กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยบริษัทตั้งใหม่ในพื้นที่ EEC ช่วง 9 เดือนปี 61 ยังคงร้อนแรง มีจำนวน 5,472 ราย เพิ่มขึ้น 7.18% โดยอสังหาริมทรัพย์นำโด่ง ตามด้วยก่อสร้าง ภัตตาคารและร้านอาหาร หลัง SMEs และผู้ประกอบการ Startup เข้าไปลงทุนรองรับการขยายตัวของเมืองและประชากรที่เพิ่มขึ้น เตรียมเข้าไปช่วยพัฒนาผู้ประกอบการพัฒนาธุรกิจเพื่อตองสนองความต้องการ
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า สถิติการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ประกอบด้วย จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และจ.ระยอง ช่วง 9 เดือนของปี 2561 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 5,472 ราย เพิ่มขึ้น 6.96% มีมูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ 1.46 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.18% โดยประเภทธุรกิจที่มีการจดทะเบียนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ 950 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 3,359.35 ล้านบาท ก่อสร้างอาคารทั่วไป 457 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 643.55 ล้านบาท และภัตตาคาร/ร้านอาหาร 214 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 459.31 ล้านบาท
ทั้งนี้ กรมฯ คาดว่ายอดการจดทะเบียนจัดตั้งในพื้นที่ EEC ปี 2561 จะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% เมื่อเทียบกับปี 2560 ซึ่งเป็นผลดีจากนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมลงทุนใน EEC อย่างต่อเนื่อง โดยให้ให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน ส่งผลให้มีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เข้ามาจัดตั้งธุรกิจ เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง จากการที่มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนใน EEC เพิ่มขึ้น และมีประชากรแรงงานเข้ามามากขึ้น ทำให้มีความต้องการด้านที่อยู่อาศัย และยังมีการลงทุนในด้านร้านอาหาร ที่ขยายตัวตามจำนวนประชากร รวมถึงการลงทุนในธุรกิจภาคบริการเพิ่มมากขึ้น เช่น โลจิสติกส์ เป็นต้น
“กรมฯ จะร่วมมือกับสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) กำหนดแนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้มีความเข้มแข็ง โดยจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่ม Startup ให้มีการนำนวัตกรรมมาใช้ในการต่อยอดและยกระดับสู่ธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจและตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมถึงการเข้าไปพัฒนาธุรกิจเป้าหมาย เช่น ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการขยายตัวของการขนส่งในพื้นที่ EEC และการขยายตัวของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ที่จะมีการใช้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจให้บริการด้านที่พักและการดูแลที่อยู่อาศัย เพื่อรองรับการขยายตัวการเข้ามาอยู่ในพื้นที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และธุรกิจร้านอาหาร ที่กำลังมีการขยายตัวตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น”นายวุฒิไกรกล่าว
ปัจจุบันมีธุรกิจคงอยู่ในพื้นที่ EEC ณ วันที่ 30 ก.ย.2561 รวมทั้งหมด 6.58 หมื่นราย เพิ่มขึ้น 5.32% เทียบกับธุรกิจคงอยู่ในพื้นที่ EEC ณ วันที่ 30 ก.ย.2560 มูลค่าทุนจดทะเบียนรวม 1.81 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.48% แบ่งเป็นธุรกิจคงอยู่ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา 5,150 ราย คิดเป็นสัดส่วน 7.82% มูลค่าทุนจดทะเบียน 1.72 แสนล้านบาท จ.ชลบุรี 4.82 หมื่นราย คิดเป็นสัดส่วน 73.30% มูลค่าทุนจดทะเบียน 1.06 ล้านล้านบาท และจ.ระยอง 1.24 หมื่นราย คิดเป็นสัดส่วน 18.88% มูลค่าทุนจดทะเบียน 5.75 แสนล้านบาท
ด้านขนาดธุรกิจในพื้นที่ EEC ปัจจุบัน พบว่า เป็นธุรกิจขนาดเล็ก 6.29 หมื่นราย หรือคิดเป็นสัดส่วน 95.52% รองลงมาขนาดกลาง 1,703 ราย คิดเป็นสัดส่วน 2.58% และขนาดใหญ่ 1,252 ราย คิดเป็นสัดส่วน 1.90% ซึ่งเป็นธุรกิจภาคบริการ 4.02 หมื่นราย สัดส่วน 61.09% ขายส่ง/ปลีก 1.55 หมื่นราย สัดส่วน 23.62% และการผลิต 1 หมื่นราย สัดส่วน 15.29%
สำหรับการลงทุนของต่างชาติในพื้นที่ EEC ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งในไทย (ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49.99%) มีมูลค่า 6.98 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 38.48% ของมูลค่าทุนทั้งหมด โดยมีญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนสูงสุด 3.60 แสนล้านบาท สัดส่วน 51.59% รองลงมา คือ จีน 4.37 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 6.27% สิงคโปร์ 3.61 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 5.18% สหรัฐ 2.68 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 3.85% และเกาหลีใต้ 1.97 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 2.83% ขณะที่จังหวัดที่ต่างชาติลงทุนสูงสุด ได้แก่ ระยอง 3.8 แสนล้านบาท ชลบุรี 2.46 แสนล้านบาท และฉะเชิงเทรา 7.12 หมื่นล้านบาท
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |