สมอ. คุมเข้มผู้ทำ/นำเข้ากระติกน้ำร้อนไฟฟ้า


เพิ่มเพื่อน    

 

สมอ. คุมเข้มผู้ทำ/นำเข้ากระติกน้ำร้อนไฟฟ้าตามมาตรฐานใหม่ พร้อมแก้ไขมาตรฐานน้ำปลาอิงตามมาตรฐานสากล เน้นความปลอดภัย

นายวันชัย พนมชัย รองเลขาธิการ รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สมอ. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จำนวน 109 รายการ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานหรือมาตรฐานบังคับ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่ง สมอ. ได้กำหนดให้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2062-2558 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีผู้ทำและนำเข้าได้รับใบอนุญาตตามมาตรฐานใหม่แล้ว จำนวน 17 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ทำ 8 รายและผู้นำเข้า 9 ราย จากเดิมที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรฐานเก่า จำนวน 50 ราย แบ่งเป็น ผู้ทำ 20 ราย และผู้นำเข้า 30 ราย สมอ. จึงแจ้งเตือนไปยังผู้ประกอบการที่ยังไม่มาขออนุญาตให้รีบดำเนินการตามมาตรฐานใหม่เท่านั้น หากตรวจพบจะดำเนินการตามกฎหมายทันที

มาตรฐานกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าฉบับใหม่นี้ อ้างอิงมาจากมาตรฐาน IEC 60335-2-15 (2012) โดยมีเนื้อหาเพิ่มเติมจากมาตรฐานเดิม เพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปคือ เพิ่มคุณสมบัติด้านความปลอดภัยทางไฟฟ้าและมีการทดสอบระบบดิจิตอลที่ใช้ควบคุมการทำงานต่างๆของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เช่น ระบบเร่งเดือด ระบบปรับระดับอุณหภูมิ ระบบล็อคฝาอัตโนมัติ ฯลฯ รวมถึงซอฟแวร์ในระบบดิจิตอลที่ติดตั้งในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว  จึงฝากถึงผู้บริโภคให้เลือกซื้อสินค้าที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน    ซึ่งติดอยู่บนตัวสินค้า จึงจะมั่นใจได้ว่าสินค้ามีความปลอดภัยในการใช้งาน มีคุณภาพและคุ้มค่า

นอกจากนี้ สมอ. ยังได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานน้ำปลาพื้นเมือง มอก. 3-2526 ให้สอดคล้องตามมาตรฐานของคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (Codex Alimentarius Commission - CAC) ซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานอาหารให้เป็นมาตรฐานสากล โดยมาตรฐานน้ำปลาที่ สมอ. จะกำหนดใหม่นี้ จะควบคุมสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ทั้งโลหะหนักต่างๆ เช่น ตะกั่ว สารหนู ปรอท รวมถึงสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งเกิดในกระบวนการหมักน้ำปลา ถือเป็นสารพิษที่เป็นอันตรายในอาหาร หากบริโภคเข้าไปจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้  รวมทั้งควบคุมในเรื่องของปริมาณสารอาหารในน้ำปลา เช่น ไนโตรเจน โซเดียม ให้เป็นไปตามปริมาณที่กำหนด ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการกำหนดมาตรฐานคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2562  นอกจากมาตรฐานน้ำปลาแล้ว สมอ. ยังดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานเครื่องปรุงรสอีก 2 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานน้ำส้มสายชู และน้ำซอสปรุงรส โดยมาตรฐานน้ำส้มสายชูดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานแล้วเสร็จ โดยปรับแก้ใน 2 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ การควบคุมปริมาณสารปนเปื้อนต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย และภาชนะที่ใช้บรรจุจากเดิมให้ใช้เฉพาะขวดแก้ว แก้ไขเป็นสามารถบรรจุในขวดพลาสติกได้ แต่ต้องเป็นขวดที่เป็นไปตามมาตรฐาน มอก. เท่านั้น ส่วนมาตรฐานน้ำซอสปรุงรสจะดำเนินการหลังจากปรับแก้มาตรฐานน้ำปลาแล้วเสร็จ ซึ่งหลักการของ สมอ. ในการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารนั้น จะกำหนดโดยอ้างอิงมาตรฐานอาหารในระดับสากล และให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีและความต้องการของผู้ประกอบการและผู้บริโภคภายในประเทศ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"