27 ต.ค.61 - นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานที่ปรึกษาแนวร่วมประชาธฺปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) กล่าวในการทำ Facebook Live ในกรณีการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ว่า เล่นกันแรง แรงไปจนถึงปัญหาว่าคุณจะอยู่ในการเมืองระบอบไหน?
นางธิดา ระบุว่า เริ่มต้นจากหมอวรงค์บอกว่าจะยึดแนวทางประชาธิปไตยสวัสดิการและไม่เห็นด้วยกับเสรีประชาธิปไตยที่นายอภิสิทธิ์เสนอ พร้อมกันนี้นายถาวร เสนเนียมก็ได้ออกมาระบุโจมตีแนวทางของนายอภิสิทธิ์และยอมรับว่าว่าประชาธิปัตย์เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม ในขณะที่นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ บอกว่าถ้าเขาไม่ตอบโต้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชจะออกมาเขกหัว
หมอวรงค์ใช้คำว่า “ประชาธิปไตยสวัสดิการ” แต่นายถาวรใช้คำว่า “สังคมประชาธิปไตยสวัสดิการ” จะดูแลสังคมให้เท่าเทียมภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งตนถือว่านี่ไปไกลจากอนุรักษ์นิยมขวาสุดกระโดดมาเป็น “สังคมประชาธิปไตยสวัสดิการ”
นางธิดา กล่าวว่า “สังคมประชาธิปไตย” แปลมาจาก Social Democrat แต่นายถาวรบอกว่าจะต่อต้านแนวคิดมาร์กซิส เพราะฉะนั้นอ.ธิดาคิดว่านี่เป็นเรื่องที่น่าจะมีปัญหาสับสนในปัญหา “ระบอบ”
“เสรีนิยมประชาธิปไตย” ที่นายถาวรหรือที่นายอภิสิทธิ์พูดนั้น “เสรีนิยม” ของคุณนั้นคืออะไร? เป็นแนวคิดเสรีนิยมหรือว่าเป็นทุนนิยมเสรี แต่ที่ผ่านมาเราพบว่าแนวคิดของปขป.ความจริงเป็นอนุรักษ์นิยม แต่ระบบเศรษฐกิจเป็นเสรีนิยมใหม่ ซึ่งก็เป็นอนุรักษ์นิยมแบบหนึ่งที่มีการเมืองเป็นอนุรักษ์นิยมแต่เศรษฐกิจเป็นเสรีนิยมใหม่ แต่ว่านี่ก็คือเสรีนิยมใหม่ของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี เพราะฉะนั้นทุนนิยมเสรีก็จะไปกับการเมืองในระบบประชาธิปไตย แต่เสรีนิยมใหม่ก็จะเป็นการเมืองประชาธิปไตยแบบกลุ่มอนุรักษ์นิยม
นางธิดา กล่าวอีกว่า เสรีนิยมใหม่นั้นก็คือเอากลไกตลาดเป็นหลัก ไม่แทรกแซง ซึ่งตนคิดว่านี่แหละก็คือสิ่งที่ ปชป.ได้แสดงมาตลอด คือ อนุรักษ์นิยมทางการเมือง แต่เศรษฐกิจเป็นเสรีนิยมใหม่ หรือบางคนก็เรียกว่าอนุรักษ์นิยมใหม่ ถ้าพูดให้เต็มก็คือเป็นพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมที่ใช้เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ แต่ท่านเปลี่ยนพรรคปชป.เป็นเสรีนิยมประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นพวกท่านกันเองก็เข้าใจว่าเป็นทุนนิยมแบบเสรีนิยม จะทำให้เกิดรวยกระจุกจนกระจายและเกิดการผูกขาด อันนี้ก็เป็นการโต้ของนายถาวรและหมอวรงค์ แต่ในขณะที่ท่านเสนอสิ่งที่คิดว่าตรงข้ามก็คือเป็นสังคมประชาธิปไตยแบบสวัสดิการเพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่าไม่เหมือนกับนายอภิสิทธิ์
นางธิดา ระบุว่า ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ที่ใช้ “เสรีนิยมประชาธิปไตย” กับกลุ่มของหมอวรงค์ น่าจะมีปัญหาทั้งคู่ เพราะว่าถ้าใช้คำว่า “สังคมประชาธิปไตยแบบมีสวัสดิการ” สังคมประชาธิปไตยก็เป็น Social Democrat เป็นฝ่ายซ้ายนะ ท่านจะกระโดดจากขวามาซ้ายได้อย่างไร? แล้วยังกลับบอกว่าต่อต้านมาร์กซิสอีก
สังคมประชาธิปไตยในต่างประเทศจริง ๆ แล้วเวลาแปลมันสับสน Social Democrat ควรจะแปลว่าเป็นประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมนะ เพราะฉะนั้นรัฐสวัสดิการในยุโรปเหนือมาจากพรรค Social Democrat ความจริงเขาใช้แนวคิดแบบมาร์กซิสนะ แต่ว่าไม่ใช่คอมมิวนิสต์ และยอมรับกติกาก็คือเป็นประบอบประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม เวลาเรามาเขียน “สังคมประชาธิปไตย” ตัดคำว่านิยมออกไป ฟังดูมันคิดว่าเป็นพรรคการเมืองซึ่งไม่ใช่ฝ่ายซ้าย
“ตนคิดว่าน่าจะต้องทำความเข้าใจทั้งคู่ว่า และถ้ามีการดีเบต ตนฝากผู้สื่อข่าวไปถามด้วย “เสรีนิยมประชาธิปไตย” ที่นายอภิสิทธิ์พูดคืออะไร? แล้วก็ “สังคมประชาธิปไตยแบบสวัสดิการ” ที่หมอวรงค์บอกคืออะไร? ในแง่คำนิยามมองว่าสับสนทั้งคู่ แต่ในตัวจริงเวลาพูดถือว่าที่ตรงกันจริงๆ ปชป.เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม เพียงแต่หมอวรงค์อยากจะชูปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ปชป.ยังไม่สามารถที่จะตอบได้ ก็เลยคิดคำว่า “สวัสดิการ”” นางธิดา กล่าว
นางธิดา ตั้งข้อสังเกตว่า “สวัสดิการ” ของหมอวรงค์เป็นสวัสดิการแบบคนเท่าเทียมกันหรือเปล่า เพราะว่าเวลาพูดก็พูดถึงเบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ ซึ่งก็คล้าย ๆ กับสิ่งที่พปชร.หรือรัฐบาลระบอบเผด็จการก็เสนอสวัสดิการได้แบบที่นายนิพิฎฐ์พูด ก็คือระบอบอะไร ๆ ในขณะนี้ก็เสนอคำว่าสวัสดิการได้เหมือนกันทั้งที่เป็นระบอบเผด็จการ
คำว่า “สวัสดิการ” มันต้องมาจากทัศนะการเมืองที่ก้าวหน้า ต้องไม่ใช่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม พูดง่าย ๆ ว่าขณะนี้หมอวรงค์ก็จะเป็นจากอนุรักษ์ที่ต้องการแก้ปัญหาโดยอ้างคำว่า “สวัสดิการ” คนที่อยู่ในระบอบเผด็จการต้องการแก้ปัญหาก็ใช้คำว่า “สวัสดิการแห่งรัฐ” ที่เรียกว่าบัตรคนจนนั่นแหละ แต่ถามว่านายอภิสิทธิ์ใช้คำว่า “เสรีนิยมประชาธิปไตย” ก็ต้องถามว่าไอ้เสรีประชาธิปไตยนั้นจะตอบหมอวรงค์ในแง่ของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนอย่างไร? ถ้าคำว่าเสรีนิยมนั้นหมายถึงเสรีนิยมใหม่ทางทุน
“การแข่งขันเลือกหัวหน้าพรรคปชป. ตนดูแล้วว่า “หมอวรงค์ศิษย์เทพเทือก” และกลุ่มทีมเพื่อนนั้น แข่งจริงนะ!!! มีการโจมตีพรรคปชป.ปัจจุบัน โจมตีนายอภิสิทธิ์ที่เป็นจริง เล่นกันแรงในด้านการบริหาร เล่นกันแรงไปจนถึงการนำเสนอแนวทางนโยบายและอุดมการณ์ แต่สิ่งที่หมอวรงค์ทำ เราก็ตั้งคำถามเหมือนกันว่าคุณเอาจริงเหรอ? “สังคมประชาธิปไตยสวัสดิการ” เนี่ย...อันนี้มันฝ่ายซ้ายนะ...เข้าใจมันหรือเปล่า? หรือเป็นเพียงการนำเสนอเพื่อโจมตีนายอภิสิทธิ์ ในขณะที่นายอภิสิทธิ์โชว์ “เสรีนิยม” ก็ต้องตอบคำถามได้ว่านโยบายทางเศรษฐกิจของคุณนั้นเป็นเสรีนิยมใหม่แล้วก็นำไปสู่ปลาใหญ่กินปลาเล็กอย่างที่ไม่มีการแทรกแซงการตลาดเลยหรือเปล่า?” นางธิดา กล่าว
นางธิดา ยังตั้งข้อสังเกตว่า เมื่ออนุรักษ์นิยมมาแข่งขันกันเอง มีการโจมตีกันเอง พยายามสร้างความแตกต่าง ในขณะที่ยังเป็นอนุรักษ์นิยมทางการเมือง แต่ชูการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยที่กระโดดไปสู่แนวคิดฝ่ายซ้ายนั้น...มันใช่หรือเปล่า แต่ตนคิดว่าไม่น่าจะใช่ เพราะพรรคอนุรักษ์นิยมทางการเมืองไม่สามารถนำไปสู่เศรษฐกิจที่ก้าวหน้าและความเท่าเทียม ถ้าการเมืองคุณยังไม่เท่าเทียมกัน ยังไม่สามารถให้มีความเสมอภาค มันไม่สามารถที่จะให้มีสิทธิเสรีภาพได้ คุณจะไปคิดแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่มีความเท่าเทียมกันหรือแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ...มันเป็นไปไม่ได้เลย
“การเมืองชี้ขาด ถ้าการเมืองคุณเป็นอนุรักษ์นิยม คุณจะไม่สามารถที่จะตอบโจทย์ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้เลย ไม่ว่าคุณจะยืมคำพูดของแนวคิดใดมาอ้าง แต่ถ้าการเมืองของคุณเป็นตัวตัดสินว่าคุณยังเป็นอนุรักษ์นิยมอยู่ สองกลุ่มนี้ก็ไม่ได้แตกต่าง เพียงแต่ว่าจะใช้ยุทธวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างไร ถ้าแนวคิดทางการเมืองเป็นอนุรักษ์นิยม ตนคิดว่ายังไม่ตอบโจทย์ และดูเหมือนกันว่ายังไม่เข้าใจว่าระบอบการเมืองในโลกนี้เขาแบ่งกันเป็นอย่างไร สังคมประชาธิปไตยทำรัฐสวัสดิการได้ แต่อนุรักษ์นิยมไม่เคยทำรัฐสวัสดิการได้ค่ะ” นางธิดา กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |