25 ต.ค.61- ณ ลานกิจกรรมชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จัดแคมเปญ “เช็คทุกจุด ชนะทุกข้อ” เพื่อรณรงค์ให้คนไทยมีสุขภาพข้อที่เคลื่อนไหวดี กระดูกแข็งแรง เพื่อการใช้ชีวิตได้สนุกในทุกกิจกรรม โดย นพ.เติมพงศ์ พ่อค้า ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางสาขาจุลศาสตร์และศัลยศาสตร์ทางมือ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวในเวทีเสวนา “4 Pain Focus จับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ให้ชนะทุกข้อ” ในประเด็น “นิ้วล็อคของฝากนักแชท” ว่า จากสถานการณ์การใช้ชีวิตในสังคมที่เปลี่ยนไป ทุกคนมีการใช้โทรศัพท์ติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น ในการแชทผ่านแอฟพลิเคชั่นต่างๆ หรือแม้กระทั่งการพิมพ์งานต่างๆ ผ่านแป้นพิมพ์ ทำให้ปัจจุบันพบผู้ป่วยนิ้วล็อคมากขึ้น ซึ่งเกิดจากอาการปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่นิ้วมืออักเสบ จากตัวปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่เรียกว่า A1 ที่อยู่บนโคลนนิ้วมือเป็นตัวรัด โดยอาการนิ้วล็อคจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ 1.มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ 2.มีอาการสะดุดเวลากำ-เหยียดนิ้วมือ แต่ยังสามารถเหยียดนิ้วได้เอง 3.เมื่อกำมือแล้วเกิดอาการล็อคเหยียดไม่ออกต้องมีการง้างออก และ 4.ไม่สามารถกำมือได้สุด และอาจมีข้อมือผิดรูป
นพ.เติมพงศ์ กล่าวว่า วิธีการรักษานั้นจะรักษาตามความรุนแรงของโรค ก็มีตั้งแต่การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการ การแช่น้ำอุ่น และทำบริหารนิ้วมือ ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวดและลดอักเสบตามอาการ ถ้าไม่ดีขึ้นก็ใช้การฉีดยาลดการอักเสบเฉพาะที่เข้าไป บริเวณ A1 ซึ่งยาที่ใช้เป็นกลุ่มสเตียรอยด์ แต่จะใช้ในปริมาณที่น้อยดังนั้นจะไม่มีผลข้างเคียงในระบบไหลเวียนอื่นในร่างกาย แต่ก็ต้องระมัดระวังภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงที่พบได้คือ อาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยและขาดเองได้ และ การใช้วิธีการผ่าตัดโดยการเปิดแผล เข้าไปที่ A1 ร่วมกับการเลาะเนื้อเยื่ออักเสบที่หุ้มเส้นเอ็นออก ซึงจะลดอาการปวดและทำให้เส้นเอ็นขยับได้คล่องขึ้น โดยการผ่าตัดวิธีนี้จะใช้การฉีดยาชา เมื่อผ่าตัดเสร็จสามารถขยับได้ทันที ซึ่งการผ่าตัดมักใช้ในรายที่มีอาการรุนแรงระดับ 3-4 โดยแต่ละเดือนคนไข้ที่มารักษากับตนด้วยวิธีการผ่าตัดมีประมาณ30-40 คน โดยจะพบมากในกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป ในกลุ่มพนักงานออฟฟิศและกลุ่มแม่บ้านอายุเยอะที่มีการซักผ้าหรือทำครัวทำสวน โดยแต่ละวิธีการนั้นจะมีการคุยกับคนไข้เพื่อประเมินอาการและวางแผนการรักษาร่วมกัน
“วิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานในอาการที่รุนแรงระดับ 3-4 นั้น คือการผ่าตัดโดยการเปิดแผล แต่ทุกวันนี้เมื่อเป็นนิ้วล็อคผู้ป่วยมักได้รับคำแนะนำให้ไปรักษาด้วยการสะกิด ซึ่งการสะกิดนั้นเป็นเพียงทางเลือกในการรักษา โดยการสะกิดคือการใช้เข็มฉีดยาจิ้มเข้าไปแล้วสะบัดขึ้นตรงเส้นเอ็น ซึ่งผลข้างเคียงขึ้นจะแก้ลำบาก โดยรุนแรงที่สุดคือปลายเข็มที่สกัดนั้นจะไปโดนเส้นเลือดหรือเส้นประสาททำให้ขาดได้ แล้วคนไข้ก็จะมีอาการชานิ้วตลอดเวลาไม่หาย หรือ หากสะกิดแล้วออกไม่หมด เพราะเราต้องเอาตัวปลอกหุ้มเส้นที่อักเสบออกให้หมด ซึ่งหากไม่หมดโอกาสที่จะกลับมาเป็นใหม่มีได้เร็วกว่าเพราะการสะกิดเรามองไม่เห็นทั้งหมดทำให้การรักษาไม่ 100 %”นพ.เติมพงศ์ กล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |