วัยเก๋าแนะ“ครอบครัวอบอุ่น” เทคนิคป้องกันเด็กเสพติดยา


เพิ่มเพื่อน    


     “โบราณว่าเดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด” โดยเฉพาะคำแนะนำเกี่ยวกับการห่างไกลจากยาเสพติด ที่น้องๆ หนูๆ ควรมีแบบจำที่ดี เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่สามารถถูกชักจูงเข้าไปในสิ่งมัวเมาได้ค่อนข้างง่าย ดังนั้นหากมีความรู้ก็จะทำให้วัยรุ่นวัยทีนสามารถบอกปัดการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดได้ เพราะสังเกตให้ดี ยุคนี้สิ่งมึนเมาดังกล่าวค่อนข้างหาได้ง่ายและอยู่ใกล้ตัวเด็ก ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ สุรา ที่จำหน่ายข้างสถานศึกษา กระทั่งล่าสุดในต่างประเทศซีกตะวันตก มีการประกาศจำหน่ายพืชเสพติดอย่าง “กัญชา” อย่างถูกกฎหมาย เพื่อสร้างความผ่อนคลาย แม้เรื่องนี้จะยังมาไม่ถึงบ้านเรา และประเทศที่มีนโยบายดังกล่าวก็สามารถออกกฎหรือควบคุมพลเมืองของตัวเองได้ แต่ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นก็นับตัวอย่างที่ไม่ดีในการกระตุ้นให้วัยรุ่นเข้าถึงอบายมุขได้ก่อนวัยอันควร และยาเสพติดก็สามารถทำลายสมองเด็กได้ ...มีมุมมองของคนหลัก 5 หลัก 6 มาแนะนำวัยทีนให้อยู่ห่างจากสุรายาเมาได้แบบไม่ตกเป็นเหยื่อ
     เริ่มกันที่ ป้าป้อม วัยหลัก 6 ที่บอกชัดเจนว่า “อันที่จริงแล้วสิ่งที่จะทำให้วัยรุ่นไทยห่างไกลจากยาเสพติด มีเพียงหลักการง่ายๆ คือ การที่ครอบครัวอบอุ่น สมาชิกทุกคนอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เด็กก็จะไม่ติดยาค่ะ และที่สำคัญการที่ภาครัฐหมั่นกวดขันและจับ ปราบปรามยาเสพติด ก็จะช่วยลดปัญหาเด็กติดยาได้ค่ะ ทุกอย่างมันต้องทำร่วมกันหลายฝ่ายค่ะ”
     ถัดมาเป็นคุณ ป้าสุมาลี ที่มาเดินช็อปปิ้งหนังสือ ณ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ บอกคล้ายกันว่า “ครอบครัวอบอุ่น” ถือเป็นตัวช่วยป้องกันยาเสพติดที่สำคัญมาก “ป้าคิดว่า ถ้าหากเด็กๆ มีพื้นฐานครอบครัวที่อบอุ่น ก็จะสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กวัยรุ่นไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ที่สำคัญผู้ปกครองก็ควรเลี้ยงดูลูกหลานโดยไม่ตามใจหรือไม่เลี้ยงด้วยวัตถุ เพราะจะป้องกันไม่ให้เด็กฟุ้งเฟ้อ กระทั่งเรียกร้องหาความสุขที่ไม่รู้จักพอ ซึ่งนั่นอาจทำให้เขาพลาดและตกเป็นเหยื่อของอบายมุขต่างๆ ได้ง่าย ซึ่งผู้ปกครองควรสอนให้เด็กรู้จักการให้ เพราะนั่นถือเป็นความสุขที่แท้จริง และเมื่อเขาเติบโตก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่เห็นแก่ตัว นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรให้การยกย่องผู้ที่ทำความดีโดยการไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นดารา คนดัง หรือแม้แต่เพื่อนบ้านใกล้เคียง ที่ประพฤติในสิ่งที่ดี เพื่อให้ลูกหลานเอาเป็นแบบอย่าง โดยต้องปราศจากการบังคับ”

(ยุภาพร ชมชื้น)

     ขณะที่ คุณป้ายุภาพร ชมชื้น วัย 65 ปี ครูเกษียณราชการ บอกว่า “การป้องกันเด็กวัยรุ่นติดยาเสพติดก็คือ การที่พ่อแม่ต้องอยู่ใกล้ชิดเด็ก และต้องคอยหมั่นให้ความรู้กับเขา ว่าให้อยู่ห่างสิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุด ที่สำคัญเวลามีเพื่อนมาชวนกินเหล้า สูบหรี่ หรือเสพยา ก็ต้องไม่รับและให้ปฏิเสธไปในทันที โดยเฉพาะถ้าหากว่ามีคนแปลกหน้าเข้ามาให้ขนมลูกอมต่างๆ ซึ่งเด็กเองอาจจะไม่รู้ว่าเป็นยาเสพติด ก็ต้องสอนให้เด็กๆ ไม่รับ และรีบมาบอกหรือเล่าให้ผู้ใหญ่ฟังเพื่อหาทางแก้ไข แต่ในส่วนของเด็กวัยรุ่นที่อยู่ในชนบทนั้น อยากให้ทางภาครัฐหรือภาคราชการเข้ามาดูและร่วมกันรณรงค์ ป้องกันยาเสพติดในชุมชนอย่างเอาจริงเอาจัง หรือหากิจกรรมที่เหมาะสมให้เยาวชนทำ เพราะวัยรุ่นในหมู่บ้านต่างจังหวัดส่วนใหญ่จะมีการเสพสิ่งเสพติดมากขึ้น ก็อยากฝากเรื่องนี้ไว้ค่ะ”
     ทว่าเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว ที่หากผู้ใหญ่ต้องการให้ลูกหลานเติบโตมาอย่างไร ก็ควรที่จะปลูกฝังเขาในเรื่องนั้น เช่น การอยู่ห่างไกลยาเสพติด มุมมองจาก ลุงนิด ชายวัยเกษียณที่ปัจจุบันลูก 3 คนกำลังศึกษาด้านแพทย์ บอกว่า “การป้องกันลูกหลานให้ห่างไกลสิ่งเสพติดนั้น ผมว่ามันอยู่ที่การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ถ้าผู้ปกครองไม่อยากให้ลูกตกเป็นทาสยาเสพติด ก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น โดยการที่พ่อแม่ต้องไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข และต้องสอนให้เด็กๆ รู้จักปฏิเสธ หรือพาเด็กๆ ไปทำกิจกรรมนอกบ้าน เช่น วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ก็พาเขาไปวัด หรือพาไปเที่ยวป่าเขาธรรมชาติ หรือเล่นกีฬา โดยที่พ่อแม่เองก็ควรจะเล่นด้วยกัน เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และทำให้ครอบครัวอบอุ่น เพราะอย่าลืมว่าช่วงเวลาของเด็กอายุตั้งแต่ 0-10 ขวบนั้น เป็นช่วงที่ลูกจะได้อยู่กับพ่อแม่ จึงควรใช้เวลาดังกล่าวร่วมกันก็จะดีที่สุด และแน่นอนว่าเด็กๆ ก็จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งมึนเมา”

(กรรณิการ์ เรียงทองหลาง)

     ด้าน คุณป้ากรรณิการ์ เรียงทองหลาง บอกว่า การส่งเสริมการเล่นกีฬา และ “จัดประกวดแข่งขัน” นับเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กวัยหัวเลี้ยวหัวต่อไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด “ถ้าเป็นไปได้ ในสถานศึกษาควรมีการสนับสนุนให้เด็กเล่นกีฬาประเภทที่ชื่นชอบ และมีการจัดแข่งขัน เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีกิจกรรมทำและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ หรือการที่พ่อแม่ชวนลูกอ่านหนังสือ เพื่อพลิกมุมมองความสนใจให้เด็กๆ ทำเรื่องบวก หรือการพาเด็กๆ ไปท่องเที่ยวในรูปแบบของแอดเวนเจอร์ หรือเดินป่า ตั้งแคมป์พักแรม ด้วยการรวมกลุ่มกับเพื่อนบ้านที่มีลูกวัยใกล้เคียงกัน ไปเที่ยวด้วยกัน หรือชวนกันไปทำงานจิตอาสาโดยที่พ่อแม่ไปด้วย และให้ลูกๆ กับเพื่อนทำงานเพื่อส่วนรวม โดยอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ ก็จะทำให้เด็กมีโอกาสช่วยเหลือสังคมและห่างไกลยาเสพติดไปโดยปริยายค่ะ”

(อาภา ศิริบันลือชัย)

     ปิดท้ายกันที่ คุณป้าอาภา ศิริบันลือชัย วัย 73 ปี บอกว่า “อันที่จริงแล้วการป้องกันยาเสพติดในวัยเรียนนั้น การใช้วิธีคลาคสิกที่เป็นพื้นฐานในการเลี้ยงลูก อย่างการทำให้ครอบครัวอบอุ่น ถือเป็นสิ่งที่จะทำให้เด็กไม่ออกนอกลู่นอกทาง ที่สำคัญแนะนำว่าให้เลี้ยงลูกเหมือนเพื่อน เวลาที่เขาเกิดปัญหา หรือมีเพื่อนมาชวนไปทำกิจกรรมที่ไม่ดี เขาก็จะกล้าเล่าให้พ่อแม่ฟัง ก็จะป้องกันอบายมุขมาสู่ลูกหลานได้”
นานามุมมองห่างไกลสิ่งเสพติดในเด็กยุคใหม่จากคนรุ่นตายาย ที่ทั้งตัววัยรุ่นเองหรือพ่อแม่ยุค 4G ที่ไม่มีเวลาเลี้ยงดูลูก หรือมีเวลาใส่ใจบุตรหลานน้อย สามารถหยิบมาเป็นไอเดียปรับใช้ในชีวิตจริงได้ เพราะอย่างน้อยๆ ก็เป็นวิธีคลาคสิกที่มีฐานรากมาจากความอบอุ่นในครอบครัวเป็นทุนเดิม...ว่าไหมค่ะ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"