เถ้าแก่น้อย เล็งแตกไลน์ธุรกิจร้านอาหาร ลดความเสี่ยงธุรกิจสาหร่าย


เพิ่มเพื่อน    

 

เถ้าแก่น้อย เล็งแตกไลน์ธุรกิจร้านอาหาร หวังลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาธุรกิจสาหร่ายเพียงอย่างเดียว เหตุการแข่งขันสูง แต่ตลาดโตน้อย เร่งลุยร้านค้าปลีกของตัวเอง ปั้มครบ 100 สาขาภายใน 4 ปี

นายอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างการวางแผนเพื่อเตรียมแตกไลน์ธุรกิจสู่ร้านอาหารญี่ปุ่น เบื้องต้นมองว่าจะเป็นการซื้อลิขสิทธิ์มาจากประเทศญี่ปุ่น โดยรูปแบบมีทั้งอาหารคาวและของหวานเพื่อสุขภาพ  น่าจะเปิดได้ในปลายปี 2561 นี้  ซึ่งจะเป็นการทดลองตลาด หากพบว่ามีผลตอบรับที่ดีจะมีการขยายต่เนื่อง ถือเป็นการลดความเสี่ยงในการพึ่งพาธุรกิจจากสาหร่ายเพียงอย่างเดียว

“การแข่งขันในตลาดสาหร่ายแปรรูปในไทยค่อนข้างสูง แต่เติบโตน้อย ไม่มากเหมือนในอดีต แม้ว่าเราจะเป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่งมากกว่า 70%  ส่วนอันดับที่ 2 กับ 3 รวมกันก็กว่า 20% จากมูลค่าตลาดรวมกว่า 3,000 ล้านบาท เติบโต 8-9% ขณะที่ตลาดรวมสแน็กมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท โตแค่ 5-6 % เท่านั้น เราก็ต้องปรับตัวเพื่อเพื่อรองรับกับการแข่งขันในตลาดเดิม ซึ่งจะต้องพึ่งนวัตกรรมมากขึ้น แต่ละปีเราจะมีสินค้าสาหร่ายนวัตกรรมไม่ต่ำกว่า 1-2 ตัว   และมองหาโอกาสธุรกิจใหม่ๆ” นายอิทธิพัทธ์ กล่าว

สำหรับแผนธุรกิจของสาหร่ายเถ้าแก่น้อย จะรุกตลาดในช่องทางร้านค้าปลีกของบริษัทมากขึ้น ควบคู่ไปกับช่องทางจำหน่ายโมเดิร์นเทรดกับเทรดดิชันนัลเทรด โดยแผนธุรกิจ 4 ปีเริ่มปี2561นี้ ตั้งงบการลงทุนขยายร้านรีเทลไว้รวม 150 - 200 ล้านบาท จะเปิดให้ครบ  100 สาขา ประกอบด้วย 1.ร้านเถ้าแก่น้อยมินิ  พื้นที่ 30 ตารางเมตร ลงทุน 1 ล้านบาทต่อสาขา 2.ร้านเถ้าแก่น้อยแลนด์ พื้นที่ 50 – 150 ตารางเมตร ลงทุน 2-3 ล้านบาทต่อสาขา  เน้นสินค้าในเครือเป็นหลัก 

ขณะที่ 3.เถ้าแก่น้อยแลนด์พลัส พื้นที่ 150 - 300 ตารางเมตร ลงทุน 2 -3 ล้านบาท มีสินค้าในเครือและสินค้านอกเครือ 50% เท่ากัน ทั้งสแน็ก ผลิตภัณฑ์กลุ่มสุขภาพ สปา ครีมบำรุงผิว สิ่งทอและของฝาก ของที่ระลึกอื่นๆ  และสินค้าท้องถิ่นของไทยด้วย มุ่งหวังให้เป็นร้านค้าที่เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติและคนไทยที่ต้องการซื้อของฝาก จะขยายโมเดลนี้ไปตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆอย่างน้อย 80 แห่งทั่วประเทศ โดยสาขาแรกของโมเดลเถ้าแก่น้อยแลนด์ พลัส เปิดแล้วที่ เซ็นเตอร์พ้อยท์ สยามสแควร์ และจะเปิดอีกแห่งปลายปีนี้ที่ จังซีลอนภูเก็ต     

ทั้งนี้ ปัจจุบันบริษัทมีสาขารวมทุกโมเดล 20 สาขา และมีรายได้จากช่องทางร้านรีเทลของตัวเอง 300 ล้านบาท คาดว่าจะเพิ่มเป็น  1,000 ล้านบาท ภายใน 4 ปีจากนี้ เมื่อมีครบ  100 สาขา แบ่งเป็น เถ้าแก่น้อยแลนด์พลัส 40 สาขา,  เถ้าแก่น้อยแลนด์ 30 สาขา และ เถ้าแก่น้อยมินิ 30 สาขา

นายอิทธิพัทธ์  กล่าวว่า เดิมลูกค้าใช้เวลาอยู่ในร้านประมาณ  20 – 30 นาที  มีการซื้อสินค้าไม่กว่า  400 – 500 บาทต่อบิล  แต่เมื่อปรับมาเป็นพลัสแล้ว ทำให้ลูกค้าอยู่ในร้านนานขึ้นและจ่ายเพิ่มเป็น 600 บาทต่อบิล แต่เป้าหมายเราต้องการอยู่ที่ 800 - 1,000 บาทต่อบิล และลูกค้าอยู่ในร้านประมาณ 30 – 60 นาที  โมเดลนี้ต้องการเจาะกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะจีนที่เป็นตลาดหลัก แม้ในช่วงที่ผ่านมาตลาดนักท่องเที่ยวชาวจีนอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง  เพราะมีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้น คิดเป็นมากกว่า 70% ในกลุ่มต่างชาติ แต่ตอนนี้สถานการร์เริ่มดีขึ้น โดยปี 2560 บริษัทมียอดขายรวม 5,200 ล้านบาท และคาดว่ายอดขายรวมปีนี้จะทรงตัว มาจากต่างประเทศ 60% มาจากจีน 30%  และในไทย 40% 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"