"ประเทศกูมี".............
ก็แค่เพลง "ขับถ่ายอารมณ์" เพลงหนึ่ง ในยุคหนึ่ง-สมัยหนึ่ง เท่านั้น
ซักพัก เดี๋ยวก็ลืมกันไป
เหมือนอีกหลายๆ เพลงที่สะท้อนและเสียดสีการเมือง มีมาตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาโน่นแล้ว
ถ้ายึดเป็นอารมณ์ เอาเป็นเรื่อง-เป็นราว ก็จะเหมือน "ตีนุ่น"
ยิ่งตี ยิ่งลอยฟุ้ง คลุ้งเป็นมลพิษ!
ผมฟังแล้วก็ชอบนะ ร้องมันดี ดนตรีสะแด่วแห้ว แต่คนร้องจริง กับคนแร็ปในคลิป น่าจะเป็นคนละคนกัน
ขอตินิดเดียว.........
เจตนาสื่อ "ชังชาติ" ของพวกคุณ เนื้อหาและคำบางคำที่ใช้ บ่งบอกทัศนคติ "ต่ำทราม" มาก!
พยัญชนะไทย ๔๔ ตัว สระ ๒๑ ตัว จะผสมเป็นคำสร้อยมีลายศิลป์ภาษาถึงประเทศที่คุณเกลียด "แต่เสือกเกิด" ได้มากมาย
พวกคุณกลับต่อสร้อยให้ "ประเทศไทย" ของผมว่า
ประเทศเหี้....ประเทศคว.....อย่างนั้น
บอกตรงๆ กูชอบแร็ป แต่ชังมึง!
ถึงจะแถ ไม่ได้เอ่ยชื่อประเทศไหน ไม่ได้หมายถึงประเทศไทย
ก็ถามใจแฟร์ๆ พวกคุณดูสิ ว่า....
สุจริตคิด หรือเสแสร้ง ซ่อนบัดซบคิด?
ทั้งภาษาไทย ทั้งสีธงไตรรงค์บนกีตาร์ประกอบแร็ปที่จงใจโคลสอัพให้เห็น หรือคุณจะบอก นั่น...บกพร่องโดยสุจริต?
โลกวันนี้ มีทั้ง เทรด วอร์, ไซเบอร์ วอร์
แต่ "มิวสิก วอร์" การแต่งเพลงสะท้อนสังคมการเมือง เรียกว่า "ด่าผ่านเพลง" อย่างเพลง "ประเทศกูมี"
ที่ Jacoboi, Liberate P และ ET ร้องในนามกลุ่ม Rap Against Dictatorship "กลุ่มต่อต้านเผด็จการ" นั้น
คำว่า "ต่อต้านเผด็จการ" เท่นะ
แต่เปลือกจังเลย!
บ่งถึงโลกทัศน์ในเนื้อสมองพวกคุณ จมอยู่ก้นถังกรองขยะ กทม.เพราะเรื่องง่ายๆ ยังไม่สามารถแยกแยะเพื่อการทำได้เลย ว่า
"ประเทศชาติบ้านเมือง" นั้น เป็น "มรดกสมบัติ" ของคนทุกคนที่เกิดในแผ่นดินนั้น
ดังนั้น ขึ้นชื่อว่า "ประเทศชาติ" แล้ว ในความเป็น "รูปสมบัติ-นามสมบัติ"
"ทรงคุณประเสริฐ" สาธารณ์สถานเดียว
มนุษย์ในแผ่นดินนั้นๆ "ต้องสำนึก" ไว้เหนือหัว-เหนือชีวิต เว้นแต่มันผู้นั้น "ไม่ใช่คน"
"ประเทศ" จึงอยู่เหนือสำนึกทรามใดๆ ที่ใครจะโน้มดึงลงมาว่ากล่าวหยามเหยียดไม่ได้
มันเป็นคนละส่วนกับคน "ผู้บริหารประเทศ" คือรัฐบาล
พวกคุณอยากโจมตีรัฐบาล คสช.
พวกคุณอยากด่า-อยากประจานนายกฯ ประยุทธ์
ก็ "ด่าผ่านเพลง" ไปตรงๆ เลย จะได้ช่วยซี้ดดดด แต่นี่ไม่งั้น คนรุ่นใหม่ แต่ใจริยำ
ขั้นต้น คำนึงก็...ประเทศเหี้.....สองคำก็ ประเทศคว....
มันอะไรกัน!?
ตรงนี้ รับไม่ได้จริงๆ
แบบนี้ มันอุดมการณ์ทางการเมืองเสรีนิยม ประเภท "ถ้าพวกกูไม่ได้...ต้องเผา" ชัดๆ
ผมเข้าใจ รสนิยมเสพการบ้าน-การเมืองของคนไทย อะไรที่เผ็ดร้อน ดุ-ด่าใส่กัน ฟังปุ๊บ ไม่ต้องคิด รู้เรื่องปั๊บ มันต้องจริตนัก
ผมเองก็ชอบ
อย่างเพลง "ประเทศกูมี" จะด่าเรื่องเสือดำ เรื่องนาฬิกา เรื่องเผด็จการ เรื่องประชาธิปไตย เรื่องผลงานรัฐบาล คสช.
นั่นก็คิดประดิษฐ์ด่ากันไปซี ใครจะไปว่าอะไร
เพราะหลายๆ เรื่องในรัฐบาล คสช. มันสมควรต้องถูกด่าอยู่แล้ว
ไม่กล้าเยิ่นกะเขาตรงๆ ใช่มั้ย จึง "ด่าประเทศ" ด้วยนึกว่าเท่
แบบนี้ ทำให้ผมข้องใจ ว่านี่มันไม่น่าใช่แนวคิด-แนวร้องของนักร้อง-นักแร็ปตามธรรมชาติ
เพราะศิลปินจริงๆ จะไม่ "หมิ่นชาติ"
แต่นี่ยิ่งกว่าหมิ่น มัน "ชังชาติ" และบ่งเจตนา "สุมเชื้อ-สุมไฟ" ให้ประชาชนเกลียดชังประเทศชาติบ้านเมือง ให้ประชาชนแตกแยกเป็นฝักฝ่าย
มุ่งสู่เป้าหมาย ให้จลาจลเกิดในบ้าน-ในเมือง โดยย้อนดึงภาพยุค ๑๔ ตุลา-๖ ตุลามาเป็นเชื้อคิดและแนวเดิน
เห็นชัด "จงใจ" เน้นประเด็นนี้มาก ถึงขนาดขึ้นตัวอักษรไว้ท้ายคลิป ว่า
"การแบ่งแยกประชาชนเป็นฝักเป็นฝ่าย คือไม้ตายของอำนาจรัฐที่ฝักใฝ่เผด็จการ"
การนำภาพเหตุการณ์ ๖ ตุลามาเป็นฉากประกอบ ทำให้ผมต้องคิดต่อ
๖ ตุลา ๑๙ ถึงวันนี้ ผ่านมา ๔๒ ปี
แต่นักร้องแร็ป "ต่อต้านเผด็จการ" นี้ ให้มากสุด แต่ละคน อายุไม่เกิน ๒๒-๒๕ ปี
ถามว่า ธรรมชาติคนไทย สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ชาติตัวเองขนาดไหน?
และมีเหตุจูงใจอันใด ที่คนแต่ง-คนร้องเพลงนี้ ต้องนำภาพเหตุการณ์ ๖ ตุลามาประกอบ?
ที่สำคัญ ลองถามนักแร็ปชุดนี้ดูซิว่า "๖ ตุลาคืออะไร?"
๖ ตุลา ๑๙ "ยังไม่เกิด" กลับรู้เผด็จการ ๖ ตุลา
แต่ "พฤษภา ๕๓" เผาบ้าน-เผาเมือง "เกิดแล้ว-เห็นแล้ว" กลับไม่รู้ว่าเผด็จการ!?
มันชักทะแม่งอยู่ ดูๆ ไป ที่มา-ที่ไปของเพลง "ประเทศกูมี" มันน่าจะ "มี" จริงๆ
คือ น่าจะมี "เบื้องหลัง"!
เว็บไซต์ "ผู้จัดการออนไลน์" เมื่อวาน (๒๖ ต.ค.) เสนอข่าวเรื่องเพลงนี้ และในข่าวบอกว่า
"กลุ่ม Rap Against Dictatorship ให้สัมภาษณ์ วอยซ์ออนไลน์ สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี ของ นายพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายนายทักษิณ ชินวัตร
ว่า เพลงนี้มีแร็ปเปอร์ 10 คนร่วมกันเขียนเนื้อร้อง ธีมหลักคือต่อต้านเผด็จการ
พูดถึงว่าประเทศมีอะไรในสายตาของแร็ปเปอร์แต่ละคน และอ้างว่าตั้งใจรวบรวมคนที่คิดไม่เหมือนกันเข้ามาอยู่ในเพลงนี้ ซึ่งมีจุดร่วมกันคือไม่เอาเผด็จการ
โดยกลุ่ม Rap Against Dictatorship เป็นโปรเจกต์ที่อยากให้คนพูดเพลงการเมืองเข้ามาร่วมงาน ซึ่งซิงเกิลต่อไปอาจจะมีศิลปินหมุนเวียนมา
ส่วนที่ถามว่าเพลงนี้สุดโต่งไปหรือไม่ พวกเขากล่าวว่าไม่ได้สุดโต่งขนาดนั้น ประนีประนอมอย่างมากแล้ว โดยตั้งเป้าไม่ได้ต้องการเป็นศัตรูประชาชนด้วยกันเอง
ตอนหนึ่งพวกเขากล่าวว่า.........
วัตถุประสงค์หลักที่ออกเพลงนี้ คือ อยากให้วัยรุ่นและวัยทำงานหันมาสนใจเรื่องบ้านเมือง
ซึ่งการใช้ดนตรีสื่อสารเป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย ทุกคนทำได้ สามารถเอาไปทำตามได้
อย่างไรก็ตาม ในตอนจบของเอ็มวีที่ใช้ประโยคว่า All People Unite ในโลกประชาธิปไตย คนสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว
เราเก็บพื้นที่เอาไว้ตีกันเอง แต่เราสามัคคีกันไม่ให้อำนาจอื่นเข้ามาแทรกในอำนาจประชาชน
ในความแตกต่างหลากหลายเข้ามาตีกันเองได้ แต่ไม่ใช่ให้อำนาจรัฐเผด็จการเข้ามาควบคุมในส่วนนี้
ที่ใช้เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เป็นพื้นหลังในเพลง มันสะท้อนภาพชัดที่สุดแล้ว ในสภาวะที่องค์กรของรัฐเข้ามาสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชน ก็เกิดการแบ่งฝ่ายที่หนักมากกว่ายุคนี้
ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็อาจจะเกิดแบบนั้นขึ้นก็ได้
จึงเลือกจุดที่มันหนักที่สุดขึ้นมา ภาพมันจะได้ชัดว่า มันคือจุดที่คนถูกรัฐทำให้แตกแยกจากกัน พอคนมันฟาดกันเองในระดับนั้น รัฐก็เข้ามาฉวยโอกาส
ตอนนั้น มันก็เป็นเผด็จการฝ่ายขวาแบบคลาสสิกเต็มตัว แบบที่ขวาที่สุดเท่ากับที่บ้านเราเคยมี
ตัวแทนกลุ่ม Rap Against Dictatorship ระบุ"
หาอ่านละเอียดในเว็บผู้จัดการออนไลน์เอานะครับ ผมหยิบยกมาให้ดูบางส่วน
สำหรับผม อ่านแล้ว พอปะติด-ปะต่อ เป็นความเข้าใจได้ว่า
ทำไมคนร่วมยุค "เผาบ้าน-เผาเมือง" ปี ๕๓ เมื่อคิดจะต่อต้านเผด็จการ
เหตุการณ์ใกล้ตัวที่ "รู้จริง-เห็นจริง" ด้วยตาตัวเองตอนปี ๕๒-๕๓ แดงทั้งแผ่นดิน ทักษิณสถาปนา แยกประชาชนเป็นไพร่-เป็นอำมาตย์ แล้วเผาบ้าน-เผาเมือง
นักต่อต้านเผด็จการชุดนี้ กลับมองไม่เห็น........
กลับไประลึกชาติถึงเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙ ที่ตัวเองยังไม่เป็นสเปิร์มด้วยซ้ำ มาสร้างเป็นฉากเผด็จการ-ประชาธิปไตยปลุกระดมวันนี้?
แบบนี้แสดงว่า โปรดิวเซอร์ "ประเทศกูมี" ไม่ใช่อื่นไกล
พวก "หลงป่า" ๖ ตุลา....
ที่กลับมา "หลงเงิน" เห็นหน้า-เห็นตากันอยู่นี่แหละ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |