30 ต.ค.61 - ที่ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาชลประทาน สำนักงานชลประทานที่ 6 จ.ขอนแก่น นายศักดิ์ศิริ อยู่สูข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 เรียกประชุมด่วน ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 7 จ.อุบลราชธานี ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 จ.นครราชสีมา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล เพื่อรองรับกับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากขณะนี้เข้าสู่ช่วงฤดูหนาวแล้ว คาดว่าจะไม่มีฝนตกลงมาในระยะนี้ โดยมีผู้บริหารกรมชลประทานและหน่วยงานที่รับผิดชอบในแผนการบริหารจัดการในในเขตลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล เข้าร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง
นายศักดิ์ศิริ กล่าวว่า ขณะนี้เข้าสู่ช่วงฤดูหนาวแล้วตามการประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ขณะที่การคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนหรือภาวะฝนตกในระยะนี้ต่อเนื่องไปจนถึงเดือน พ.ค.2562 จะมีปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงความจุอ่างในเขตลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลในสัดส่วนที่น้อยมาก ทำให้การประชุมวันนี้เป็นการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ในเขตพื้นที่การควบคุมของสำนักงานชลประทานที่ 6-7 และ 8 ที่เน้นหนักไปในการบริหารจัดการน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภคเป็นหลัก รองลงมาคือการรักษาระบบนิเวศน์ ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ทั้งหมดจะมีการหารือกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปในแนวทางการบริหารจัดการน้ำตลอดทั้งช่วงฤดูแล้งปีนี้ต่อเนื่องไปจนถึงฤดูฝนปีหน้า
"วันนี้ปริมาณน้ำในความจุอ่างของอ่างเก็บน้ำทุกแห่ง มีการรายงานในภาพรวมและมีการนำเสนอแผนการบริหารจัดการน้ำ กรมชลประทานเน้นหนักในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำในเรื่องของน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภคเป็นหลัก ขณะที่พื้นที่ทางการเกษตรนั้นยอมรับว่าการบริหารจัดการน้ำดังกล่าวต้องมีการพูดคุยกัน โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ขอนแก่นที่มีปริมาณน้ำในอ่างอยู่ที่ 835.10 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 34.35 แต่มีน้ำที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงอยู่ที่ 253.43 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 13.70
ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำดังกล่าวต้องเน้นหนักไปในเรื่องของการอุปโภคและบริโภคเป็นหลัก ส่วนภาคการเกษตรนั้นขณะนี้ได้มีการขอความร่วมมือในการงดปลูกข้าวนาปรังโดยเด็ดขาด และปรับเปลี่ยนการเกษตรให้กลับมาเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน"
นายศักดิ์ศิริ กล่าวต่ออีกว่า การบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับกับสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในพื้นทุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลนั้น ทุกฝ่ายต้องคุยกันและสอดรับแนว ทางการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจากข้อมูลสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขณะนี้นั้น เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มีปริมาณน้ำใช้งานได้ที่ 253.43 ล้าน ลบ..ม. เขื่อนลำป่าว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำใช้งานได้อยู่ที่ 1,155.20 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อนละ 5834
เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ มีปริมาณน้ำใช้งานได้อยู่ที่ 73.66 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 58.21 ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลางเฉพาะพื้นที่ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ดและ ชัยภูมิ นั้นมีปริมาณน้ำเก็บกัก ระหว่างร้อยละ 20-60 อยู่ที่ 38 แห่ง จากจำนวนอ่างเก็บน้ำทั้งหมด 69 แห่ง ทำให้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี ต้องบริหารจัดการร่วมกันเพื่อสามารถที่จะรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังจะมาถึงนี้ให้ได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |