุนการก่อสร้างห้องสมุดสีเขียว บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ณ เขตลาดกระบัง ส่วนในปี 2560 ได้สนับสนุนการปรับปรุงอาคารสำนึกงานเก่าของกทม.ให้เป็น “ศูนย์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมเพื่อคนเมือง” ณ เขตบางเขน กระทั่งครั้งที่ 3 คือ “ห้องสมุดเด็กและเยาวชนเอชเอสบีซี สวนลุมพินี” ณ สวนลุมพินี ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้

(ไฮไลต์กระตุ้นการอ่านของ “ห้องสมุดเด็กและเยาวชนเอชเอสบีซี สวนลุมพินี” คือการมีหนังสือหลากหลายให้เด็กได้อ่าน ทั้งหนังสือภาพภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงหนังสือภาพเล่าเรื่องแนวป๊อปอัพสำหรับเด็กเล็ก และยังมีสไลเดอร์ให้เล่น รวมถึงอัฒจันทร์ไม้สำหรับน้องๆ หนูได้หยิบหนังสือมานอนอ่านเล่น ตามพฤติกรรมธรรมชาติของเด็ก)

       “ถ้าพูดถึงการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ ของห้องสมุดสำหรับเด็กๆ ให้มีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะโครงสร้างอาคารภายนอกที่เราดีไซน์ให้เป็นรูปเต่าทอง ก็เพื่อกระตุ้นจินตนาการของน้องๆ หนูๆ รู้ว่าอันที่จริงแล้วนั้น ถ้ามีแมลงเต่าทองอยู่ที่ไหน ก็ถือว่าพื้นที่แห่งนั้นอุดมสมบูรณ์ และเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะไม่เคยเห็นแมลงเต่าทอง นอกจากนี้ก็ยังมีการตกแต่งภายในห้องสมุดให้มี “สไลด์เดอร์ไม้”, “อุโมงค์ลอด” ภายในห้องสมุด เพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้สึกอยากค้นหา นอกจากนี้ยังมี “ชั้นอัฒจันทร์ไม้” สำหรับให้เด็กได้นั่งห้อยขา นอนอ่านหนังสือ ซึ่งอุปกรณ์ที่จัดวางในห้องสมุดเหล่านี้ล้วนศึกษาวิจัยแล้วว่ามาจากพฤติกรรมการเล่น และจะช่วยส่งเสริมการอ่านหนังสือ ของเด็กๆ นั่นเอง รวมถึงในส่วนของหนังสือที่อยู่ในห้องสมุดแห่งนี้ยังมีหลากหลาย ทั้งหนังสือรูปภาพ หนังสือภาษาอังกฤษ หนังสือภาพการ์ตูนป๊อปอัพทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อให้เด็กๆ ได้เพลิดเพลิน

      ส่วนคำถามที่ว่าห้องสมุดแนวใหม่แห่งนี้ จะส่งเสริมการอ่านให้กับน้องๆ ได้มากน้อยแค่ไหน ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในโทรศัพท์มือนั้น อย่างที่บอกไปตอนต้น คือการปรับเปลี่ยนรูปแบบของห้องสมุดสำหรับเด็กที่ทำให้เด็กได้เล่น ขณะเดียวกันก็ได้หยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน ตลอดจนเครื่องเล่นอย่าง “สไลเดอร์ไม้” “อัฒจันทร์ไม้” และ “อุโมงค์” ซึ่งการจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ในห้องสมุดจะช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากที่จะเข้ามาก่อนเป็นอันดับแรก และเมื่อได้เจอสีสันก็จะยิ่งกระตุ้นให้เด็กอยากเข้ามาอ่านหนังสือในห้องสมุดมากขึ้น เพราะถ้าพูดถึงห้องสมุดรูปแบบเดิมคือ เด็กจะเดินเข้าไปเจอหนังสือ และเก้าอี้นั่งอ่านที่จัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ

      แต่ทั้งนี้ถ้าเด็กได้อยู่ในพื้นที่ที่เราได้จัดขึ้น พร้อมๆ กับการผลักดันจากผู้ปกครองที่เห็นความสำคัญของการอ่าน และต้องการให้ลูกๆ อยู่ห่างจากมือถือและไอแพด โดยการพาเด็กออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ก็จะทำให้เด็กๆ เกิดความแปลกใหม่ และอยากค้นหาจากการอ่านมากขึ้น ประกอบกับ หนังสือที่จัดไว้ในห้องสมุดจะมีหนังสือรูปภาพทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สิ่งเหล่านี้มันจะทำให้เด็กเริ่มมีจินตนาการจากหนังสือ แม้ว่าเขาจะอ่านไม่ออก แต่อย่างน้อยการที่เขาได้เห็นภาพ ตัวการ์ตูนในหนังสือ จึงนับเป็นการปลูกฝังการอ่านเบื้องต้นที่สำคัญมากค่ะ นอกจากนี้ ทางเราก็ได้มีการจัดกิจกรรมร่วมกับห้องสมุด โดยคาดว่าจะนำพนักงานที่มีความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษไปสอนการอ่านให้กับเด็กเล็กๆ ที่ยังอ่านหนังสือภาษาอังกฤษไม่ออก ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมการอ่านได้ทางหนึ่งค่ะ”

(สิริลักษณ์ ธรรมธร)

      ด้าน นางสิริลักษณ์ ธรรมธร บรรณารักษ์ชำนาญการ “ห้องสมุดเด็กและเยาวชนเอชเอสบีซี สวนลุมพินี” เล่าให้ฟังว่า การต้อนรับค่อนข้างดี เพราะตั้งแต่เปิดบริการมาได้ประมาณ 2 อาทิตย์ มีคุณพ่อแม่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจและพาลูกที่ห้องสมุดแห่งใหม่นี้ โดยเฉพาะช่วงวันเสาร์และวันอาทิตย์ ก็พาเด็กๆ มาอ่านหนังสือไม่ต่ำกว่า 50 ราย โดยเด็ก 1 คน มากับพ่อแม่ 2 คน

        “จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ทำงานด้านบรรณารักษ์มากว่า 8 ปี มองว่าการตกแต่งห้องสมุดให้มีสีสันสะดุด และมีเครื่องเล่นอยู่ภายในห้องนั้น อันที่จริงแล้วสามารถปลูกฝังเรื่องการอ่านหนังสือได้ดีเช่นกันค่ะ แม้ว่าปัจจุบันข้อมูลข่าวสารจะอยู่ในโทรศัพท์มือถือก็ตาม แต่ทั้งนี้ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ที่สนใจการอ่าน และพาลูกมาที่ห้องสมุดแห่งนี้ พร้อมกับคอยสอนเด็กอ่านหนังสือไปที่ละนิดละน้อย ก็จะทำให้เด็กซึมซับการอ่านที่อยู่ในรูปแบบของหนังสือ รวมถึงการมีเครื่องเล่นต่างๆ ไว้ให้เด็กเล่น ซึ่งล้วนแล้วแต่จำลองมาจากพฤติกรรมของเด็กที่ชอบเล่นซน และหยิบหนังสือไปนั่งอ่าน นอนอ่านตามมุมต่างๆ หรือแม้แต่การที่ห้องสมุดเด็กแห่งนี้อนุญาตให้เด็กสามารถยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้านได้ ล้วนแล้วแต่กระตุ้นการอ่านหนังสือได้แทบทั้งสิ้นค่ะ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยว่า การเรียนรู้ของเด็กนั้น 60 คือพ่อแม่ที่ช่วยกระตุ้น ส่วนอีก 30% คือตัวเด็ก และอีก 10% คือสิ่งแวดล้อม ทั้งห้องสมุดและคุณครูในโรงเรียนก็ตามค่ะ

      ส่วนข้อควรระวังในการเข้ามาใช้ห้องสมุดเด็กที่น้องๆ หนูสามารถมากับคุณพ่อคุณแม่ได้ตั้งแต่ 1 ขวบไปจนถึง 15 ปีนั้น 1.เรื่องของอุบัติเหตุ โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุ 1-2 ขวบ ที่ผู้ปกครองควรดูแลเป็นพิเศษ 2.การช่วยถนอมหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือภาพป๊อปอัพตัวการ์ตูน เนื่องจากมีประสบการณ์ส่วนตัวที่ลูกสาวมักจะชอบฉีกส่วนที่ยื่นออกมาจากหนังสือ ซึ่งตรงนี้นอกจากผู้ปกครองแล้ว อาจจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ช่วยดูแลเมื่อเด็กได้หยิบหนังสือดังกล่าวขึ้นมาอ่านค่ะ ส่วนเรื่องพื้นที่ภายในห้องสมุดเด็ก เบื้องต้นจะมีการติดตั้งอุปกรณ์เซฟความปลอดภัยที่พื้นให้เด็กๆ เพื่อป้องกันการหกล้มสัมผัสปูน โดยการวางโฟมยางกันกระแทก ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการเพิ่มเติมค่ะ”

      ขณะที่ผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป สามารถเดินมาเยี่ยมชมห้องสมุดเด็กที่จัดอยู่ด้านล่างของ “ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ สวนลุมพินี” ได้ และสามารถยืมหนังสือขึ้นไปอ่านยังชั้นบนสำหรับผู้ใหญ่ได้เช่นกัน และ ห้องสมุดสำหรับเด็กจะเปิดให้บริการฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันอังคาร-วันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) โดยเปิด 08.30-20.00 น. และวันอาทิตย์เปิดเวลา 09.00-17.00 น.

(คุณครูปู-อัฐรา อึ่งสวาท และเด็กๆ จากสถานรับเลี้ยงเด็ก “มพสร.” ที่มาใช้บริการ “ห้องสมุดเด็กและเยาวชนเอชเอสบีซี สวนลุมพินี”)

      ปิดท้ายกันที่ คุณครูปู-อัฐรา อึ่งสวาท ครูจากสถานรับเลี้ยงเด็ก “มพสร.” ที่พาน้องๆ วัยอนุบาลชั้นปีที่ 2 และ 3 มาอ่านหนังสือที่ “ห้องสมุดเด็กและเยาวชนเอชเอสบีซี สวนลุมพินี” 2 ครั้ง บอกว่า “เด็กที่มาจะค่อนข้างชอบห้องสมุดแห่งนี้ค่ะ เพราะเขาได้เล่นซน ได้ปีนป่าย ไม่ต้องตากแดด อีกทั้งยังควบคุมเด็กๆ ได้ และจะสังเกตว่าเด็กหลายคนมักจะชอบไปหยิบหนังสือมาอ่าน ถึงแม้ว่าบางคนจะอ่านไม่ออก แต่ก็หยิบมาดูรูปภาพ ส่วนตัวครูคิดแค่เด็กได้จับและได้ดูรูปในหนังสือ ก็สามารถทำให้เด็กห่างไกลจากเล่นสมาร์ทโฟน และกระตุ้นให้เขาอยากอ่านหนังสือและคุ้นเคยกับหนังสือมากขึ้น หากว่าได้มาอยู่ในห้องสมุดที่มีทั้งหนังสือ และอุปกรณ์ที่เด็กสามารถเล่นได้ในคราวเดียวกันก็เป็นห้องสมุดที่ดี และก็อยากให้มีห้องสมุดแนวแปลกใหม่ดังกล่าวเยอะๆ ค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"