ราคาประมูลคลื่นแพง ประชาชนได้ประโยชน์จริงเหรอ??


เพิ่มเพื่อน    

 

สิ้นสุดกันไปแล้วสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ล็อตสุดท้ายที่เหลืออีก 10 MHz (2x5 MHz) ซึ่งตอนนี้ได้ผู้ชนะประมูล นั้นก็คือ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด บริษัทย่อยในกลุ่มบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ซึ่งใช้เงินในการประมูลในครั้งนี้จำนวน 38,064 ล้านบาท

               

ซึ่งการคว้าใบอนุญาตดังกล่าว ทำให้ "ดีแทค" จะเป็นอีกหนึ่งผู้ให้บริการมือถือที่มีบริการคลื่นความถี่ที่ครอบคลุมทั้งย่านคลื่นความถี่ต่ำ และย่านความถี่สูง (High-band spectrum) รวมกัน 110 MHz ทั้งคลื่น 900 MHz, 1800 MHz, 2100 MHz และคลื่น 2300 MHzของทีโอทีที่ดีแทคเป็นพันธมิตร ด้วยจำนวนคลื่นที่มากพอ ก็จะส่งผลดีในการสนองความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่เพิ่มขึ้น และสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างสนุกมากยิ่งขึ้น

               

แต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าในปัจจุบันผู้ให้บริการมือถือแต่ละค่าย จะมีการถือครองจำนวนคลื่นที่สูสีกัน แต่ในส่วนเรื่องคุณภาพการให้บริการจะเป็นอย่างไรนั้น ก็ยังยากที่จะมีตอบได้ เพราะในเวลานี้ ผู้ให้บริการมือถือทุกเจ้าต่างก็ต้องเผชิญกับการแบกต้นทุนค่าใบอนุญาตกันจำนวนมหาศาล หากดูจากข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่จัดประมูลคลื่นมาแล้ว 5 ครั้ง พบว่า สามารถหาเงินจากการประมูลคลื่นความถี่รวมกันกว่า 337,000 ล้านบาท ซึ่งเงินนี้ยังไม่นับรวมจากรายได้จากการให้บริการในช่วงมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการอีกกว่า 11,000 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ต้นทุนที่เกิดขึ้นมา จะกลายเป็นการผลักภาระมายังลูกค้า ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม  ที่เห็นได้ชัดคือมีผลกระทบเรื่องคุณภาพการให้บริการ แผนการลงทุนขยายโครงข่าย เพราะติดปัญหาเรื่องเงินทุนและสภาพคล่องที่ต้องไปลงกับค่าใบอนุญาตที่มีราคาแพง

 

 

หลายท่านยังไม่รู้ว่า ราคาค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ของประเทศไทยนั้น มีราคาแพงติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉพาะในการประมูลคลื่น 900 MHz เมื่อปี พ.ศ. 2558 ที่แข่งกันอย่างรุนแรง จนทำให้ราคาขึ้นไปทำลายสถิติโลกที่ 151,952 ล้านบาท หรือเฉลี่ย เมกะเฮิร์ตละ 3,798 ล้านบาท ซึ่งราคาดังกล่าว ก็กลายมาเป็นบรรทัดฐานในการประมูลคลื่น 900 MHz งวดล่าสุดเมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่ผ่านมาด้วย

 

 

แน่นอนในมุมการหารายได้ ก็ต้องยอมรับว่าเป็นผลงานของ 'กสทช.' เต็มตัว แต่ในแง่ของการส่งเสริมภาพรวมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนนั้น ก็ยังเป็นข้อสงสัยอยู่ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ ??

 

ซึ่งจริงๆแล้ว ค่าใบอนุญาตที่แพง นั้นมีผลการศึกษาที่ชัดเจนว่า ส่งผลต่อแผนการลงทุนและอัตราค่าบริการ ซึ่งเรื่องนี้ มีผลการศึกษาจาก NERA Economic Consulting ระบุไว้ว่า ราคาคลื่น 900 MHz ของไทย ถือเป็นราคาสูงกว่าราคาเฉลี่ยทั่วโลกถึง 6 เท่าตัว ขณะที่คลื่น 1800 MHz ก็มีราคาสูงกว่าราคาเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 เท่า ซึ่งต้นทุนดังกล่าวมีผลกระทบต่อคุณภาพของบริการแน่นอน

 

การตั้งราคาคลื่นแพงเกินไปนั้นไม่เกิดประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจโดยรวมเลยแม้ว่า ทางกสทช. ระบุว่า การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ นั้นก่อให้เกิดเงินลงทุนถึง 700,000 ล้านบาท แต่สิ่งที่ต้องแลกก็คือ ค่าบริการที่สูงและ การเข้าถึงอินเทอรเน็ตได้น้อย ก็เท่ากับเป็นการเสียเปรียบสำหรับการแข่งขันของประเทศ

 

นอกจากนี้ การตั้งราคาเริ่มต้นที่สูงเกินไป ก็จะกลายเป็นการสร้างดีมานด์เทียมที่หลอกตา และจะส่งผลให้เกิดปัญหาในระยะยาว ซึ่งในตอนนี้ก็เริ่มเห็นเค้าลางออกมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะการปฏิเสธการเข้าร่วมประมูลของบรรดาโอเปอเรเตอร์ที่สู้ราคาเริ่มไม่ไหว อย่างในกรณีประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งล่าสุด ก็มีการเลื่อนการประมูลไปมา เพราะไม่มีใครร่วมประมูล เนื่องจากเงื่อนไขและราคาที่สูงเกินไป

 

ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศเราจะต้องมีการทบทวนการตั้งราคาคลื่นใหม่ โดยอิงที่สภาพตลาด และส่งเสริมการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่แท้จริง โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้ 5จี ที่ กสทช. จะต้องผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่ ต้องการจะนำไปประเทศไทย เข้าสู่ ยุคไทยแลนด์ 4.0

 

ลองคิดดู หากตั้งราคาสูงแบบนี้อีก ก็กลายเป็นเรื่องยากที่จะมีผู้เข้าร่วมประมูล ยิ่งผู้ให้บริการรายใหม่ก็คงไม่มีทางเกิดในไทย ส่วนผู้ให้บริการเดิมตอนนี้ทุกรายก็แบกค่าใบอนุญาตกับอ่วมอรทัย และหาก 5จี ไม่เกิด ภายใน 10 ปี แผนที่วาดฝันไว้ ทั้งเรื่อง อีอีซี สมาร์ทซิตี้ ไทยแลนด์ 4.0 ก็คงได้แต่เพียงฝัน

               

ถึงเวลานี้ กสทช. ก็ยากที่จะไปชวนให้ใครให้เข้าประมูล ซึ่งคงไม่ง่ายเหมือนครั้งที่ผ่านมา เพราะตอนนี้ผู้ให้บริการทุกราย ก็มีคลื่นเพียงพอต่อการให้บริการแล้วทั้งนั้น และ 5จี ยังต้องใช้เงินลงทุนโครงข่ายอีกจำนวนมหาศาล แต่ละรายยิ่งต้องคิดถึงภาระที่ยังจ่ายค่าคลื่นของเดิมยังไม่หมดยิ่งทำให้เกิดการลงทุนใหม่ได้ยาก

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"