บินไทย เผยไตรมาส 3 แต่ยังคงขาดทุน3,686 ล้านบาทหลังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่ญี่ปุ่นและจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ลดลงรวมถึงราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 40%
นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวม จำนวน 47,953 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ยังคงขาดทุนสุทธิ 3,686 ล้านบาท สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่ญี่ปุ่นและจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ลดลง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 40% ทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้บริษัท ได้ปลดประจำการเครื่องบินแบบโบอิ้ง 737-400 จำนวน 2 ลำ ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีจำนวนเครื่องบินที่ใช้ในการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 ก.ย. 2561 จำนวน 103 ลำ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 4 ลำ มีอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบิน เท่ากับ 12.1 ชั่วโมง เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) เพิ่มขึ้น 2.0% ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้น 1.0% มีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 77.5% ต่ำกว่าปีก่อน ซึ่งเฉลี่ยที่ 78.2% มีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่ง รวมทั้งสิ้น 6.0 ล้านคน ใกล้เคียงกับปีก่อน
สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้จากการดำเนินงานรวม จำนวน 47,953 ล้านบาท มีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 1,025 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.2% โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ รายได้จากค่าโดยสารและน้ำหนักส่วนเกิน เพิ่มขึ้น 304 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 0.8% จากปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้น รายได้จากค่าระวางขนส่ง และไปรษณียภัณฑ์ เพิ่มขึ้น 561 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10.9% รายได้จากการให้บริการอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 360 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12.3%
อย่างไรก็ตาม ปกติในไตรมาส3 เป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว อีกทั้งการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินยังคงรุนแรง ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่สูงกว่าช่วงครึ่งปีแรก ส่งผลให้ความต้องการเดินทางลดลงและต้นทุนเพิ่มขึ้น อีกทั้งผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงเดือน ก.ย. 2561 ได้แก่ พายุไต้ฝุ่นเซบีพัดเข้าฝั่งประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ท่าอากาศยานคันไซได้รับความเสียหาย รันเวย์เกิดน้ำท่วมขัง และประกาศปิดการให้บริการเป็นการชั่วคราว แผ่นดินไหวบนเกาะฮอกไกโด และพายุไต้ฝุ่นมังคุดพัดเข้าฝั่งฮ่องกง ทำให้บริษัทฯ ต้องยกเลิกเที่ยวบินจำนวนหนึ่ง
ทั้งนี้ประกอบกับการลดลงของนักท่องเที่ยวจีน อีกทั้งในไตรมาสนี้ บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นโดยมีค่าใช้จ่ายรวมที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 5,259 ล้านบาท หรือคิดเป็น 11.3% ค่าน้ำมันเครื่องบินเพิ่มขึ้น 3,499 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 29.4% จากราคาน้ำมันเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นถึง 41.0% และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ไม่รวมค่าน้ำมัน เพิ่มขึ้น 1,862 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.5% สาเหตุหลักเกิดจากค่าซ่อมแซมและซ่อมบำรุงอากาศยาน และค่าเช่าเครื่องบินและอะไหล่เพิ่มขึ้น
อีกทั้งบริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวจากการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์และเครื่องบิน จำนวน 371 ล้านบาท แต่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 299 ล้านบาท ซึ่งเป็นการตีมูลค่าทางบัญชี ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อย ขาดทุนสุทธิ 3,686 ล้านบาท ขาดทุนมากกว่าปีก่อน 1,872 ล้านบาท โดยเป็นขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 3,701 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 1.70 บาท ขาดทุนมากกว่าปีก่อน 0.86 บาท
ณ วันที่ 30 ก.ย. 2561 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมจำนวน 277,607 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธ.ค. 2560 จำนวน 3,168 ล้านบาท (1.1%) หนี้สินรวมมีจำนวน 249,219 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2560 จำนวน 457 ล้านบาท (0.2%) และส่วนของผู้ถือหุ้นมีจำนวน 28,388 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธ.ค. 2560 จำนวน 3,625 ล้านบาท (11.3%) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผลขาดทุนจากการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงดำเนินการตามแผนฟื้นฟูองค์กร โดยยังคงมุ่งเน้นการสร้างรายได้เพิ่มและรายได้เสริม รวมทั้งยังมีมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |