7พ.ย.61-“สมพงษ์” ชี้การผลิตเด็กไทย 4.0 ยังติดกรอบ ไร้ทิศทาง ด้อยคุณภาพ ไม่สร้างสรรค์ กิจกรรมที่ประกาศว่าสร้างเด็ก ยังเป็นการผลิตซ้ำตามวิถีทางแบบเดิม ไม่ปล่อยให้เด็กออกแบบโครงการ หรือปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ เหมือน "เลือดข้นอันตราย จางอ่อนศีลธรรมจริยธรรม" แนะต้องตื่นรู้ เปลี่ยนวิธีคิดของเด็ก ให้ชอบท้าทาย ขบคิดปัญหามากกว่าเดิม
ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - นายสมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว กล่าวในงานเสวนาหัวข้อ “ ผลิตเด็กไทย 4.0 ..สร้างสรรค์หรือติดกรอบ” ว่า วิธีการคิด เป็นฐานสำคัญในการพัฒนาเด็ก แต่ปัจจุบันเรามัวสาลละวนอยู่กับปัญหาบนยอดภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นรายวัน ขณะที่การออกแบบระบบการผลิตเด็กไทยในยุค 4.0 จึงเกิดคำถามที่ว่าเป็นการผลิตซ้ำความคิดและวิธีการเดิมๆ เพื่อป้อนเด็กเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม หรือเป็นการเปิดทางให้เด็กยุคใหม่เกิดความคิด จินตนาการ และการสร้างสรรค์ ผ่านการสร้าง growth mindset คือไม่กลัวปัญหาและอุปสรรค สู้ ชอบเผชิญหน้า เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นทั้งในตัวผู้ใหญ่ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชน ตลอดจนตัวเด็กและเยาวชนเอง
นายสมพงษ์ กล่าวต่อว่า แต่กิจกรรมพัฒนาเด็กและเยาวชนในประเทศไทยที่ผ่านมา ผู้ใหญ่จะเป็นผู้กำหนดกรอบทั้งการดำเนินงานและความคิดให้เด็ก ส่วนบทบาทของเด็กและเยาวชนเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามเท่านั้น โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ของการแก้ไขปัญหามากกว่า การพัฒนากระบวนการตัวอย่างรูปแบบกิจกรรม โครงการกิจกรรมต่างๆ มักจะเป็นแบบจิตอาสาตามสั่ง อบรมเสริมศักยภาพ ที่ขาดการมีส่วนร่วมทางความคิดของเด็ก จึงสรุปได้การผลิตเด็กไทย 4.0 ไม่สร้างสรรค์ ติดกรอบมาตลอด ไร้ทิศทาง ด้อยคุณภาพ
" เลือดข้นอันตราย จางอ่อนศีลธรรมจริยธรรม ดังนั้นผมคิดว่าแนวโน้มเด็กไทย 4.0 คือ จะต้องตื่นรู้ โดยเชื่อมโยงความเป็นสากลสู่ท้องถิ่น คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ ตามกระแสไม่แคร์สื่อ ต้องตามการเปลี่ยนผ่านโครงสร้าง ระบบและกฎหมาย นโยบายล่างสู่บน ทั้งนี้หากฟังเสียงเด็กมากขึ้น การมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และมีการเปลี่ยนวิธีคิด จะสร้างผลให้เด็กพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ให้ความสำคัญกับความพยายามและชอบปัญหาและความท้าทาย"
ด้านนางสาวพจนา อาภานุรักษ์ นักวิชาการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นหัวข้อ “เด็กไทยทำไมต้อง 4.0” โดยสำรวจเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ระหว่างวันที่ 6 กรกฎาคม – 2 พฤศจิกายน 2561 พบว่าเด็กและเยาวชนมีมุมมองต่อคุณลักษณะสำคัญของเด็กไทย 4.0ในทางบวกคือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อสืบค้นข้อมูลประกอบการเรียน มีความคิดสร้างสรรค์ และให้ความสำคัญกับการเรียน ส่วนผลทางลบเรื่องการเสพติดเทคโนโลยีเกินไป ติดเกมและภาวะความกดดันที่ต้องแบกรับ ในด้านการเรียน เมื่อถามการทำงานของรัฐบาล 4 ปีที่ผ่านมา พบว่ายังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่วนการให้คะแนนรัฐบาลเกี่ยวกับการทำงานด้านเด็กและเยาวชน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.32คะแนน จาก 10 คะแนน เด็กอยากเห็นนโยบายการให้สิทธิเด็กและเยาวชนอย่างทั่วถึง การเคารพในสิทธิมนุษยชนและการสนับสนุนโอกาสในการเข้าถึงการศึกาอย่างเท่าเทียม และอยากเห็นเด็กไทยในอนาคตเป็นคนดี เก่งและกล้า.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |