เยียวยาหลังพัฒนาอีอีซี
ภารกิจจัดการปัญหาท้องถิ่น
โครงการพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ถือว่าเป็นเมกะโปรเจ็กต์ของประเทศชาติในยุคปัจจุบันนี้ เพราะนอกจากจะเป็นการพัฒนาพื้นที่แล้ว ยังช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ สินค้า การลงทุน บุคลากร อาชี การศึกษา และอีกหลาย ๆ ด้านให้ก้าวหน้าไปพร้อมกัน ทั้งนี้จึงไม่ใช่เรื่องของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของประเทศ ที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันสนับสนุนให้เกิดอีอีซีอย่างเป็นรูปธรรม และต่อยอดให้กลายเป็นโครงการต้นแบบของไทยให้ได้
จึงไม่แปลกที่อีอีซี จะได้รับความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน ไม่ใช่แค่ฝ่ายรัฐบาลอย่างเดียว แต่ก็ยังมีเอกชนที่ยื่นมือเข้ามาช่วย สถานบันวิจัย สถาบันการศึกษา รวมถึงองค์กรขนาดย่อมอีกหลายแห่ง ที่มั่นใจ และพร้อมก้าวไปด้วยกัน
ซึ่งอย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า อีอีซี ไม่ใช่แค่พัฒนาด้านใดด้านหนึ่ง แต่พัฒนาทุก ๆ อย่างยึดโยงกัน จึงต้องการผู้ที่เข้ามาดูแลจากหลาย ๆ หน่วยงานเช่นกัน อย่างที่ผ่านมาชัดเจนก็คือ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่รับหน้าที่หลักจะเข้ามาเป็นแกนนำในการพัฒนาเรื่องอีอีซี เพราะเป็นหน่วยงานที่ดูแลคอบคลุมเรื่องการลงทุน รูปแบบอุตสาหกรรม การสนับสนุน และกำกับ ติดตาม
แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ที่เข้ามามีบทบาท อย่างเช่น กระทรวงการคลัง ที่จะต้องทำการพิจารณางบประมาณ หรือโครงการที่ต้องใช้งบ ซึ่งเป็นหน้าที่หลังของกระทรวงอยู่และ กระทรวงพลังงาน ที่จะต้องวางแผนจัดการการใช้พลังงานในพื้นที่ และกำกับไม่ให้เกิดความซับซ้อน และสนับสนุนให้มีการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน หรือหน่วยงานอย่างเช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ.
และก็ยังมีอีกหลายหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เข้าไปร่วมการพัฒนาอีอีซี ทั้งนี้ ก็มีอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญเช่นกัน ในการที่จะเข้าไปดูแลกำกับ และส่งเสริมทำให้การพัฒนาพื้นที่ดำเนินไปอย่างมีศักยภาพที่ดี นั่งก็คือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น(สถ.) ภายใต้กำกับกระทรวงมหาดไทย ที่ก็มีบทบาทจะเข้ามาสนับสนุนอีอีซีอีกหน่วยงานหนึ่ง
โดยพันธกิจหลักของกรมฯ ส่วนใหญ่ก็เป็นการเข้าไปดูแลคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ที่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งผู้ที่จะมาให้ข้อมูลความร่วมมือของ สถ. ได้อย่างละเอียด ก็คงต้องเป็นคนที่ควบคุมดูแลหน่วยงานอย่างเช่น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น(สถ.) เพียงผู้เดียว ถึงจะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเข้มข้นที่สุด
มุมมองการพัฒนาอีอีซี ?
ส่วนตัวเห็นว่าโครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่ดีอยู่แล้ว เพราะภาครัฐเองก็ต้องมีการศึกษาออกมาแล้วว่ามีความเหมาะสม ด้วยศักยภาพของพื้นที่ที่เดิมก็ดีอยู่แล้ว แต่ได้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเข้าไปเพิ่มก็จะเป็นจุดยุทธศาสตร์ของประเทศได้ อย่างเช่นในเรื่องของการขนส่ง ก็มีทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ และยังเป็นจุดที่ใกล้พอที่จะรองรับการกระจายตัวของเศรษฐกิจของเมืองหลักอย่างกรุงเทพมหานครได้ด้วย ซึ่งบริษัทที่จะเข้ามาลงทุนก็ไม่น่ามีปัญหาแครงใจมากนัก
ภารกิจหลักของกรมฯ ?
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีหน้าที่กำกับดูแลคล้ายกันกับการเข้าไปดูแลในพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงคนในท้องถิ่นเป็นอันดับแรก หนึ่งคือต้องตอบคำถามให้ได้ว่าหากมีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวแล้ว คนในท้องถิ่นจะได้อะไรบ้าง และหากในอนาคตพื้นที่ได้รับความนิยม มีการแห่แหนเข้าไปทำธุรกิจกันมากขึ้น มีปริมาณคนเข้าไปในพื้นที่เยอะขึ้น ทั้งต่างชาติ ต่างด้าว แรงงานไทยเองด้วย จะมีการจัดการและบริหารอย่างไร รวมถึงด้านการพัฒนาถนน ทางเดินรถ เพื่อให้สะดวกต่อการคมนาคมจะต้องมีการวางแนวทางไปอย่างไรด้วย
ทั้งนี้ทางกรมจะต้องคิดแนวทางต่าง ๆ ดังกล่าวออกมาเพื่อเตรียมนำเสนอรัฐบาลในการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่ โดยในเรื่องดูแลคนต่างชาติ หรือคนต่างด้าวที่เข้าไปทำงานในพื้นที่นั้น ก็ต้องดูสิทธิ์สนับสนุนในด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้นทั้งเรื่องของการรักษาพยาบาล การให้สิทธิ์ลูกหลายได้เรียนโรงเรียนในพื้นที่ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายรายหัว เพื่อซื้ออุปกรณ์การเรียน อาหาร ต่าง ๆ
“ในอนาคตคนจะเข้าไปในพื้นที่เพิ่มอีกเป็นแสน เป็นล้านคน ระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคจะต้องเตรียมให้พร้อม สนามบินหรือระบบคมนาคมก็ต้องสะดวกสบาย รวมถึงอุตสาหกรรมภาคบริการที่จะสามารถผลิตบุคลากรให้ทันใช้งานในอนาคต”
ขณะเดียวกันถ้าจะให้ท้องถิ่นได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น การศึกษาก็ต้องเข้าไปลงทุน เพื่อให้เกิดการพัฒนาในอนาคต ทั้งคน แรงงาน โดยอาศัยความร่วมมือจาก ”ประชารัฐ” ให้โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาสามารถเข้าไปพัฒนาเด็ก และคนในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่ เพื่อรองรับความเจริญในอนาคต
จุดยุทธศาสตร์อีอีซี ?
พื้นที่อีอีซี เป็นพื้นที่ที่ติดขอบชายแดน ส่งผลให้เป็นจุดที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาเป็นที่สุด เพราะธุรกิจและกิจการที่อยู่ในพื้นที่ก็สามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างสะดวก รวมถึงส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงได้ด้วย แต่สิ่งที่ต้องคิดต้องทำต่อจากนี้คือ การทำการศึกษาตลาด และความต้องการของลูกค้า ว่าเป็นอย่างไรเพื่อให้การผลิตสินค้าและส่งออกเป็นไปได้อย่างเต็มที่
แต่ในอีอีซีเองก็ยังมีผลกระทบเช่นกันถึงจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ของประเทศ เพราะการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม จะต้องมีคนเพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรถูกใช้ไปมากขึ้น ความปลอดภัยก็จะลดลง ขยะเพิ่ม น้ำเน่าเสียเพิ่ม อากาศแย่ลง หรือแม้แต่กระทั่งราคาอาหารและค่าครองชีพที่จะสูงขึ้นตามมา ซึ่งในส่วนนี้เองก็เป็นการบ้านที่รัฐบาลจะต้องคิด และร่วมมือกับส่วนท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือและควบคุมดูแล ต้องมีการนำข้อกฎหมายมากำหนดใช้ให้เข้มข้นขึ้น
“เราเป็นห่วงความรู้สึกของคนนพื้นที่มากที่สุด หากการเข้าไปใช้พื้นที่ของรัฐบาลแต่ไม่สามารถสร้างความสุขและความพึงพอใจให้กับคนในพื้นที่ได้ ก็จะไม่ถือว่าประสบความสำเร็จ ซึ่งรัฐก็จะมีหน้าที่อีกอย่างหนึ่งคือการทำให้คนในท้องถิ่นได้รับประโยชน์สูงสุด หลังจากการคนพวกนั้นอนุญาติให้เข้าไปใช้ศักยภาพของพื้นที่และใช้สิ่งแวดล้อมของพื้นที่เพื่อพัฒนาอีอีซี”
เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม ?
ต้องยอมรับว่าเมื่อมีการเติบโตของชุมชน สิ่งที่จะตามมาก็คือขยะ ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ทางกรมก็มีแผนออกมารองรับเบื้องต้นแล้ว ในขณะที่อีอีซียังไม่สมบูรณ์ 100% ซึ่งต้องเริ่มจากการสร้างจิตสำนึกที่ดี สร้างวินัย พัฒนาคนในพื้นที่ให้รู้จักวิธีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยยึดอาศัยหลักการ 3R หรือ Reduce(รีดิวซ์) คือการลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง Reuse (รียูส) คือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ มาใช้ซ้ำ และ Recycle(รีไซเคิล) เป็นการนำหรือเลือกใช้ทรัพยกรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นการลดทรัพยากรธรรมชาติที่จะต้องนำมาผลิตเป็นการนำของที่มีอยู่แล้วมารีไซเคิล
โดยจะต้องได้รับความร่วมมือจากคนในท้องถิ่น ซึ่งภายในปี 2562 นี้ ทางกรมจะร่วมมือกับท่องถิ่น และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(อบก.) ในการเร่งเครื่องให้มีการพัฒนาเรื่องนี้อย่างเต็มที่ และจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือน เพื่อให้เป็นการคัดแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงอาจจะมีโครงการที่จูงในให้เข้าร่วมอย่างการมอบรางวัล หรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์อย่างเต็มที่
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าในสมัยอดีตยังไม่มีการจัดกการหรือวิธีการกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ มีเพียงการฝังกลบ เผา หรือกองทิ้ง จึงสร้างปัญหาให้กับพื้นที่ คนในชุมชน และสภาพแวดล้อมที่ถูกเบียดเบียนจากขยะ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัจจุบันนี้มีการกำจัดขยะในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย โดยวิธีที่มีประสิทธิภาพ สร้างประโยชน์ และรายได้ให้เพิ่มขึ้นจากขยะ หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ หรือโรงกำจัดขยะเพื่อนำไปผลิตไฟฟ้า
ซึ่งในอนาคตจะเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย เพราะนอกจากจะเป็นการบริหารจัดการขยะที่ปลายทางที่ได้ผลแล้ว ยังก่อให้เกิดการลงทุนในประเทศเพื่อขึ้นอีกด้วย ซึ่งปัญหาขยะนั้น ไม่ใช่จะมีแต่ในพื้นที่อีอีซี แต่ยังครอบคลุมไปพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศไทยด้วย
324 ภูเขาขยะ จากทั้งหมด 76 จังหวัดที่เป็นปัญหาให้กับพื้นที่นั่น ๆ อยู่ตอนนี้ เพราะเป็นขยะที่ถูกสะสมมานาน วิธีการเดิม ๆ คือการเผา ก็จะมีคำถามว่าจะทำอย่างไรให้หมด ซึ่งก็ไม่มีใครออกมาให้คำตอบได้ เพราะหากต้องเผาก็จะต้องเป็นไปตามหลักวิชาการ แต่ทำไมเมื่อจะเผาแล้ว ไม่นำขยะที่พอจะสร้างคุณค่าได้มาพัฒนาตามวิธีการของโรงไฟฟ้าขยะ ภูเขาขยะทั่วประเทศทั้งหมด หากเปลี่ยนเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าจะได้อยู่ที่ 800 เมกะวัตต์ ซึ่งถือว่าเป็นกำลังไฟฟ้าที่สูง เมื่อเทียบกับปัญหาขยะที่จะลดลงไป และภายใน 3 ปี คนในพื้นที่นั่น ๆ จะไม่รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่รบกวน
โดยในการวางนโยบายนั้น จะต้องเอาข้อมูลของภูเขาขยะทั้งหมดไปศึกษา เพื่อกำหนดจุดตั้งโรงงาน และเปิดจุดรับซื้อไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุน และไม่ต้องกลัวที่จะไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะขยะเกิดขึ้นทุกวัน ในส่วนของเอกชนเองหากจะเข้ามาลงทุนแล้ว ก็ต้องวางแผนมาก่อนว่าจะคุ้มค่าหรือไม่ มีการการันตีระยะยาวว่าจะสามารถทำได้ในรูปแบบใด ระยะเวลาเท่าไหร่
ซึ่งเรื่องนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีนโยบาย แต่ไม่ควรกำหนดระยะเวลา ว่าจะต้องเกิดเมื่อไหร่ เพราะเราต้องเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นบริหารจัดการเอง ซึ่งในทางปฏิบัติเองก็ยอมรับว่าจะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะว่าเรื่องนี้ไม่เคยมีใครคิดให้เกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นกฏระเบียบจึงไม่ชัดเจน
“เราไม่เคยมีใครคิดว่าจะบริการจัดการขยะอย่างไรในยุคก่อน ๆ ที่ผ่านมา แต่ในยุคของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผลักดันให้เรื่องนี้ขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ แต่เรื่องที่ไม่เคยทำมาก่อนจึงมีแต่อุปสรรค กว่าจะดำเนินการวางกฎระเบียบ แก้ไขกฎหมายให้ออกมาได้ ก็ใช้เวลานานหลายปี เพราะเราเป็นประเทศที่รัฐบาลกลางเข้มแข็ง กฎหมายหรือการทำงานร่วมกับเอกชนจึงถูกจำกัดมาโดยตลอด”
และเมื่อกฎหมายการจัดการขยะแล้วเสร็จเมื่อปี 2560 ก็สามารถดำเนินการมาได้ไม่นาน ก็ยังมามาติดมุมมองของคนที่ยกร่างแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ(พีดีพี) อีก เพราะว่าโรงกำจัดขยะ มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าออกมาด้วย เลยต้องถูกบัญญัติลงไปในแผนพีดีพี แต่เพราะนโยบายของประเทศไทย จะให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหลักอย่างเช่นก๊าซธรรมชาติ น้ำ แต่รับนโยบายไฟฟ้าจากขยะยังน้อย
ถึงจะมองว่าพลังงานหลักจะมีความปลอดภัยกว่า แต่ก็ต้องชี้ให้เห็นว่าการกำจัดขยะ ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม โลกร้อน โรคระบายที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ และพัฒนาชีวิตการเป็นอยู่ของคน และที่สำคัญที่สุดคือแก้ทางตัน เนื่องจากประเทศไทยไม่มีพื้นที่จะไปขยายเพื่อรองรับขยะแล้ว จึงเกิดปัญหาคนประท้วงตามบ่อขยะอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ทิ้งมานาน แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ทนไม่ไหว คนมีความคาดหวังสูงก็จะไม่อยากยอมรับอีกต่อไป
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |