3 พ.ย.61 - นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า สำนักงานศาลยุติธรรมได้ดำเนินการพัฒนาระบบการส่งเอกสารและการประกาศนัดไต่สวนโดยวิธีการลงโฆษณาทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-Notice System) ขึ้น เพื่อเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์กลางสำหรับศาลใช้ในการประกาศนัดไต่สวนคำร้องขอต่างๆ เช่น คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก คำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร แทนการประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือใช้ลงโฆษณาประกาศคำฟ้องและเอกสารทางคดีอื่นๆ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งด้วยเจ้าพนักงานศาลหรือวิธีอื่นได้ โดยคู่ความ ทนายความ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถขอให้ศาลประกาศนัดไต่สวนคำร้องขอหรือลงโฆษณาเอกสาร ทางคดีต่างๆ ด้วยระบบ e-Notice System โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนทั่วไปสามารถติดตามประกาศของศาลผ่านทางเว็บไซต์ https://enotice.coj.go.th ได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน
“ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการประกาศเอกสารทางคดีต่างๆ ของศาล และทำให้ประชาชนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการประกาศทางหนังสือพิมพ์ อีกทั้งลดขั้นตอนระยะเวลาในกระบวนพิจารณาของศาลได้อย่างมาก ทั้งนี้ เพื่อให้การประกาศนัดไต่สวนคำร้องขอและการส่งคำฟ้องหรือเอกสารทางคดีอื่นๆ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนพิจารณาคดีของศาลได้โดยสะดวก รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย โดยการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ประธานศาลฎีกาจึงได้ออกคำแนะนำและสำนักงานศาลยุติธรรมได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเอกสารและการประกาศนัดไต่สวนโดยวิธีลงโฆษณาทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา”
โฆษกศาลยุติธรรมกล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบ e-Notice System มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์กลางที่ทุกศาลสามารถใช้ประกาศเอกสารทางคดีได้ และประชาชนทั่วไปสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ผ่านเว็บไซต์กลาง (https://enotice.coj.go.th) หรือเว็บไซต์ของศาลต่างๆ ทั่วประเทศ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้งานแต่อย่างใด และยังมีฟังก์ชั่นที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากชื่อคู่ความ ชื่อศาล ชื่อเรื่อง และหมายเลขคดี ที่มีวิธีการทำงานคล้ายกับ Google search เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและสืบค้นข้อมูลได้โดยสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพในการลงโฆษณามากกว่าการประกาศทางหนังสือพิมพ์ที่ศาลใช้อยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและมีการประทับรับรองเวลา (time stamp) ลงในเอกสารที่ได้ประกาศทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าได้มีการลงประกาศไปแล้วเมื่อใด นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของคู่ความ โดยจะทำการลบข้อมูลออกจากเว็บไซต์กลางอัตโนมัติเมื่อมีการลงโฆษณาหรือประกาศผ่านระบบครบ 6 เดือน เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และมีคำเตือนแสดงขึ้นทุกครั้งที่มีผู้คลิกเข้าไปดูประกาศ
“นับได้ว่าการพัฒนาระบบดังกล่าวจะช่วยยกระดับการให้บริการแก่ประชาชน ผู้มาติดต่อราชการศาล และคู่ความในคดีให้ได้รับความสะดวกมากขึ้น อีกทั้งยังสนองตอบนโยบายประธานศาลฎีกา ที่มุ่งเน้นเพิ่มการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการคดี เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ง่ายขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |