“สรรพากร” ดันกฎหมายอีเพย์เมนต์ ต้อนออนไลน์เข้าระบบภาษี


เพิ่มเพื่อน    

 

“สรรพากร” ดันกฎหมายอีเพย์เมนต์ หวังเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บ-โปร่งใส คาดบังคับใช้ทันภายในรัฐบาลชุดปัจจุบัน พร้อมเดินหน้ากฎหมายต้อนร้านออนไลน์เข้าระบบ ยันต้องการสร้างความเป็นธรรมและลดต้นทุนผู้ประกอบการ

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. … เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (อีเพย์เมนต์) อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้ได้ทันภายในรัฐบาลชุดนี้ เพื่อให้การเก็บภาษีมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีถูกต้องมากขึ้น

สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว คือ ผู้เสียภาษีสามารถยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากรสามารถกระทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และกำหนดให้ สถาบันการเงินธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินของรัฐ และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ รายงานการทำธุรกรรมการเงินของลูกค้าให้กรมสรรพากรรับทราบ หากไม่ปฏิบัติตามปรับ 1 แสนบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท

ทั้งนี้ กำหนดให้สถาบันการเงินต้องแจ้งข้อมูลที่เข้าข่ายเป็น ธุรกรรมพิเศษ ประกอบด้วย 1.การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปี และ 2. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 200 ครั้ง และมียอดรวมของกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

“การผลักดันกฎหมายเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษี จากเดิมที่ต้องมีต้นทุน และค่าเสียเวลา ในการยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต่อกรมสรรพากร จากกฎหมายมีผลบังคับใช้ สถาบันการเงินก็จะรายงานข้อมูลให้กรมรับทราบ และเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ที่เสียภาษีถูกต้อง โดยกรมไม่ได้เข้าไปตรวจสอบ หรือจับผิดใคร และไม่กระทบต่อผู้ประกอบการ ไม่ต้องกลัวว่ากรมจะไปไล่บี้ หากเสียภาษีถูกต้องอยู่แล้วก็จะไม่มีผลกระทบ” นายเอกนิติ กล่าว

นายเอกนิติ กล่าวอีกว่า ร่าง พ.ร.บ. อีเพย์เมนต์ เป็นการเก็บภาษีในประเทศ เป็นคนละส่วนกับ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) ที่จัดเก็บจากบริษัทที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กรมสรรพากรให้ความสำคัญ และต้องการเร่งผลักดันให้บังคับใช้ให้ได้ ตามนโยบายรัฐบาล

รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมาย คือ ร้านค้าออนไลน์ที่ยังไม่อยู่ในระบบภาษี ข้าราชการที่ทุจริตมีโอนเงินเข้าบัญชีของตัวเอง และธุรกิจสีเทาผิดกฎหมาย ซึ่งจะเห็นว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวไม่กระทบกับผู้เสียภาษีที่ถูกต้อง แต่การออกกฎหมายนี้จะทำให้ประเทศดีขึ้น เพราะจะมีการเสียภาษีให้ถูกต้องมากขึ้น ป้องกันการทุจริตของข้าราชการ และการค้าขายของผิดกฎหมายได้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"