นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โหฮัมหมัดแห่งมาลเซียมาเยือนไทย 24-25 ตุลาคมที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์ท่านอีกครั้งหนึ่ง
หนึ่งในคำถามของผมคือ ประเทศไทยจะเป็นประธานอาเซียนในปีหน้า ประเด็นเรื่องเมียนมากับโรฮีนจา ท่านคิดว่าประเทศไทยจะมีบทบาทในฐานะเป็นผู้ประสานงานไกล่เกลี่ยเพื่อหาทางแก้ปัญหาได้หรือไม่อย่างไร
นี่คือส่วนหนึ่งของคำถามคำตอบวันนั้น:
สุทธิชัย: ประเทศไทยจะเป็นประธานอาเซียนในปีหน้า ซึ่งเราจำเป็นต้องขอความเห็นของท่านเกี่ยวกับชาวโรฮีนจาในเมียนมา คุณคิดว่าประเทศไทยจะเข้าไปมีบทบาทหรือไม่ ในการเป็นตัวเชื่อมให้มีการพูดคุยกันระหว่างเมียนมาและอาเซียน โดยเฉพาะกับมาเลเซีย ถึงวิธีการปฏิบัติต่อชาวโรฮีนจาและประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวกับชาวโรฮีนจา เรื่องนี้ควรจะนำมาเป็นปัญหาของอาเซียนไหม หรือเป็นแค่ปัญหาของสองประเทศ
มหาเธร์: ไม่ครับ นี่เป็นประเด็นเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานว่าคนที่อาศัยอยู่ในไม่ว่าจะประเทศไหนก็ควรมีสิทธิ์ ก็ควรได้รับการยอมรับเป็นพลเมือง ตอนที่มาเลเซียได้รับเอกราช เรามีคนต่างชาติที่มาจากต่างถิ่นถึง 40% เรายอมรับคนเหล่านี้หมด หรือแม้แต่ยอมรับให้สอนภาษาของพวกเขาในโรงเรียนได้ นี่ก็เลยเป็นผลให้มาเลเซียเป็นประเทศที่มีสันติภาพ และทุกคนก็มีชีวิตที่ดีขึ้นเหมือนกัน ผมว่าแม้แต่ประเทศไทยคุณก็มีคนชนเผ่าเยอะ บางคนก็มีเชื้อสายกัมพูชาหรือลาว
สุทธิชัย: เมียนมาด้วยครับ
มหาเธร์: แต่คนเหล่านี้ก็เป็นพลเมืองไทยรวมถึงชาวมาเลเซียด้วย ผมเลยคิดว่าการยอมรับชาวต่างชาติเป็นสิ่งที่ดี แน่นอนว่าพวกเขาต้องไม่ครอบงำชาวมาเลเซีย แต่สิ่งที่พลเมืองต่างชาติในมาเลเซียก็มีส่วนสร้างสิ่งดีๆ ให้แก่ประเทศ และทำให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้น
สุทธิชัย: ท่านมีท่าทีแข็งกร้าวมากในการประกาศว่า มาเลเซียจะไม่สนับสนุน อองซาน ซูจี อันเนื่องมาจากปัญหาชาวโรฮีนจา
มหาเธร์: เราผิดหวังมาก เราสนับสนุนเธอในช่วงเวลาที่เธอถูกกักบริเวณโดยรัฐบาลทหาร และเราคิดว่าจากประสบการณ์นั้น เธอควรมีความเห็นใจต่อความทุกข์ยากของชาวโรฮีนจา แต่จนกระทั่งบัดนี้เธอก็ยังปฏิเสธการยอมรับว่านี่คือปัญหา เรารู้สึกผิดหวังมาก
สุทธิชัย: ในฐานะสมาชิกอาเซียนควรทำอย่างไรครับ
มหาเธร์: ในฐานะของการเป็นประเทศสมาชิก เราไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก แต่เรากำหนดจุดไหนล่ะที่จะไม่แทรกแซง ถ้าเราเห็นประชาชนถูกสังหารหมู่อย่างเหตุการณ์ที่เคยเกิดขี้นในกัมพูชา ประชาชนชาวกัมพูชาเป็นทุกข์มาก เพราะพวกเขาไม่สามารถสู้รบตบมือกับรัฐบาลได้ และพวกเขาเป็นทุกข์ที่ถูกสังหารเกือบ 2 ล้านคน ก็ได้แต่มองดูการสังหารนั้น และไม่มีการทำอะไรเพื่อพวกเขาเลย ผมมองว่าเราควรหาแนวทางเพื่อทำอะไรบางอย่างให้คนเหล่านี้
สุทธิชัย: ดังนั้นอาเซียนไม่สามารถนั่งเฉยๆ แต่ควรดูว่าสามารถทำอะไรได้ใช่ไหม ท่านจะเสนอให้เรื่องนี้ควรเป็นหนึ่งในวาระการสุดยอดประชุมอาเซียนในเดือนพฤศจิกายนนี้หรือไม่ครับ
มหาเธร์: เราต้องรู้ให้ชัดว่าประเทศอาเซียนรู้สึกอย่างไร มีแนวโน้มอย่างไร เพื่อที่จะนำไปสู่ฉันทามติในสิ่งที่เราจะทำ
สุทธิชัย: ท่านได้คุยกับรัฐบาลไทยเรื่องนี้ไหมครับ
มหาเธร์: ไม่ครับ
สุทธิชัย: ท่านคิดไหมครับว่าประเทศไทยจะเป็นผู้เอื้ออำนวย เป็นสื่อกลางที่ดีสำหรับเรื่องนี้
มหาเธร์: ไทยเป็นประเทศที่อยู่ติดกับเมียนมาที่สุด และแน่นอนว่ามีผู้ลี้ภัยจำนวนมากจากเมียนมาเข้ามาที่ประเทศไทย ดังนั้นคุณรู้จักพวกเขาดีกว่า บางทีคุณสามารถให้การยอมรับที่พวกเขาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง นี่ไม่ใช่เรื่องไม่ดี เพราะในทุกประเทศรวมถึงประเทศไทย มีคนเข้ามาลงหลักปักฐานและมีสถานะเป็นพลเมือง
ในมาเลเซียหรือสิงคโปร์ก็เช่นกัน มีชาวต่างชาติเข้ามา แต่ชาวโรฮีนจาไม่ใช่คนต่างชาติของเมียนมาด้วยซ้ำ พวกเขาอยู่ที่นั่นมาร่วม 800 ปีแล้ว และข้อเท็จจริงก็คือพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของเมียนมา เพราะอังกฤษสมัยเป็นผู้ปกครองได้ตั้งรัฐบาลชุดเดียวสำหรับทั้งภูมิภาค ซึ่งรวมถึงรัฐยะไข่ด้วย
สุทธิชัย: แต่ในแง่ทางการของเมียนมาก็คือ พวกเขาไม่ได้เรียกว่าโรฮีนจาด้วยซ้ำไป พวกเขาคือชาวเบงกาลีที่ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย เมียนมาต้องการส่งกลับหรือผลักดันออกไป
มหาเธร์: จากการรับรู้ของเรา พวกเขาบางคนเป็นชาวเบงกาลี แต่นั่นเป็นเรื่องนานมากแล้ว ในมาเลเซียก็มีคนจีน คนอินเดีย พวกเขาเข้ามาอาศัยอยู่ได้ไม่ถึงร้อยปี เรายอมรับพวกเขา และประเทศก็สงบสุข.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |