ตัวเลขล่าสุดญี่ปุ่นป่วยหัดเยอรมัน 1.4พันราย ส่วนไทยตั้งแต่ต้นปี-ต.ค.269ราย ยังไม่มีผู้เสียชีวิตน


เพิ่มเพื่อน    

2 พ.ย.61- นพ.สุวรรณชัย  วัฒนายิ่งเจริญชัย  อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรณีที่มีรายงานข่าวการระบาดของโรคหัดเยอรมันที่ประเทศญี่ปุ่น นั้น จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น พบว่าในปีนี้ประเทศญี่ปุ่นมีรายงานผู้ป่วยโรคหัดเยอรมันเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมีรายงานทั้งหมด 1,468 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2561)  ไม่มีผู้เสียชีวิต

ส่วนสถานการณ์ของโรคหัดเยอรมันในประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่ามีรายงานผู้ป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยประมาณ 200 รายต่อปี โดยในปี 2560 ตลอดทั้งปีมีผู้ป่วย 261 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนในปี 2561 ตั้งแต่ 1 มกราคม – 25 ตุลาคม 2561 มีรายงานผู้ป่วย 269 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเช่นกัน    ซึ่งในขณะนี้กรมควบคุมโรค ได้ติดตามสถานการณ์ของโรคหัดเยอรมันในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด และทำการประเมินความเสี่ยงเพื่อกำหนดและดำเนินมาตรการที่เหมาะสม    

นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า โรคหัดเยอรมัน เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ติดต่อจากการไอ จาม หรือใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อ  ส่วนอาการสำคัญคือมีไข้ร่วมกับมีผื่นประมาณ 2-3 วัน  ทั้งนี้ โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อร้ายแรง  แต่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เพราะหากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อแล้ว ทารกในครรภ์อาจเกิดภาวะพิการแต่กำเนิด หูหนวก ตาเป็นต้อกระจก เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีภาวะผิดปกติทางสมอง และอวัยวะภายในไม่สมบูรณ์ได้

สำหรับมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข คือการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรค ซึ่งประเทศไทยเริ่มมีการให้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน ตั้งแต่ปี 2529 แก่เด็กนักเรียนหญิง ชั้น ป.6 (ปัจจุบันกลุ่มนี้อายุประมาณ 44 ปี)  และในปี 2536   มีการให้วัคซีนทั้งนักเรียนชายและหญิง ป.1 (ปัจจุบันกลุ่มนี้อายุประมาณ 32 ปี)  โดยในปัจจุบันพบว่ามีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันสูงมากกว่าร้อยละ 95  นอกจากนี้ กรมควบคุมโรคได้เพิ่มความเข้มข้นในมาตรการเฝ้าระวังที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมาโดยตลอด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน

กรมควบคุมโรค  ขอให้คำแนะนำผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคหัดเยอรมัน ดังนี้ 1.ติดตามข้อมูลสถานการณ์และพื้นที่การระบาดของโรคหัดเยอรมัน ก่อนเดินทางและขณะเดินทางอย่างใกล้ชิด  2.ประชาชนที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน หรือไม่เคยป่วยเป็นโรคหัดเยอรมัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง  3.หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการป้องกันตนเองก่อนที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด และควรหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปยังพื้นที่ระบาดของโรคถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันหรือไม่เคยเป็นหัดเยอรมันมาก่อน  และ 4.ผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด ควรสังเกตอาการและหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 9 เดือน หากมีอาการไข้ออกผื่นภายใน 21 วันควรไปพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทาง

“โรคหัดเยอรมันสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข จะฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน  โดยเข็มแรกเมื่อเด็กอายุ 9 เดือน และเข็มที่สองเมื่ออายุ 2 ปีครึ่ง หากยังไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ผู้ปกครองสามารถพาไปรับวัคซีนได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422” นพ.สุวรรณชัย กล่าว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"