"สนข." ผุดท่าเรือบกวงเงินลงทุนรวมหมื่นล้านบาท คาดนำร่องฉะเชิงเทรา


เพิ่มเพื่อน    

 


สนข. เผยผลศึกษาแผนแม่บทท่าเรือบก 4 จังหวัด วงเงินลงทุนรวมหมื่นล้านบาท นำร่องฉะเชิงเทราคาดเปิดประมูลในปี62 เริ่มก่อสร้างภายในปี63-64 

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมสัมมนาครั้งที่ 2 เพื่อนำเสนอผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องงานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลติสติกส์ของภูมิภาคว่า จากผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสมจะพัฒนาท่าเรือบกมี 4 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา, นครราชสีมา, ขอนแก่น และ นครสวรรค์ ที่มีความเหมาะสมเป็นท่าเรือบก

อย่างไรก็ตาม พื้นที่จะใช้ต้องอยู่ในแนวริมทางรถไฟ ใช้พื้นที่ประมาณ 1,000-1,800 ไร่ ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งทั้ง 4 จังหวัด ประกอบด้วย 1.อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ไปยังท่าเรือแหลมฉบังระยะทาง 70 กม. 2.อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา-ท่าเรือแหลมฉบัง 320 กม. 3.อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น-ท่าเรือแหลมฉบัง 550 กม. และ 4.อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์-ท่าเรือแหลมฉบัง 370 กม. ในพื้นที่ 4 แห่ง คาดว่าใช้วงเงินลงทุนรวมประมาณ 10,000 ล้านบาททั้งเรื่องจัดหาที่ดินและก่อสร้าง โดยรูปแบบลงทุนเป็นรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน (พีพีพี) ซึ่งรัฐจัดหาที่ดิน ซึ่งต้องดูความเหมาะสมเพราะใช้พื้นที่จำนวนมากอาจเป็นพื้นที่ที่มีอยู่แล้วหรือมีการเวนคืนเพิ่มเติม ส่วนเอกชนบริหารจัดการ 

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า ส่วนการจัดอันดับการสร้างท่าเรือบกนั้น จะเริ่มจาก จ.ฉะเชิงเทราก่อน เพราะมีความพร้อมการทั้งมีรถไฟทางคู่ ช่วยแก้ปัญหาจราจรในไอซีดีลาดกระบังและอยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หลังจากนั้นจะก่อสร้างที่นครราชสีมาและขอนแก่นต่อ คาดว่ารถไฟทางคู่จะสร้างแล้วเสร็จปี 66-67 เพื่อให้ทันกับการเปิดใช้รถไฟทางคู่ ส่วนนครสวรรค์คาดเปิดให้บริการปี 70 

อย่างไรก็ตามหลังจากสัมมครั้งนี้จะนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงให้เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ภายใน 2 สัปดาห์ก่อนเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคมภายใน พ.ย.61 และในเดือน ธ.ค.61 จะเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาเห็นชอบต่อไป เพื่อมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ คาดว่าน่าจะเป็นการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เพื่อเปิดรูปแบบลงทุนพีพีพีต่อไป คาดว่าจะท่าเรือบกฉะเชิงเทราจะเปิดประมูลได้ปลายปี 62 และสร้างได้ปี 63-64

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าปัจจุบันปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ผ่านเข้าออกไอซีดีลาดกระบัง 1.3 ล้านทีอียูต่อปี ซึ่งถือว่าน้อย ทั้งนี้การขนส่งที่มีประสิทธิภาพคือระบบราง ปัจจุบันมีการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ทางรางที่ท่าเรือแหลมฉบังแค่ 6% เท่านั้น หากมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่แล้วเสร็จ และมีท่าเรือบกจะช่วยให้ขนส่งสินค้าทางรางไปยังต่างประเทศเพิ่มเป็น 30% หลังจากก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังแหลมฉบังเฟส 3 แล้วเสร็จในปี 67-68


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"