เลี่ยงแหล่งท่องเที่ยวเย็นจัด-คนพลุกพล่าน ตัวช่วยวัยเก๋าพักผ่อนส่งท้ายปีเก่าสุขภาพดี


เพิ่มเพื่อน    

(เครื่องดื่มอุ่นๆ และการหมั่นขยับเขยื้อนร่างกายตัวช่วยที่ทำให้วัยเก๋าเที่ยวอย่างสนุก และทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล รับมือกับอากาศเย็นได้ดี)

 

      เข้าสู่หน้าหนาวนับเป็นสัญญาณของการท่องเที่ยวไทย เนื่องจากเป็นช่วงเวลาหยุดพักร้อนใกล้สิ้นปีที่หลายคนรอคอย เพื่อที่จะได้ชวนผู้สูงวัยไปเที่ยวพักผ่อนกันทั้งครอบครัว เพื่อรับอากาศเย็นๆ แต่ทั้งนี้การดูแลสุขภาพ ในตลอดระยะเวลาของท่องเที่ยวก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อย เพราะผู้สูงวัยส่วนใหญ่มักเจ็บป่วยได้ค่อนข้างง่ายกว่าคนหนุ่มสาว

      พญ.พลอยลดา ธนาไพศาลวรกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและเวชศาสตร์ชะลอวัย ผู้ก่อตั้งลลลนาคลินิก (Lollana Clinic) มีคำแนะนำสำหรับคนวัยเก๋าที่ต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบอากาศเย็นทางภาคเหนือของประเทศไทย

      พญ.พลอยลดาให้ข้อมูลว่า “ในช่วงที่อาการเริ่มหนาวเย็น ร่างกายของผู้สูงอายุจะไม่แข็งแรงเหมือนกับคนวัยหนุ่มสาว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นอยู่ตลอดเวลา โดยการใส่เสื้อผ้าหนาๆ หรือต้องพกผ้าพันคอหรือสวมหมวกไหมพรม และต้องหมั่นออกกำลัง อีกทั้งต้องเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะหากต้องไปท่องเที่ยวในสถานที่อากาศเย็น นอกจากนี้ให้กินและดื่มอาหารที่มีรสอุ่นๆ อีกทั้งต้องดื่มน้ำเปล่าวันละ 6-8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย

(ผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคปอดควรเลี่ยงการเดินขึ้นเขาสูง และมีสภาพอากาศเย็นจัด เพราะเสี่ยงต่อการเป็นลมหน้ามืด เนื่องจากพื้นที่สูงจะทำให้ความกดอากาศต่ำ)

      นอกจากนี้ก็ให้ระมัดระวังเรื่องเกี่ยวกับ “โรคทางเดินหายใจ” เช่น โรคไข้หวัด และโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งมีคนอยู่เยอะ โดยเฉพาะตลาดหรือห้างสรรพสินค้า เพราะผู้สูงอายุจะเสี่ยงติดเชื้อโรคดังกล่าวได้ค่อนข้างง่าย ดังนั้นการป้องกันคือการไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปอด ซึ่งต้องอยู่ในพื้นที่อากาศเย็นและคนพลุกพล่าน หรือถ้าหากผู้สูงวัยมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก มีอาการเป็นไข้ ก็ควรรีบไปพบแพทย์จะดีที่สุด

      อีกหนึ่งภาวะที่พบได้บ่อยในแหล่งท่องเที่ยวที่มีอากาศเย็น คือผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่อง “ผิวแห้ง” เนื่องจากไขมันในร่างกายทำงานลดน้อยลง จึงทำให้ผิวขาดความชุ่มชื่นจึงแห้งแตก การรักษาความชุ่มชื่นในร่างกายก็ยังจำเป็นต้องทำอยู่สม่ำเสมอ โดยการใส่เสื้อผ้าให้อบอุ่น และไม่ควรอาบน้ำอุ่น หรือหลีกเลี่ยงการอาบนานๆ เพราะจะยิ่งทำให้ผิวแห้งมากขึ้นไปอีก หลังจากอาบน้ำก็ให้ทาโลชั่นบ่อยๆ โดยใน 1 วันควรทาโลชั่น 2-3 รอบ หรือทาลิปบาล์มที่ปากเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น

      ส่วนผู้สูงวัยที่มีปัญหาเกี่ยวโรคระบบไหลเวียนโลหิต หรือ “โรคความดันโลหิตสูง” แนะนำว่าไม่ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง และเค็มจัด เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงหรือกำเริบ ซึ่งจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือทำให้หายใจไม่ออกและหมดสติได้เช่นกัน ดังนั้นผู้สูงวัยที่ป่วยโรคดังกล่าวควรบริโภคอาหารอุ่นในช่วงหน้าหนาว และไม่กินไขมันมากเกินไป รวมถึงอาหารรสหวานจัดด้วยเช่นกัน ที่สำคัญให้หมั่นออกกำลังกายในช่วงหน้าหนาว เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและอบอุ่น

(ผู้สูงอายุที่เตรียมตัวท่องเที่ยวช่วงหน้าหนาวควรใส่เสื้อผ้าที่หนาและมีผ้าพันคอ เพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย)

 

      โดยสรุปในช่วงหน้าหนาว หากผู้สูงอายุต้องการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ ให้ “หลีกเลี่ยงสถานที่อากาศเย็นจัด” ที่สำคัญลูกหลานเองก็จำเป็นต้องเช็กสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการเตรียมเครื่องนุ่งห่มให้เหมาะกันแหล่งเที่ยวที่จะไป เช่น ผ้าพันคอ เสื้อผ้าหนานุ่ม ถ้าเป็นไปได้ไม่แนะนำให้ผู้สูงอายุเดินขึ้นเขาสูงในระยะทางไกลๆ รวมกับอากาศเย็น หรือมีอุณหภูมิเลขตัวเดียว โดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยเกี่ยวกับ “ปอด” เพราะยิ่งสูงความกดอากาศจะยิ่งต่ำ ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีอาการหน้าบวม ตัวบวม ตลอดจนหายใจไม่ออก เนื่องจากหัวใจทำงานมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดอาการวูบและหมดสติได้ เป็นไปได้ก็ไม่ควรเดินขึ้นเขา ที่สำคัญให้ “หลีกเลี่ยงสถานที่ท่องเที่ยวผู้คนหนาแน่น” เพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจได้ค่อนข้างง่ายเช่นกัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"