บิ๊กมหา'ลัยหนาว!แกนนำ'CHES'เปิดแคมเปญล่าชื่อยื่นนายกฯหนุนแสดงบัญชีทรัพย์สิน


เพิ่มเพื่อน    


9พ.ย.61-นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES) ประจำ มศว ได้สร้างแคมเปญรณรงค์ใน https://www.change.org/p/ ขอสนับสนุนการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินของฝ่ายบริหารและกรรมการสภามหาวิทยาลัยเพื่อยื่นร้องเรียนนายกรัฐมนตรี ภายหลังฝ่ายบริหารและกรรมการสภามหาวิทยาลัย ออกมาคัดค้านประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)เรื่องกำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ. 2561 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยล่าสุดมีผู้ร่วมลงชื่อแล้ว 206 คน  


 โดยนพ.สุธีร์ เปิดเผยว่า เนื่องจากความกังวลใจของพวกเราคือปัญหาธรรมาและทุจริตคอร์รัปชันนำมาซึ่งการผูกขาดอำนาจ และนำไปสู่การจัดสรรพวกของตนเองสู่ตำแหน่งบริหาร โดยเฉพาะการสรรหาคณบดี ส่งผลให้ได้คณบดีที่อธิการคุมได้ ไม่ใช่คนที่สามารถพัฒนางานวิชาการอย่างอิสระได้ ทำให้คุณภาพวิชาการสูญเสียไป แม้ว่าจะมีการประกันคุณภาพการศึกษา ก็เป็นการประกันในกระดาษเท่านั้น ไม่ใช่ของจริง ส่งผลให้อุดมศึกษาเราตกต่ำลง


 "การไม่เป็นธรรมาภิบาลทำให้คนทำงานที่ไม่ใช่พวกของฝ่ายบริหารอยู่ไม่ได้ คนที่มีความสามารถจึงต้องจากมหาวิทยาลัยไป ก็ส่งผลต่อความอ่อนแอเช่นกัน ลำพังโกงกินอย่างเดียวมันก็มีทุกที่ แต่การโกงกินที่ในอุดมศึกษา มันส่งผลต่อการศึกษาของเยาวชนไทย และคือการทำลายอนาคตของชาติอย่างนึกไม่ถึง และสถาบันที่เราคิดว่าเป็นเสาหลักของสังคม เมื่อเกิดปัญหาเราก็สูญเสียสถาบันที่จะใช้เป็นที่อ้างอิงเหมือนในอดีตจะไม่มีแล้ว เพราะพวกโกงกินก็จะพึ่งการเมือง"นพ.สุธีร์ กล่าว
    
สำหรับเนื้อหาที่นพ.สุธีร์ รณรงค์ มีดังนี้


เรื่อง ขอสนับสนุนประกาศของ ปปช. ในเรื่องการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินของฝ่ายบริหารและกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยทุกแห่ง


ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยหลายแห่ง เปลี่ยนแปลงสถานะภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เพื่อให้มีอิสระในการบริหารกิจการภายในได้เองทุกเรื่อง โดยมีสภามหาวิทยาลัย ที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกที่มาจากการสรรหา(ของผู้บริหาร) มาทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายของมหาวิทยาลัย สามารถออกและ/หรือ แก้ไข ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆได้ ดังนั้นการออกนอกระบบ แท้จริงแล้ว คือการช่วยให้ มหาวิทยาลัยมีอิสระในการดำเนินงานมากกว่าในอดีต ผู้บริหารมีอิสระและ อำนาจในการทำงานมากขึ้น กรรมการสภาฯก็มีอำนาจมากขึ้นด้วยเช่นกัน ส่วน สกอ.และกระทรวงศึกษาธิการ ไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบใดๆได้อีกแล้ว เพราะอำนาจในการกำกับดูแล การตรวจสอบ ลงโทษ ต่างๆ อยู่ที่สภามหาวิทยาลัย โดยตรง


ที่พบเจอคือ วันนี้ ผู้บริหารกับกรรมการสภาฯ เป็นพวกเดียวกันทั้งหมด ทุกอย่างดูราบรื่น ที่มาของกรรมการสภาฯ ตามระเบียบทฤษฎี ก็จะมาจากการสรรหาจากบุคลากรทั้งมหาวิทยาลัยเสนอขึ้นมา แต่ ในทางปฏิบัติ ทั้งหมดก็มาจากการคัดสรรจากผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยนั่นเอง โดยอาจมีผู้ทรงคุณวุฒิอาวุโสบางคนร่วมอยู่เป็นที่ปรึกษา เพื่อให้ได้กลุ่มเครือข่ายเดียวกัน


มีข้อร้องเรียนจากอาจารย์ในบางสถาบันว่า ถ้ามีเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับกรณีที่ส่อว่าจะมีการทุจริต ประพฤติมิชอบ ของผู้บริหารระดับใดก็ตาม (ถ้าเป็นพวกเดียวกัน) ก็จะได้รับการช่วยเหลือกัน จะไม่พบการทุจริตจากการกระทำของผู้บริหารทั้งสิ้น อาจมีบ้างก็จะเป็นระดับเจ้าหน้าที่ พนักงาน บุคลากรทั่วไปเท่านั้น ดังนั้นการบริหารเงินงบประมาณ ปีละสอง สามพันล้านบาท โดยอิสระเสรีแบบนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะในระบบบริหารงานในปัจจุบัน ไม่มีกลไกการคานอำนาจ ระหว่างกันอย่างแท้จริง รวมทั้งไม่มีระบบตรวจสอบ ผู้ทรงคุณวุฒิเองก็มีข้อจำกัด ที่จะเข้ามาเรียกหาข้อมูล เพราะไม่มีระบบผู้ช่วย ทีมงานที่จะช่วยหาข้อมูลต่างที่จำเป็นให้ได้ ถ้าผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย ปิดบังข้อมูล ผู้ทรงคุณวุฒิก็จะไม่สามารถรู้ได้เลย ดังนั้นในความเป็นจริงคือ ทุกคนจึงมาประชุม อภิปรายแสดงความคิดเห็นกันเฉพาะในระหว่างการประชุมเท่านั้น จึงเป็นจุดอ่อน ที่เป็นช่องทางที่จะทำให้เกิดการทุจริตขึ้นได้ง่ายเพราะไม่มีระบบตรวจสอบและไม่มีกลไกการคานอำนาจกัน
เป็นเรื่องน่าประหลาดใจ แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบไปแล้ว แต่รัฐบาล(สำนักงบฯ) ก็ยังจัดสรรงปม.แผ่นดิน มาให้เหมือนเดิม โดยเฉพาะงบก่อสร้างและครุภัณฑ์ ไม่ได้ลดลง งบเงินเดือนพนักงานก็ยังให้ตามปกติ พนักงานมหาวิทยาลัย ที่ใช้งบเงินรายได้ของคณะหรือส่วนกลางมาก่อน ก็จะได้รับการบรรจุให้เป็นพนักงาน(ประจำ) ใช้งบประมาณแผ่นดินซึ่งจะมีความมั่นคงสูงกว่า แน่นอนว่ากลุ่มที่ได้รับการบรรจุก็คือกลุ่มคนที่เป็นพวกเดียวกันหรือสนับสนุนผู้บริหารเท่านั้น ในอนาคต ถ้าจะมีการปลดพนักงานออก ก็จะเป็นพนักงานกลุ่มที่ไม่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานเงินงบประมาณแผ่นดินนั่นเอง ดังนั้น ในวันนี้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย จึงได้ควบคุมอำนาจบริหารจัดการได้อย่างเบ็ดเสร็จในทุกระดับ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ อยู่ในมือของกลุ่มผู้บริหารระดับสูง กับผู้ทรงคุณวุฒิบางคนที่เป็นหัวเรือใหญ่เครือข่ายเดียวกัน เท่านั้น ด้วยสภาพการแบบนี้ จึงมีโอกาสจะเกิดการทุจริตทางนโยบายขึ้นได้ ส่วนในระดับหน่วยงาน ตาม คณะ สาขาวิชา ต่างๆ ผู้บริหารส่วนนี้ก็สามารถจะกระทำทุจริตคอรัปชั่น เช่น ในการจัดซื้อจัดจ้าง และงานก่อสร้าง ต่างๆ ได้ง่ายมาก เพราะบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานล้วนเป็นพวกเดียวกันทั้งหมดนั่นเอง ถ้ามีการร้องเรียนขึ้นไป เรื่องก็เงียบ คนร้องเรียนจะอยู่ไม่ได้
ดังนั้นในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยจึงเป็นแหล่งผลประโยชน์ขนาดใหญ่ ที่สามารถจะทุจริตคอรัปชั่นได้อย่างง่ายดาย เป็นแหล่งผลประโยชน์แหล่งใหญ่ที่สังคมภายนอกมองข้ามไป เพราะอาจจะเห็นว่าเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูง เข้าทำนองคนมีการศึกษา จะไม่โกง ที่สำคัญไม่มีใครสามารถเข้าไปตรวจสอบได้เลย ขอยกตัวอย่าง วิธีหาผลประโยชน์ของผู้บริหารและกรรมการสภาฯ เช่น ร่วมกันออกนโยบาย เอาทรัพย์สิน รายได้ของมหาวิทยาลัย ไปซื้อหุ้นของสถาบันการเงินที่ผู้ทรงฯเป็นกรรมการ เปิดสัมปทานภายใน เช่น เดินรถ ให้เอกชนที่มีผู้ทรงฯบางคนเป็นหุ้นส่วน สร้างโครงการก่อสร้างอาคารต่างๆขึ้นมามากมายจนไม่รู้จะเอาไปใช้ประโยชน์อะไร แจกโควตาที่นั่งเด็กนักเรียนสาธิต ให้ผู้ทรงฯ ทุกปี ใครช่วยเหลือเกื้อกูลกันมากก็ให้มาก ล็อคสเป็คซื้อของพรรคพวกตน ขึ้นเงินเดือน ค่าตอบแทนให้พวกกันเอง กันอย่างเต็มที่ เอาเงินไปจ้างที่ปรึกษากฎหมายมืออาชีพปีละหลายล้านบาท ไว้ต่อสู้คดีกับบุคลากรของมหาวิทยาลัย เป็นต้น ถ้าเงินงบประมาณไม่พอก็ขึ้นเงินค่าเล่าเรียน


ไม่มีใคร กล้าเข้าไปตรวจสอบ เก็บหลักฐาน เจ้าหน้าที่ทุกคนจะกลัวมาก เพราะอาจถูกประเมินไล่ออกได้ง่ายมาก ดังนั้น การที่ ปปช. ออกประกาศให้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และกรรมการสภาฯทุกคน ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน จึงอาจพอช่วยป้องปรามการทุจริต คอรัปชั่นได้ทางหนึ่ง ซึ่งความจริง ยังต้องหามาตรการอื่นๆเพิ่มอีก หลายมาตรการ แต่อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ ควรสนับสนุนให้เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว


จึงขอสนับสนุนการแสดงบัญชีทรัพย์สินของฝ่ายบริหารและสภามหาวิทยาลัย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"