ชี้"สารเคมีเกษตร"ซ้ำรอย"แร่ใยหิน" 7ปีแบนไม่สำเร็จ 


เพิ่มเพื่อน    

 


         ผศ.ดร.นพ.ณรงค์ภณ ทุมวิภาต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยาย เรื่อง "แร่ใยหิน: ภัยเงียบที่องค์กรผู้บริโภคคุณภาพต้องรู้" ภายในงานประชุมวิชาการองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่า ประเทศไทยมีการนำเข้าแร่ใยหิน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหลัก คือ กระเบื้องมุงหลังคา เบรกและคลัทช์รถยนต์ จากข้อมูลระดับโลกพบว่า มี 125 ล้านคนทั่วโลกสัมผัสแร่ใยหินจากที่ทำงาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากแร่ใยหินราว 1 แสนคนต่อปี โดยโรคที่เกิดจากแร่ใยหิน ได้แก่ ภาวะผิดปกติที่เยื่อหุ้มปอด เช่น มีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด ปอดแฟบเป็นก้อน เยื้อหุ้มปอดหนาตัวเป็นหย่อม เยื้อหุ้มปอดหนาตัวทั่วไป เกิดพังผืดในปอดจากแร่ใยหิน รวมไปถึงโรคอันตราย เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเยื่อเลื่อม (เมโสเธลิโอมา) ประกอบด้วย มะเร็งเยื่อหุ้มปอด มะเร็งเยื่อบุช่องท้อง และมะเร็งเยื่อหุ้มหัวใจ รวมไปถึงมะเร็งกล่องเสีย และมะเร็งรังไข่

         สำหรับประเทศไทย จากโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคเหตุแร่ใยหิน โดย ศ.นพ.สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ ซึ่งได้อาศัยข้อมูล Health Data Center ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปี 2558-2559 พบว่า มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยโรคเหตุแร่ใยหิน 385 ราย แต่จากการที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ดำเนินการยืนยันความถูกต้อง พบว่า มีผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากแร่ใยหินจริง 28 ราย แบ่งเป็นมะเร็งเยื่อเลื่อม 26 ราย ประกอบด้วย มะเร็งเยื่อหุ้มปอด 21 ราย มะเร็งเยื่อบุช่องท้อง 3 ราย มะเร็งเยื่อหุ้มหัวใจ 1 ราย และมะเร็งที่อัณฑะ 1 ราย พังผืดในปอดจากแร่ใยหิน 1 ราย และเยื่อหุ้มปอดหนาตัวเป็นหย่อม 1 ราย ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสแร่ใยหินจากการประกอบอาชีพ

           ผศ.ดร.นพ.ณรงค์ภณ กล่าวว่า ประเทศไทยมีปัญหาการวินิจฉัยโรคจากแร่ใยหินได้น้อยกว่าความเป็นจริง เนื่องจากมีข้อจำกัด คือ รอยโรคปอดจากแร่ใยหินมีความคล้ายกับโรคปอดชนิดอื่น อาจทำให้แพทย์คาดไม่ถึงว่า เกิดจากแร่ใยหิน ประกอบกับมีระยะฟักตัวของโรคนานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป เช่น พังผืดในปอดจากแร่ใยหินใช้เวลา 20-40 ปี มะเร็งปอดมากกว่า 15 ปี มะเร็งเยื่อหุ้มใช้เวลามากกว่า 40 ปี ซึ่งระยะเวลาที่นาน อาจทำให้ผู้ป่วยหลงลืม ไม่สามารถซักประวัติโดยละเอียดได้ ซึ่งผู้อาจมีการเปลี่ยนงานมานาน รวมถึงอาจมีพฤติกรรมเสี่ยงจากปัจจัยอื่น เช่น สูบบุหรี่ ทำให้ไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ชัดเจน เป้นสาเหตุที่ทำให้ผู้ที่สนับสนุนให้ใช้แร่ใยหินต่อ เอาข้อมูลนี้มาบอกผิดๆ ว่า คนป่วยไม่เคยสัมผัสแร่ใยหินมาก่อน และย้ำว่า การไม่มีประวัติสัมผัสไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการสัมผัสมาก่อน

           "ขณะนี้กว่า 60 ประเทศทั่วโลกก็แบนแร่ใยหินแล้ว แม้แต่ประเทศแคนาดาและบราซิลที่มีรายได้จากการส่งออก ก็ประกาศยกเลิก ประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว ก็ประกาศจะยกเลิกในปี 2020 และเวียดนามก็ประกาศในปี 2023 ซึ่งเมื่อต่างประเทศมีการแบนแล้วก็ไม่มีเหตุผลใดที่ไทยจะไม่แบนแร่ใยหิน อย่ารอให้ต้องเจอปัญหาก่อน อย่างประเทศญี่ปุ่นที่แบนไม่สำเร็จ แม้ว่าจะพยายามแบนมานาน แต่กลับสำเร็จด้วยการที่โรงงานแห่งหนึ่งปล่อยแร่ฟุ้งกระจายรอบเมืองในปี 2005 จนทำให้มีผู้ป่วยมะเร็งเยื่อเลื่อมถึง 90 ราย และมีผู้เสียชีวิต ซึ่งไม่ใช่แค่คนที่ทำงาน แต่ยังรวมไปถึงคนในครอบครัวคนงาน และคนที่อาศัยใกล้ๆ ด้วย และมาแบนสำเร็จในปี " ผศ.ดร.นพ.ณรงค์ภณ กล่าว

         

         เมื่อถามว่าขณะนี้ประเทศไทยก็มีความพยายามจะแบนสารเคมี 3 ชนิด เนื่องจากมีผลต่อสุขภาพ แต่ก็ยังแบนไม่สำเร็จเช่นเดียวกัน แม้ว่าต่างประเทศจะมีการแบนไปแล้วผศ.ดร.นพ.ณรงค์ภณ กล่าวว่าถือว่าน่าเป็นห่วง จริงๆ แล้วทั้งแร่ใยหินและสารเคมีมีความน่ากลัวไม่ต่างกัน ย่างแร่ใยหินมีมติ ครม.ให้แบนตั้งแต่ปี 2554 แต่จนทุกวันนี้ก็ยังแบนไม่สำเร็จ อย่างไรก็ตาม จุดที่แตกต่างคือ แร่ใยหินมีสารทดแทนแล้ว ซึ่งมีการพัฒนาจนราคาถูกกว่าแร่ใยหินก็ควรจะมีการแบนได้แล้ว ส่วนสารเคมีอาจยังมีสารทดแทนที่ไม่ดีพอ หรือบางตัวก็ยังไม่มีสารทดแทนหรือไม่ จึงทำให้ยังเป็นปัญหา แต่ยืนยันว่า ไม่ว่าจะเป็นแร่ใยหินหรือสารเคมี ดังนั้นประเทศไทยก็ควรแบนแล้ว เพราะหลังจากแบนแล้วกว่าโรคจะลดลงก็ใช้เวลา 20-30 ปี เช่น กลุ่มสแกนดิเนเวียแบนตั้งแต่ราวปี 1980 กว่าๆ โรคจากแร่ใยหินเพิ่งจะลดลงเมื่อปี 2010 ส่วนอังกฤษโรคน่าจะลดลงช่วงปี 2020 ดังนั้น หากประเทศไทยเริ่มแบนแร่ใยหินตั้งแต่วันนี้ ก็จะเห็นประโยชน์ต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นในรุ่นลูกรุ่นหลาน

         ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า คณะกรรมการพิจารณาเรื่องการแบนแร่ใยหิน และ คณะกรรมการพิจารณาสารเคมี 3 ชนิด คือ คณะกรรมการชุดเดียวกัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่สนับสนุนการใช้สารพิษรวมอยู่ ซึ่งเมื่อดูแล้วจะพบว่าทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องเดียวกันที่กระทบกับสุขภาพประชาชน ดังนั้น มันมีความชัดเจนแล้วว่ามันมีผลต่อสุขภาพ หากยังมีการใช้เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งเพิ่มปริมาณผู้ป่วยขึ้นไปอีก เช่น แร่ใยหินมีความชัดเจนแล้วว่า ทำให้ผู้สัมผัสเป็นโรคมะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มชัด สิ่งที่จะต้องทำเพื่อให้ทั้งสองเรื่องมีความเป็นไปได้ คือการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตัวคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่มีอำนาจตัดสินใจ หรือไม่ก็ต้องพิจารณาให้มีการแบนไปเลยทันที.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"