สงครามการค้ามีผลต่อ จีนและสหรัฐฯไหม?


เพิ่มเพื่อน    

 

                ผมชวน คุณเรืองโรจน์ กระทิง พูนผล เจ้าพ่อ startup ประเทศไทย สนทนาเรื่องการแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่างจีนกับอเมริกา แล้วก็ต้องถามว่าเขาประเมินสงครามการค้าระหว่างสองยักษ์มีผลต่อทั้งคู่อย่างไร

สุทธิชัย:   สงครามการค้าระหว่างอเมริกากับจีนมีผลมั้ย มีผลต่อจีนไหม

เรืองโรจน์:  มีแน่นอน ที่ผมไปนี่พูดกันทุกวัน อย่างผมไปเรียนหลักสูตรของชิงหัวเรื่อง Belt and Road  เป็นหลักสูตร MBA ก็พูดเรื่องนี้กันหมด ผมว่ามันจะทำให้พัฒนาการของจีนช้าลง แต่ก็จะดึงอเมริกาด้วย และดึงทั้งโลก

สุทธิชัย: มันมีผลต่อการพัฒนา AI ของจีนไหม

เรืองโรจน์: ผมว่าอาจมี แต่น้อย พอรัฐบาลจีนเตรียมจะทำปุ๊บ ก็จะใส่เงิน แล้วทำๆๆ แล้วรัฐบาลท้องถิ่นก็จะแข่งขันด้วย ถ้าเมื่อไหร่งบประมาณลงไปแล้ว วิวัฒนาการก็จะตามมา รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนอาจจะโฟกัสเรื่องของสงครามการค้ามากกว่า AI ก็เป็นไปได้ มันทำให้ช้าลง แต่สุดท้ายมันจะเกิดขึ้นอยู่ดี

สุทธิชัย:   อเมริกาล่ะ ได้รับผลกระทบอย่างไรจากสงครามการค้า ในแง่ของการสร้างสรรค์ ในแง่ digital  transformation 

เรืองโรจน์: ผมว่าอันดับแรก อเมริกาเป็นประเทศนำเข้าเทคโนโลยีจากจีนเยอะมาก และที่มีข่าวจากบลูมเบิร์กที่มีการฝังชิปเท่าหัวเมล็ดข้าว เป็น hardware hack พอมันเกิดปุ๊บ สินค้าพวกเทคโนโลยีที่อิมพอร์ตเข้ามาจากจีน ปรากฏว่า 1.คือแพงขึ้น 2.มีความเสี่ยงมากขึ้น แล้วเราไม่สามารถเอาฮาร์ดแวร์เหล่านั้นมาใช้ต่อได้

                อย่าง biotech ต้องใช้ฮาร์ดแวร์เยอะมาก agri (เกษตร) ก็ต้องใช้ฮาร์ดแวร์ ดังนั้นมี 2 อย่าง 1.ก็คือ ทำให้ผู้ประกอบการสหรัฐต้องดิ้นรนกระเสือกกระสนสร้างตัวฮาร์ดแวร์ขึ้นมาเอง สร้างเทคโนโลยีขึ้นมาเอง จากที่แต่ก่อนต้องพึ่งแต่จีน แต่พวกนี้ไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลา แต่ว่าวิวัฒนาการระยะสั้นจะช้าลงแน่นอน talent จีนก็กลับไปด้วย

                ผมว่าสงครามการค้าจะมีผลทำให้วิวัฒนาการระยะสั้นกระตุก แล้วพอเศรษฐกิจตกลง แน่นอนว่าเงินทุนจาก venture capital ก็จะหายไป ซึ่งตอนนี้เริ่มเกิดแล้ว ระยะตั้งต้น พอเงินไม่ลงทุนในระยะตั้งต้น ก็แน่นอนอีกแป๊บนึงก็จะไม่มี startup ใหม่ๆ ขึ้นมา เพราะไม่มีใครหว่านน้ำตั้งแต่สมัยที่มันยังเป็น  seed อยู่ ผมว่าระยะสั้นค่อนข้างน่ากลัว แล้วระยะกลาง

                ถ้าไม่มีใครหว่านน้ำตั้งแต่ต้น ระยะ seed ก็จะเกิดปัญหาแน่ๆ แต่ผมดูตัวนึงน่าสนใจ เป็นหุ่นยนต์ด้าน medical ของอเมริกา ชื่อว่า OhmniLabs กลายเป็นว่าอิมพอร์ตจากจีนแพงแล้ว ก็เลยทำ 3D  printer อยู่ชั้นใต้ดิน print หุ่นยนต์ขึ้นมาเอง ปรากฏว่าถูกกว่าจีน เพราะรวมภาษีอิมพอร์ตแล้วแพงกว่า งั้นทำเองดีกว่า ผู้ประกอบการต้องหาวิธีเอาตัวรอดให้ได้

สุทธิชัย:   พอเห็นยักษ์ใหญ่ อเมริกากับจีนฟาดฟันกัน ประเทศเล็กๆ ที่ไม่ได้อยู่ในศึกสงครามน่าจะได้ประโยชน์ มองยังไง อิสราเอล เกาหลี อิสราเอลนี่ก็ไปไกลเกี่ยวกับเรื่อง artificial intelligence ก็ดี  เรื่อง digital transformation ก็ดี นอกเหนือจากสองประเทศนี้ คุณกระทิงมองประเทศไหนที่กำลังน่าสนใจน่าติดตามเกี่ยวกับเรื่องนี้

เรืองโรจน์: จริงๆ ที่เราอาจมองข้ามไปคือยุโรป ที่จะเป็นตัวกลาง ต้อง step up ทั้งในเรื่องของสงครามการค้าและในแง่ของเศรษฐกิจ และในแง่ของเทคโนโลยีด้วยยุโรปสามารถก้าวขึ้นมาเป็นพี่ใหญ่ได้ ถ้าผนึกกำลังกันได้ อย่างเยอรมัน อย่างฝรั่งเศส อย่างเยอรมันมี startup factory ฝรั่งเศสมี co-working  space และ startup lab ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่างโรมาเนียสร้าง engineer ทางด้าน AI ปีนึงเยอะมาก  จะเห็นว่ายุโรปมีความหลากหลาย มีความแข็งแกร่งมาก เค้าต้องผนึกกำลังกัน ยุโรปนี่น่าสนใจมากๆ  และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเราตอนนี้เนื้อหอมที่สุด ไม่มีใครปฏิเสธ ไม่ว่าเศรษฐกิจจีนจะเป็นอย่างไร คืออินโดนีเซียครับ Amazon ก็ไปอินโดนีเซียแล้ว

สุทธิชัย:   เพราะอะไรอินโดนีเซียถึงเนื้อหอมครับ

เรืองโรจน์: จำนวนประชากร และ startup ecosystem พิสูจน์แล้วว่ามียูนิคอร์น 4 ตัว มี proven  success  มีเงินทุน และมีเรื่องของขนาดประชากร คนก็บอกว่า Indonesia is going to be half of  China

สุทธิชัย: แซงหน้าสิงคโปร์ไปแล้วหรือยัง

เรืองโรจน์: สิงคโปร์นี่ผมว่ายังไงก็ร้อนแรงอยู่แล้วครับ แล้วการศึกษาที่บอกว่าจะยกเลิกการสอบเข้า การวัดผลนักเรียน ถ้าพูดตรงๆ แบบไม่หลอกตัวเอง เราไม่อยู่ในลีกที่จะแข่งกับเขาได้ในตอนนี้

สุทธิชัย: แล้วเวียดนาม

เรืองโรจน์: เวียดนามก็สูสี ตอนนี้ยังหายใจรดต้นคอกันอยู่ ปีหน้า อีก 2 ปีรู้กัน แต่ตอนนี้เงินนักลงทุนบอกตรงๆ ว่าไปเวียดนาม สนใจเวียดนามมากกว่าไทยแล้วครับ

สุทธิชัย: เพราะว่า ecosystem หรือว่าระบบ ระเบียบ กฎ กติกา เค้าคล่องตัวกว่าของเรา

เรืองโรจน์: ผมว่าผู้ประกอบการเวียดนามกระหาย เหมือนจีน ที่โหด กระหาย และผมคิดว่าในแง่ของเวียดนามก็น่ากลัวครับ แต่ตอนนี้ไทยก็ยังมีโมเมนตัมต่อขึ้นมาเรื่อยๆ ผมคิดว่าปีหน้าเราต้องเลิกเรื่องของการเน้นที่อิมเมจ เน้นที่ภาพ ลงมาทำงานอย่างหนัก อย่างจริงจัง แล้วก็ go lean, go fast, work  hard ปีหน้าเราน่าจะมีสิทธิ์ที่จะแซงเวียดนามได้

                ตอนนี้ประเทศไทยต้องคิดว่าจะยังไงก็ได้ให้มี exit ขนาดร้อยล้านเหรียญขึ้นมา ถ้ามีคือจบเลยครับ  คราวนี้เราชนะเวียดนาม เราชนะฟิลิปปินส์ คลื่นอีกลูกหนึ่ง ประมาณ 3-4 ปี เราจะไปอยู่ในลีกที่แข่งกับอินโดนีเซียได้ แต่ต้องพิสูจน์ก่อน ไม่ต้องคิดอะไรมาก ทำ startup ที่มีมูลค่าร้อยล้านเหรียญให้ได้ แล้ว  exit ให้ได้ เข้าตลาดหลักทรัพย์ หรือว่าขายกิจการให้ได้ เป้าหมายมีแค่นี้เลย

สุทธิชัย:   มีหรือเปล่า ตัวที่เราเห็นอยู่ว่าสามารถ exit ได้ สักกี่ตัวตอนนี้

เรืองโรจน์: ตอนนี้มีอยู่หลายตัวแต่ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อ เดี๋ยวรู้กันหมด เดี๋ยวคู่แข่งรู้ มีประมาณ 3-4 ตัว  ตอนนี้เหลือแค่เวลาครับ ถึงบอกว่า 3-4 ตัวนี้ผมจะบอกเขาเสมอว่าตั้งใจทำงานนะ ซึ่งเขาเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว work hard ก็ยังเงียบๆ เดี๋ยวโผล่ขึ้นมา exit ได้ ผมว่าประเทศไทยก็ สมมติว่า 4 หรือ 5 ตัวนี้ทำได้ exit ที่ร้อยล้านเหรียญ ต่อไปประเทศไทยพลิกแน่นอน

สุทธิชัย:   นี่แหละอยู่ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ทั้งกดดัน ทั้งผลักดัน ทั้งให้กำลังใจ ทั้งต้องข่มขู่บังคับด้วย

เรืองโรจน์: ใช่ครับ นั่นผมทำทุกวันอยู่แล้ว เป็นหน้าที่หลักเลยครับ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"