ในแผนแม่บทด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากขยะและของเสียอันตรายของประเทศระยะ20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) หนึ่งในเป้าหมายใหญ่เป็นการลดภัยสิ่งแวดล้อมจากขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติก ที่ผ่านมามีการจัดการไม่ถูกต้องต้องทั้งเทกอง เผาทำลายกลางแจ้ง เกิดการระบายมลพิษสู่ดิน น้ำ และอากาศ ขาดการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของผู้คน
เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาที่อาคารกรมควมคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตรวจเยี่ยมกรม รับฟังการนำเสนอแผนงานสู้ขยะพิษและหารือให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีการเพิ่มเติมร่างกฎหมายฉบับนี้ให้ครบถ้วน ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี และสนช. พิจารณาเห็นชอบต่อไป โดยนายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการตรวจเยี่ยมของ รมว.ทส.ว่า ประเทศไทยมีขยะเกิดขึ้น 27 ล้านตันต่อปี ในจำนวนนี้เป็นขยะพลาสติกหลังการบริโภคกว่า 2 ล้านตัน ซึ่งมีเพียง 5 แสนตันที่ใช้ประโยชน์ แต่เศษพลาสติกที่เหลืออีก 1.5 ล้านตัน ไม่ได้กำจัดอย่างถูกสุขอนามัย ตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ ทส. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเพื่อบูรณาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบ ให้นโยบายต้องหาวิธีการรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด รวมถึงมีการกำจัดอย่างเหมาะสม เพราะเป็นขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นทุกปี
ประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
นายประลอง กล่าวต่อว่า คณะอนุกรรมการบูรณาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ฯ มีการประชุมมาแล้ว 4ครั้ง โดยครั้งล่าสุด สรุปผลในเรื่องยกเลิกการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ 432 รายการ โดยอนุญาตนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศได้ไม่เกิน 2 ปี เพื่อสนับสนุนให้ใช้ขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกในประเทศแทน โดยในปี 2562 จะให้นำเข้าเศษพลาสติกไม่เกิน 7 หมื่นตัน เป็นเศษพลาสติกเพชร4 หมื่น อีก 3 หมื่นเป็นเศษพลาสติกทั่วไป อีกทั้งให้ใช้ร่วมกับเศษพลาสติกในไทยร้อยละ 30 ส่วนในปี 2563 จะลดโควตานำเข้าเศษพลาสติกเหลือ 4 หมื่นตัน จากนั้นในปี 2564 จะยกเลิกนำเข้าเศษพลาสติกและให้ใช้เศษพลาสติกในประเทศไทยทั้งหมด
“ ประเทศไทยสามารถผลิตเม็ดพลาสติกได้ 8 ล้านตันต่อปี แต่เม็ดพลาสติกที่ใช้ในประเทศมีเพียง 3 ล้านตัน อีก 5 ล้านตัน ส่งออกต่างประเทศ แทนที่จะส่งออกต้องสนับสนุนให้ใช้พลาสติกของบ้านเรา ขณะเดียวกันขยะพลาสติกอีก 1.5 ล้านตัน ต้องหาวิธีนำเข้าระบบรีไซเคิลอย่างแท้จริงให้ได้ อีกข้อสรุปจะของคณะอนุกรรมการฯ ให้เพิ่มความเข้มงวดบังคับใช้กฎหมาย และติดตามตรวจสอบเส้นทางการนำเข้า การประกอบกิจการของโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทุกวันนี้ประเทศไทยเผชิญปัญหาการรีไซเคิลและกำจัดไม่ได้มาตรฐาน ถอดแยกชิ้นส่วน แล้วเผาทำลาย เทกอง เกิดมลภาวะ ส่งผลกระทบคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ มีการปนเปื้อนสร้างความเดือดร้อน ต่อแหล่งอุตสาหกรรม แหล่งชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรม กรณีบ้านฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ กว่า 200 หลังคาเรือน ทำรีไซเคิลกำจัดไม่ถูกหลักวิชาการ พบซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 4 พันตัน ที่ผ่านมา อปท.และจังหวัด ขนออกมา 2ครั้ง ก็ได้เพียง 200 ตัน ยังเหลือขยะพิษสะสมอีกมา “ อธิบดี คพ. กล่าว
สอดรับกับรายงานสถานการณ์มลพิษปี 61 ที่ยังพบของเสียอันตรายจากชุมชน ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ถูกทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยทั่วไป ด้วยระบบคัดแยก เก็บ รวบรวม และขนส่งไปกำจัดยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ขาดกฎระเบียบคัดแยกขยะพิษ อีกทั้งศูนย์รวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนเพื่อรอส่งกำจัดตามหลักวิชาการกระจุกอยู่ในภาคกลาง ทั่วประเทศยังขาดแคลน นอกจากนี้ จากรายงานสถานการณ์ของเสียอันตรายจากชุมชนปี 2559 มีปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนทั่วประเทศประมาณ 6 แสนตันต่อปี คนไทยสร้างขยะ 7 กิโลกรัมต่อคนต่อปี โดยเป็นซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3.9แสนตันต่อปี ขยะอันตรายประเภทอื่น เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ ฯลฯ อีก 2.1 แสนตัน
จอทีวีรุ่นเก่า เป็นขยะที่รอการทำลายอย่างถูกวิธี
นายประลอง กล่าวว่า แนวโน้มสถานการณ์ปริมาณซากผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย ทั้งโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นต่างๆ โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูปดิจิตอล มีแนวโนมเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของชุมชนเมือง ตลอดจนพฤติกรรมการบริโภค จะลดขยะพิษเหล่านี้ได้ นอกจากกำจัดต้องให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้งานอย่างคุ้มค่า ขณะที่ผู้ผลิตต้องมีนวัตกรรมใหม่ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ คพ.ได้ดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนในการลดซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อย่าง บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ สามารถนำเครื่องถ่ายเอกสารมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้เกือบ 100% มีเศษขยะที่เหลือน้อยมาก ซึ่งจะขยายผลนำวิธีการนี้ไปปรับใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อื่นๆ ต่อไป
ทั้งนี้ ในส่วนของความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ หรือ กฎหมาย WEEE อธิบดี คพ. กล่าวว่า สถานะของร่างกฎหมายฉบับนี้มีการพิจารณาเห็นชอบ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญไปแล้ว พ้นขั้นตอนปรับแก้ อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐมนตรีว่าการ ทส.ให้ข้อเสนอแนะ ประกอบกับมีข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมและผู้ผลิตเพิ่มเติม ทาง คพ.จะจัดทำเป็นเอกสาเพิ่มเติมแนบไปกับร่าง ก่อนเข้า ครม. และเสนอให้ สนช.พิจารณาอีกครั้ง
ขยะอิเล์ทรอนิกส์ในโรงงานที่ถูกแยกชิ้นส่วน
“ ไทยจำเป็นจะต้องมีกฎหมายบังคับเกี่ยวกับการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นกฎหมายเดียวที่จะกำกับควบคุมได้ ถ้าไม่มีปัญหาซากขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในร่างฉบับนี้ การรับคืน จัดเก็บหรือรวบรวมซาก ทำโดยศูนย์รับคืนซากผลิตภัณฑ์ หรือหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเท่านั้น อีกหมวดเป็นเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ผลิต ผู้นำเข้า จะต้องร่วมในแผนจัดการซาก ตามกฎหมายจะมีศูนย์รับคืนซากผลิตภัณฑ์ฯ 3,000 กว่าแห่งกระจายทั่วไทย ทั้งอบจ. เทศบาล เขตปกครองพิเศษ ร้านรับซื้อของเก่า ศูนย์บริการของผู้ผลิต ประชาชนมีหน้าที่ส่งคืนซากให้ศูนย์แห่งนี้ จะขนส่งเอง หรือใช้บริการซาเล้ง ซึ่งขึ้นทะเบียนกับศูนย์ก็ได้ รัฐจ่ายค่าขนส่งให้ เกิดรายได้ ขณะที่ อปท.เก็บรวบรวม นำซากส่งโรงงานแยกชิ้นส่วน จากนั้นเข้าสู่โรงงานรีไซเคิลและโรงงานกำจัดที่ได้รับใบอนุญาติจากกรมโรงงาน “ นายประลอง ย้ำการจัดการรูปแบบนี้ได้ประโยชน์ร่วมกัน และไม่ก่อมลพิษในพื้นที่ด้วย
หัวใจสำคัญสู้ขยะพิษ อธิบดี คพ.กล่าวทิ้งท้ายว่า ศูนย์รับคืนซากผลิตภัณฑ์ต้องเกิดให้ได้หลังกฎหมายคลอด ประชาชนต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีจัดการซากผลิตภัณฑ์ โดยที่ คพ. ต้องทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ขาดไม่ได้ความร่วมมือของผู้ผลิต เมื่อกฎหมาย WEEE บังคับใช้ สิ่งแวดล้อมจะดีขึ้น อาชีพซาเล้งจะมีมาตรฐานมากขึ้น ส่วนเส้นทางเดินของขยะอิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใต้การมาตรการควบคุม คุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และสุขภาพของประชาชนจะไม่เสี่ยงภัยขยะพิษเหมือนที่ผ่านมา
กองขนะอิเล็กทรอนิกส์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |