สว.ถอยห่างไกลกระดูกพรุน งดเหล้า-บุหรี่-อาหารเค็มจัด


เพิ่มเพื่อน    

 
    จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิง และ 1 ใน 5 ของผู้ชาย ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงที่จะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน และผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี การเรียนรู้ป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าแก้ สำหรับกลุ่มบุคคลที่มีปัจจัยโอกาสเสี่ยงสูง
    เมื่อเร็วๆ นี้ โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ ได้ออกมาแนะวิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนโดยการออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ งดดื่มเหล้า ไม่รับประทานอาหารรสเค็มจัด เน้นเพิ่มอาหารที่มีแคลเซียมสูง ช่วยห่างไกลจากโรคกระดูกพรุน โดย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติได้กำหนดให้วันที่ 20 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันกระดูกพรุนโลก เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการดูแลรักษากระดูก ป้องกันการเป็นโรคกระดูกพรุนในอนาคต
    นอกจากปัจจัยของอายุแล้ว ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มกาแฟ นั่งทำงานเป็นเวลานาน ขาดการออกกำลังกาย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไทรอยด์ มะเร็ง ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไต และโรคเลือด รวมถึงผู้ที่ใช้ยาประจำ เช่น ยากันชัก ยารักษาโรครูมาตอยด์ ยาลูกกลอนที่ผสมสเตียรอยด์ มีโอกาสเสี่ยงจากโรคดังกล่าวเช่นกัน 


    ทั้งนี้ โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่เนื้อกระดูกบางจากการสูญเสียแคลเซียม ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง ผุกร่อน รับน้ำหนักได้ไม่ดี หากเกิดการบาดเจ็บ กระทบกระแทก หรือแค่ยกของหนักเพียงเล็กน้อยอาจทำให้กระดูกหักได้ง่าย อาการสำคัญของโรคกระดูกพรุน คือ ปวดตามกระดูก โดยเฉพาะกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก เช่น กระดูกสันหลัง สะโพก รวมถึงข้อต่างๆ ต่อมาหลังจะโก่งค่อม ตัวเตี้ยลงเนื่องจากกระดูกสันหลังยุบตัวลง ทำให้ปวดหลังมาก เคลื่อนไหวตัวลำบาก   
    นพ.สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินโครงการ "รู้ทัน...กันหักซ้ำ" โดยได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการป้องกัน เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งพบว่าร้อยละ 50 ของผู้ที่มีกระดูกหักหนึ่งจุดเนื่องจากภาวะกระดูกพรุน จะมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกหักซ้ำเพิ่มได้อีกในบริเวณอื่นๆ โดยเฉพาะเบริเวณกระดูกสะโพก กระดูกหลัง กระดูกข้อมือ 
    "ดังนั้น การป้องกันโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้ด้วยการออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ งดดื่มเหล้า ไม่ดื่มน้ำอัดลม เนื่องจากในน้ำอัดลมมีกรดฟอสฟอริกสูง ทำให้มวลกระดูกลดต่ำกว่าเกณฑ์ งดดื่มกาแฟ และไม่รับประทานอาหารรสเค็มจัด มีผลทำให้มวลกระดูกต่ำได้ รวมถึงการใช้ยาลูกกลอน และควรเพิ่มอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง เช่น นม ผลิตภัณฑ์นม ปลาตัวเล็กที่สามารถกินได้ทั้งกระดูก เนยแข็ง ผักใบเขียว รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เป็นเรื่องสำคัญ ตลอดจนใส่ใจดูแลสุขภาพ ทำให้ร่างกายห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนได้" คุณหมอสมพงษ์ระบุ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"