ครม.เคาะยกเครื่องหลักเกณฑ์ Smart Visa หลังเจอปัญหาติดขัด


เพิ่มเพื่อน    

 

ครม. เคาะปรับปรุงหลักเกณฑ์-สิทธิประโยชน์-คุณสมบัติการให้ Smart Visa สำหรับบุคลากรต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาลงทุน ทำงาน หรือสร้างธุรกิจใหม่ หลังดำเนินการมาแล้ว 8 เดือน อนุมัติได้แค่ 28 รายเท่านั้น

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว เป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่บุคลากรต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถสูงให้เข้ามาลงทุน มาทำงาน หรือสร้างธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในไทย โดยมาตรการดังกล่าวได้ดำเนินการมากว่า 8 เดือน มีผู้ขอข้อมูล 1.07 พันครั้ง ยื่นขอ 37 ราย และผ่านการรับรองเป็นผู้มีสิทธิได้ Smart Visa เพียง 28 รายเท่านั้น

ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักเกณฑ์ คุณสมบัติต่าง ๆ ครั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง โดยให้เพิ่มสาขาวิชาชีพที่สามารถขอ Smart Visa เพิ่มได้อีก 3 สาขา ได้แก่ 1. การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 3. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน พร้อมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ถือ Smart Visa โดยให้สามารถใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองในท่าอากาศยานระหว่างประเทศทุกแห่ง ในการเข้า-ออกประเทศไทยได้

นอกจากนี้ ยังปรับปรุงคุณสมบัติผู้ขอ Smart Visa สำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง จากเดิมกำหนดว่า จะต้องมีเงินเดือนไม่รวมค่าตอบแทนอื่น ไม่น้อยกว่า 2 แสนบาทต่อเดือน เป็น จะต้องมีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1 แสนบาทต่อเดือน ส่วนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานใน Startup และผู้เชี่ยวชาญเกษียณอายุ ต้องมีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 5 หมื่นบาทต่อเดือน ขณะที่กลุ่มผู้เชี่ยวที่มาปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันฝึกอบรมเฉพาะทาง และหน่วยงานของรัฐ ไม่กำหนดเงินได้ขั้นต่ำ และไม่กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำของสัญญาจ้างด้วย จากเดิมที่จะต้องมีสัญญาจ้างนาน 1 ปีขึ้นไป

ส่วนกรณีผู้เชี่ยวชาญที่มาทำงานให้หน่วยงานของรัฐ สามรถให้หน่วยงานของรัฐนั้น ๆ เป็นผู้ให้การรับรองความเชี่ยวชาญและการทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย แทนการที่จะต้องรอขอการรับรองจากหน่วยงานในเครือข่ายของศูนย์บุคลากรทักษะสูงเพียงอย่างเดียว

สำหรับนักลงทุน เดิมกำหนดว่าจะต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท ในบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการผลิต ให้เปลี่ยนเป็นลงทุนขั้นต่ำ 20 ล้านบาท ในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน หรือกิจการร่วมลงทุนที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานรัฐ หรือลงทุนขั้นต่ำ 5 ล้านบาทในวิสาหกิจเริ่มต้น วิสาหกิจในโครงการบ่มเพาะ หรือโครงการเร่งการเติบโตที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้ครอบคลุมรูปแบบการลงทุนที่มากขึ้น และเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ Startup ในประเทศ

 ขณะที่กลุ่มผู้บริหารระดับสูง เดิมกำหนดเงินเดือนไม่รวมค่าตอบแทนอื่นขั้นต่ำ 2 แสนบาทต่อเดือน เป็นให้มีเงินได้เฉลี่ยขั้นต่ำ 2 แสนบาทต่อเดือน เพื่อให้ครอบคุลมผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเอสเอ็มอี ส่วนผู้ประกอบการ เดิมกำหนดว่าจะต้องมีหลักฐานทางการเงิน คือ มีเงินฝากในบัญชีเงินฝากประจำระยะเวลาเหลือ 1 ปีขึ้นไป เป็น ให้มีบัญชีเงินฝากในประเทศไทย ประเทศที่ตนมีสัญชาติ หรือมีถิ่นพำนัก ขั้นต่ำ 6 แสนบาท ซึ่งถือครองมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการพิจารณา ส่วนอายุของวีซา จากเดิมอนุมัติครั้งแรกให้ 1 ปี ขยายได้คราวละ 2 ปี โดยต้องตั้งกิจการในไทยภายใน 1 ปี เป็น แบ่งอายุวีซ่าออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 6 เดือน 1 ปี และ 2 ปี

อย่างไรก็ดี ประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับ คือกิจการร้านค้าทั้งขนาดลางและขนาดเล็กโดยรอบพื้นที่อีอีซี เช่น หอพัก ร้านซักรีด ร้านอาหาร จะขายดีมากขึ้น เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาสู่แรงงานไทยทั้งในภาครัฐและเอกชน ทำให้ภาคการผลิตของอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอีไทยพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ได้บุคลากรที่เชี่ยวชาญจริงในสาขาที่ตรงกับความต้องการขอประเทศมาช่วยสอน และออกแบบหลักสูตรทั้งในห้องเรียน และคอร์สฝึกอบรมระยะสั้น จะช่วยให้สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างตรงเป้าหมาย และก้าวกระโดด ขับเคลื่อนประเทศสู่ความเป็น 4.0 อย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"