สรท.โชว์ตัวเลขส่งออก 9 เดือน มีมูลค่ารวม 189,730 ล้านดอลลาร์ โต 8.1% เผยสหรัฐตัดสิทธิ์จีเอสพี 11 รายการไม่กระทบ จับตาสงครามการค้าอาจลามไป GSP วอนรัฐดูแลค่าบาทให้เสถียร ครม.เพิ่มโควตาข้าวไปอียู
เมื่อวันอังคาร น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงภาพรวมการส่งออกของไทยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ย.) ว่ามีมูลค่าการส่งออกรวมมูลค่า 189,730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 8.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปแบบเงินบาทที่ 6,057,520 ล้านบาท ขยายตัว 0.9% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 186,891 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 15.2% หรือคิดเป็นมูลค่า 6,048,330 ล้านบาท ขยายตัว 7.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกในช่วง 9 เดือน ยังคงมีแนวโน้มการขยายตัว แม้มีความเสี่ยงของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน
น.ส.กัณญภัคกล่าวต่อว่า การส่งออกในเดือน ก.ย.มีมูลค่าการส่งออก 20,700 ล้านดอลลาร์ หดตัว 5.2% ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 20,213 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 9.9% แต่หากคิดในรูปแบบเงินบาทมีมูลค่า 669,280 ล้านบาท ขยายตัว 8.8% สำหรับกลุ่มสินค้าที่หดตัว ได้แก่ กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรลดลง 0.6% ขณะที่กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมหดตัว 6.7% ซึ่งหดตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือน
“ในปี 2561 สรท.ยังคงคาดการณ์การเติบโตการส่งออกทั้งปีไว้ที่ 8% โดยมีปัจจัยบวกสำคัญคือ 1.การส่งออกในตลาดหลัก CLMV และอาเซียน 2.ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกในไตรมาส 4 ยังอยู่ที่ระดับ 64.8 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้ส่งออกไทย และแนวโน้มการส่งออกในเดือน ต.ค.ปรับตัวสูงขึ้น 3.ผลกระทบเชิงบวกด้านสงครามการค้า ส่วนปัจจัยลบคือ ความยืดเยื้อของสงครามการค้า และประเทศคู่ค้าไทยเผชิญปัญหาวิกฤติค่าเงินบาท เป็นต้น” น.ส.กัณญภัคกล่าว
สำหรับเรื่องที่ไทยถูกตัดสิทธิ์ทางการค้า (จีเอสพี) จากสหรัฐ 11 รายการนั้น น.ส.กัณญภัคระบุว่า อาจทำให้ไทยเสียเปรียบคู่แข่ง แต่เป็นสัญญาณว่าตลาดสหรัฐต้องการสินค้าไทย ทั้งนี้ จำเป็นที่ไทยต้องเฝ้าจับตาช่วงสงครามการค้าสหรัฐ อาจนำสินค้าไทยเพิ่มขึ้นทดแทนสินค้าจีน ซึ่งอาจกระทบส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% ตามเงื่อนไขของจีเอสพี ทั้งนี้ สรท.จะคอยติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐต้องกำกับดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ ส่วนในปี 2562 สรท.คาดว่าการส่งออกของไทยจะยังขยายตัวได้ที่ 5%
วันเดียวกัน นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบการขยายปริมาณการจัดสรรโควตาส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรป (อียู) ให้แก่ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ ภายใต้โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าวที่มีการปฏิบัติตามระบบการเกษตรที่ดี (GAP) ครบวงจร เพิ่มเป็น 25% หรือ 5 พันตันของโควตาทั้งหมดภายในปี 2564 จากเดิมที่กำหนด 10% หรือ 2 พันตัน ซึ่งโควตาส่วนที่เกิน 10% นั้น ต้องเป็นการส่งออกข้าวอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐาน Organic Thailand หรือได้มาตรฐานข้าวอินทรีย์ของประเทศปลายทางเท่านั้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและแรงจูงใจให้กับเกษตรกร
นายพุทธิพงษ์กล่าวอีกว่า กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานโครงการความเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจรปี 2560/61 โดยได้จัดสรรโควตาส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรป จำนวน 2 พันตัน ซึ่งมีผู้ประกอบการค้าข้าว 28 ราย ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงซื้อขายข้าวและรับซื้อข้าวจากเกษตรกร และมีผู้ประกอบการค้าข้าว 9 รายได้รับโควตาการส่งออกข้าวไปอียู 2 พันตัน โดยได้ส่งออกข้าวไปปริมาณ 1.96 พันตัน คงเหลือ 37.64 ตัน ซึ่งปริมาณคงเหลือจะนำไปรวมเป็นโควตากองกลางสำหรับจัดสรรต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |