กทท.เล็งเปิดระดมทุนทีเอฟเอฟพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 พร้อมสั่งลุยเปิดขายซอง 5 พ.ย.นี้ ก่อนเร่งปิดจ็อบประมูลกลางเดือนธ.ค. เผย บิ๊กทุน 21 บริษัทจาก 8 ประเทศสนใจชิงเค้ก เร่งEHIA-เงินกู้ก่อนลงนามสัญญา
นายมนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 วงเงิน 1.4 แสนล้านบาทหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการประกวดราคา ดังนั้นกทท.จะนำร่างเอกสารขอบเขตการประกวดราคา(ทีโออาร์)ขึ้นเว็บไซต์เป็นเวลา 5 วันตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.-4พ.ย. เพื่อเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาก่อนเปิดขายซองทีโออาร์วันจันทร์ที่ 5 พ.ย.นี้
ทั้งนี้คาดว่าจะให้เวลาเอกชนพิจารณาศึกษาโครงการเป็นระยะเวลา 1 เดือน ก่อนเปิดให้ยื่นข้อเสนอและประมูลโครงการแบบสากล (International bidding) ในช่วงกลางเดือนธ.ค.นี้ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการลงนามสัญญาโครงการ ในช่วงต้นปี 2562 และเริ่มงานก่อสร้างต่อไป สำหรับการเปิดขายซองทีโออาร์นั้นเอกชนที่สนใจสามารถเข้ายื่นซื้อซองได้ที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยมีราคาซองละ 5 แสนบาท
นายมนตรี กล่าวว่าส่วนเรื่องความคืบหน้าการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) นั้นขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมนำเสนอประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นครั้งที่ 3 เพื่อขอความเห็นชอบโดยจะต้องเร่งให้เรื่องนี้จบลงทั้งหมดก่อนลงนามสัญญาโครงการ
นายมนตรีกล่าวต่อว่าสำหรับเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูลโครงการดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่จากหลายทวีปทั่วโลก รวมทั้งหมด 21 บริษัท ใน 8 ประเทศ ดังนั้นจึงมั่นใจว่าการประมูลครั้งนี้จะมีการแข่งขันยื่นข้อเสนออย่างเข้มข้นเพื่อเอาชนะคู่แข่ง
อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าววงเงิน 1.4 แสนล้านบาทนั้นแบ่งเป็นเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมทุนพีพีพีงานบริหารและงานระบบของท่าเรือวงเงิน 8 หมื่นล้านบาท และงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งงานก่อสร้างนั้นเป็นหนี้ที่ของกทท.ต้องหาเงินทุนเข้ามาเพื่อเปิดประมูล ส่งผลให้กทท.ต้องรีบสรุปแนวทางกู้เงิน 4 หมื่นล้านบาทเพื่อให้สามารถลงนามสัญญาโครงการได้เรียบร้อย โดยแนวทางที่มองไว้มีหลายรูปแบบ เริ่มจากการเปิดระดมทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ (ทีเอฟเอฟ)ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ดีในการจัดหาแหล่งทุนโดยแลกกับการจัดสรรรายได้ของกทท.ในแต่ละปีให้กับกองทุนดังกล่าว
นอกจากนี้ยังพิจารณาแนวทางการออกหุ้นกู้ระยะสั้น (บอนด์)ตลอดจนแนวทางการยื่นขอกู้เงินจากสถาบันการเงินทั้งในและนอกประเทศ สำหรับขั้นตอนการใช้เงินก้อนดังกล่าวนั้นจะต้องใช้งบลงทุนในปี 2562 ราว 1.7 หมื่นล้านบาทก่อนทยอยเบิกจ่ายงบต่อเนื่องอีกปีละ 8-9 พันล้านบาทจนโครงการแล้วเสร็จ
รายงานข่าวจากกทท.ระบุว่าบริษัทเอกชนต่างชาติที่สนใจนั้นพบว่าเป็นบริษัทจากประเทศจีนมากที่สุดมี 3-4 ราย อาทิ กลุ่ม เซี่ยงไฮ้ อินเตอร์เนชั่นแนล พอร์ท กรุ๊ป Shanghai International Port Group (SIGP) กลุ่ม ไชน่า เมอร์แชนท์ กรุ๊ป China Merchants Group เป็นต้น ขณะที่กลุ่มทุนอื่นๆที่ยื่นข้อเสนอเข้ามานั้น อาทิ กลุ่มทุนสิงคโปร์ Port of Singapore Authority (PSA) กลุ่มทุนฮ่องกง Hutchison Port Holding กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่10อันดับแรกของโลกอย่าง Dubai Ports World และกลุ่ม Evergreen นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทุนบริษัทในเอเชียจากประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่นอย่างละ 1 บริษัทอีกด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |